คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดจำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดจำเลยที่ 3-4 ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงชื่อไว้ระบุว่าค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท และในบันทึก ต่ออายุสัญญาทั้งสองครั้งได้ระบุเท้าความถึงสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ในครั้งแรกจำนวน 30,000 บาทแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 มีเจตนาค้ำประกันการกู้เงิน ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 30,000 บาท เท่านั้น แม้สัญญาค้ำประกัน มีข้อความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษนอกเหนือไปจากผู้กู้ อาทิเช่น ยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ และ ที่สัญญาค้ำประกันมีข้อความต่อไปว่า ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชี จะ ต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิด ร่วม กับลูกหนี้ และผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ว่าเป็นหนี้ที่ ลูกหนี้ ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปหลังจากครบกำหนดอายุสัญญาเบิกเงิน เกิน บัญชีแล้ว คงมีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดใน ดอกเบี้ย ที่เกิดจากต้นเงินในวงเงินที่ค้ำประกันไว้จำนวน 30,000 บาท ด้วยเท่านั้น หาใช่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้โดย ไม่จำกัดจำนวนไม่ ดังนั้น จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิด ต่อ โจทก์ ในวงเงินที่ค้ำประกันจำนวน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ตามบันทึกเพิ่มเติมต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายก่อนทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินอีกเลยและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี ต่อไปอีก คงมีแต่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตาม ยอดเงินที่ค้างชำระในระหว่างนั้นรวม 8 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท โดย ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่าง โจทก์จำเลยที่ 1 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนี้ พฤติการณ์ แสดงว่าโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี กันอีกต่อไปถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดตามบันทึก เพิ่มเติมต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้ายตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อไปอีก นับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดสัญญาคง มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ จนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดย ไม่ทบต้นจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นสุด สัญญาไปจนกว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิดของจำเลยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
ผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ที่รับมอบหมายพนักงานหรือคนงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่างก็เป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 และต่างปฏิบัติหน้าที่ให้จำเลยที่ 1 ด้วยกัน จึงอยู่ในฐานะนายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย