พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, การไล่เบี้ย, อายุความ, ผลผูกพันคำพิพากษา, การกระทำตามหน้าที่
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์กับโจทก์ร่วมกันคืนเป็ดแก่ ป. หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน โจทก์ได้นำเงินไปวางศาลชำระหนี้แก่ ป. ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 ซึ่ง ป. ได้รับเงินแล้วโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองก่อนที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 อายุความที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่อยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. ซึ่งการฟ้องของโจทก์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ศาลฎีกาวินิจฉัยในคดีก่อนว่า จำเลยทั้งสองยึดเป็ดของ ป. ไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อ ป. แม้โจทก์กับจำเลยทั้งสองจะเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ตาม ก็ต้องถือว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาของศาลฎีกาจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยทั้งสองด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองไม่อาจกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโต้แย้งให้ฟังเป็นอื่นได้อีก
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อ ป. เป็นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล โจทก์ได้นำเงินไปวางศาลเพื่อใช้ราคาเป็ดแก่ ป. ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
ศาลฎีกาวินิจฉัยในคดีก่อนว่า จำเลยทั้งสองยึดเป็ดของ ป. ไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อ ป. แม้โจทก์กับจำเลยทั้งสองจะเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ตาม ก็ต้องถือว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาของศาลฎีกาจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยทั้งสองด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองไม่อาจกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโต้แย้งให้ฟังเป็นอื่นได้อีก
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อ ป. เป็นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล โจทก์ได้นำเงินไปวางศาลเพื่อใช้ราคาเป็ดแก่ ป. ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรณีศาลยกฟ้องเพราะจำเลยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และการขยายอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 7 วรรคสอง ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด ในกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ได้ฟ้องสิบเอก ช. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.พระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ดังนั้น อายุความฟ้องร้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีก่อนจึงขยายออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุดตามมาตรา 7 วรรคสอง การที่โจทก์ได้ฟ้องกองทหารพลาธิการ กองพลทหารม้าที่ 2 เป็นจำเลยในคดีก่อนด้วย แต่ศาลยกฟ้องเพราะผู้ถูกฟ้องดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มิใช่เหตุที่จะไม่ขยายอายุความฟ้องร้องจำเลยซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีแต่อย่างใด โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7973-7975/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากทรัพย์อันตราย การขนส่งวัตถุระเบิดประมาทเลินเล่อ และความรับผิดของผู้ครอบครอง
จำเลยที่ 4 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิดของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้นำไปส่งที่คลังสินค้าของจำเลยที่ 1 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ระหว่างการขนส่งจำเลยที่ 4 ประมาทเลินเล่อขับรถด้วยความเร็วเกินสมควรแล่นเข้าทางโค้งที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางโค้งหักข้อศอกโดยไม่ระมัดระวังจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำวัตถุระเบิดซึ่งบรรทุกมาตกกระจายอยู่บนพื้นถนน หลังจากนั้นมีชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดระเบิดขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมหลายร้อยคน และทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย การกระทำของชาวบ้านที่ทำให้เกิดระเบิดขึ้นเช่นนี้เป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางหลวง ก็จะมีชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงรวมทั้งประชาชนที่ใช้ยวดยานสัญจรผ่านที่เกิดเหตุจะหยุดรถลงไปมุงดูเหตุการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บ รวมทั้งอาจมีคนไม่ดีซึ่งปะปนอยู่ในกลุ่มคนเหล่านั้นถือโอกาสหยิบฉวยเอาทรัพย์สินสิ่งของที่ตกหล่นไปได้ ทั้งการขนส่งวัตถุระเบิดครั้งนี้ก็มิได้จัดให้มีป้ายข้อความว่า "วัตถุระเบิด" ติดแสดงไว้ให้เห็นได้ง่ายที่ด้านหน้าและด้านหลังรถบรรทุกวัตถุระเบิดคันเกิดเหตุด้วย จึงต้องถือว่าเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นผลใกล้ชิดสัมพันธ์ต่อเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 ซึ่งกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 4 ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองวัตถุระเบิดในขณะเกิดเหตุวัตถุระเบิดดังกล่าวระเบิดขึ้น วัตถุระเบิดที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ทั้งสามผู้เสียหายเอง
รถบรรทุกที่ใช้บรรทุกระเบิดดังกล่าวไม่ได้มีการจัดให้มีป้ายข้อความว่า "วัตถุระเบิด" ติดแสดงไว้ให้เห็นได้ง่ายที่ด้านหน้าและด้านหลัง และไม่ได้ติดแถบสะท้อนแสงสีแดงสลับขาวในแนวเส้นทะแยงมุมที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 และมาตรา 17 วรรคสอง อันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ทำการฝ่าฝืนนั้นเป็นผู้ผิด หากจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วชาวบ้านที่เห็นข้อความเตือนภัยดังกล่าวก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนหรือแม้จะเข้ามายุ่งเกี่ยวก็อาจใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เกิดเหตุระเบิดขึ้นก็ได้ เมื่อเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ แต่จำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองวัตถุระเบิดมิได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เพื่อป้องกันมิให้ชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวและทำให้เกิดการระเบิดขึ้น การที่ภายหลังจากรถบรรทุกระเบิดพลิกคว่ำและมีชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนเป็นเหตุให้เกิดมีการระเบิดขึ้นทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามเสียหาย จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย และชาวบ้านที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดอันเป็นเหตุให้เกิดระเบิดขึ้นนั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ทั้งสาม จึงถือไม่ได้ว่าการระเบิดเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ทั้งสามเอง ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองวัตถุระเบิดในขณะเกิดเหตุวัตถุระเบิดดังกล่าวระเบิดขึ้น วัตถุระเบิดที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ทั้งสามผู้เสียหายเอง
รถบรรทุกที่ใช้บรรทุกระเบิดดังกล่าวไม่ได้มีการจัดให้มีป้ายข้อความว่า "วัตถุระเบิด" ติดแสดงไว้ให้เห็นได้ง่ายที่ด้านหน้าและด้านหลัง และไม่ได้ติดแถบสะท้อนแสงสีแดงสลับขาวในแนวเส้นทะแยงมุมที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 และมาตรา 17 วรรคสอง อันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ทำการฝ่าฝืนนั้นเป็นผู้ผิด หากจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วชาวบ้านที่เห็นข้อความเตือนภัยดังกล่าวก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนหรือแม้จะเข้ามายุ่งเกี่ยวก็อาจใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เกิดเหตุระเบิดขึ้นก็ได้ เมื่อเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ แต่จำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองวัตถุระเบิดมิได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เพื่อป้องกันมิให้ชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวและทำให้เกิดการระเบิดขึ้น การที่ภายหลังจากรถบรรทุกระเบิดพลิกคว่ำและมีชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนเป็นเหตุให้เกิดมีการระเบิดขึ้นทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามเสียหาย จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย และชาวบ้านที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดอันเป็นเหตุให้เกิดระเบิดขึ้นนั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ทั้งสาม จึงถือไม่ได้ว่าการระเบิดเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ทั้งสามเอง ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหน่วยงานของรัฐเรียกค่าสินไหมจากเจ้าหน้าที่ละเมิด และการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องบังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานกระทำละเมิด โดยโจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ อ้างว่าจำเลยมีหน้าที่จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในการดำเนินคดี รวบรวมพยานหลักฐานเร่งรัด ติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่างๆ และมีหน้าที่ประสานกับพนักงานอัยการในการส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้วนำพยานที่เกี่ยวข้องไปสอบข้อเท็จจริงและรับรองเอกสาร จำเลยกลับปล่อยปละละเลยโดยไม่รับดำเนินการจัดหา เร่งรัดและติดตามเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ส่งไปให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแก่ผู้ประเมิน จนเป็นเหตุให้คดีขาดอายุความทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวพอแปลได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงมิใช่บทบังคับโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง, การประมาท, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากความเสียหายที่ลูกจ้างกระทำ
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การขับรถยนต์ ของโจทก์เป็นการขับรถโดยประมาทนั้น โจทก์เห็นว่ายังไม่ เข้าองค์ประกอบของหลักกฎหมายที่ถือเป็นความผิดฐานกระทำ โดยประมาท คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าเสียงที่โจทก์ได้ยินเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์การที่เครื่องยนต์มีเสียงดังผิดปกติในระหว่างที่โจทก์ทำหน้าที่ พนักงานขับรถ แต่โจทก์มิได้หยุดรถเพื่อตรวจดู กลับขับรถต่อไป จนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับและได้รับความเสียหายมากเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เข้าใจว่าเสียงดังนั้นเป็นเสียงของตู้คอนเทนเนอร์ มิใช่เสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์ และอุทธรณ์ต่อไปว่า คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของจำเลยมิได้โดยสารไปกับรถด้วย จึงมิอาจวินิจฉัยว่าเสียงที่ว่าโจทก์ได้ยินดังกล่าวเป็นเสียงดัง มาจากเครื่องยนต์ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ค่าเสียหายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างชำระแก่จำเลยภายในระยะที่กำหนดเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ ไม่ชำระหนี้แก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ผิดนัด จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้หนี้ที่เกิดขึ้นของโจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแต่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 12 ได้บัญญัติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวในเวลาที่กำหนด และมาตรา 13 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยเท่านั้น พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ดังนั้น จึงนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องหนี้มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้เยาว์ และความรับผิดของบิดามารดาในการควบคุมดูแล ความเสียหายที่เหมาะสม
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่1ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46จำเลยที่1จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ส่วนจำเลยที่2และที่3บิดามารดาของจำเลยที่1ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วยผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่2และที่3ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้ จำเลยที่1มีอายุ14ปีเศษมีความรู้ผิดชอบพอสมควรเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อนย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่1ตลอดเวลาทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่1ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่2และที่3จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่2และที่3ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่1จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้วถือว่าจำเลยที่2และที่3ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่1แล้วจำเลยที่2และที่3จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากสิ่งปลูกสร้างบกพร่อง, การประกันภัย, และสิทธิเรียกร้องทดแทนความเสียหาย
จำเลยเป็นเจ้าของเสาโครงเหล็กและตาข่ายสนามฝึกกอล์ฟซึ่งมีการออกแบบโครงสร้างผิดพลาดและไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาที่จะรับแรงปะทะจากพายุธรรมดาได้เมื่อมีพายุฝนเป็นธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติทำให้โครงเหล็กและตาข่ายซึ่งก่อสร้างไว้บกพร่องล้มลงทับคลังสินค้าซึ่งมีสต๊อกสินค้าของบริษัทล. ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา434วรรคหนึ่ง ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยได้ระบุไว้ว่าการประกันภัยรายนี้ได้ขยายความคุ้มครองการสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดขึ้นจากลมพายุฯลฯเปียกน้ำด้วยเมื่อเกิดพายุฝนขึ้นทำให้เสาโครงเหล็กและตาข่ายของจำเลยล้มทับคลังสินค้าเป็นเหตุให้สต็อกสินค้าของบริษัทล. ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้เปียกน้ำฝนซึ่งจำเลยเจ้าของสิ่งก่อสร้างต้องรับผิดชอบเมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทล.แล้วโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล.ซึ่งมีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์ การสันนิษฐานสินสมรส และค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต
จำเลยที่ 3 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 2แล้ว แต่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เบิกความรับว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมาระหว่างสมรส ซึ่งแม้มีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของในทะเบียนแต่ไม่ได้นำสืบว่าเป็นสินส่วนตัวหรือเป็นสินสมรสต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสเมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อหาคนขับรถและดูแลกิจการโดยทั่วไป บางครั้งได้ให้จำเลยที่ 3 ช่วยดูแลบ้าง รายได้จากการรับจ้างก็แบ่งให้จำเลยที่ 3 เพื่อใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรหลังเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 3ไปเจรจาเรื่องค่าเสียหายกับฝ่ายโจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ยังคงทำกิจการร่วมกันจำเลยที่ 3 จึงเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกในทางการที่จ้างโดยประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ส. ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ทั้งสองจนถึงแก่ความตายด้วย ค่าใช้จ่ายในงานศพ เช่น ค่าดอกไม้ ค่าบุหรี่ถวายพระถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคหนึ่งส่วนเงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายมากน้อยเพียงใดก็นำมาบรรเทาความรับผิดของจำเลยไม่ได้ และเนื่องจากบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ผู้ตายตายลงทำให้บิดามารดาต้องขาดไร้อุปการะ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้ อุปการะเลี้ยงดูอยู่หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากถนนขาด จำเลยต้องติดตั้งป้ายเตือนและแสงสว่างเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง
อุทกภัยตัดถนนในเขตเทศบาลจำเลยขาดก่อนที่ผู้ตายจะขับ รถจักรยานยนต์มาตกลงไปในช่วงที่ถนนขาดถึงแก่ความตายเป็นเวลา หลายเดือนแล้ว จำเลยมีโอกาสติดป้ายแสดงทางเบี่ยง จัดหา สิ่งกีดขวางใหญ่ ๆ มองได้ชัดในเวลากลางคืนมากีดขวางถนนไว้และ ต้องจัดการติดตั้งสัญญาณไฟเพื่อแสดงให้เห็นว่าถนนขาดเป็นการเตือนว่าจะเป็นอันตรายผู้สัญจรผ่านไปมาจะต้องระมัดระวัง แต่จำเลยไม่ทำ เป็นการละเว้นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ และกรณีไม่ได้เกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ค่าปลงศพผู้ตายเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องจ่าย โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายมีหน้าที่จัดการศพผู้ตายไม่ว่าจะทำเองหรือมีผู้อื่นทำแทน หรือโจทก์จะได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพด้วยตนเองหรือไม่ จำเลยก็ต้องรับผิดจ่ายค่าปลงศพแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6200/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และขอบเขตการผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญา
ศาลทหารกลางมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกโดยประมาทชนกับรถยนต์บรรทุกของผู้ตายที่แล่นสวนทางมาเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา54 และ ป.วิ.อ. มาตรา 46 แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวคงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2เท่านั้น จะนำมาใช้ให้เป็นการผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วยหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1มิได้เป็นคู่ความหรือผู้เสียหายในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังอาจยกข้อต่อสู้และนำสืบในคดีนี้ได้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นฝ่ายทำละเมิด หากแต่ผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเลินเล่อเอง หรือมีส่วนร่วมประมาทเลินเล่อกับจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ขับรถไปในราชการของจำเลยที่ 1 ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 76
จำเลยที่ 2 ขับรถไปในราชการของจำเลยที่ 1 ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 76