พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7750/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน แม้ผู้ร่วมกระทำบางคนใช้อาวุธ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ มุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคนถ้าผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดใช้ปืนยิงจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดเมื่อจำเลยที่ ๑ ใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์
การปล้นทรัพย์จะขาดตอนแล้วหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดีตามข้อเท็จจริงที่ได้ความซึ่งมิได้จำกัดด้วยระยะทาง แม้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ออกมาเกือบถึงถนนสายป่าโมก - สุพรรณบุรีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันที่เกิดเหตุซึ่งทางฝ่ายผู้เสียหายกับพวกยังอาจติดตามขัดขวางการปล้นทรัพย์นั้นได้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพาเอาทรัพย์ไป การปล้นทรัพย์ของจำเลยทั้งสองกับพวกจึงยังไม่ขาดตอน
การปล้นทรัพย์จะขาดตอนแล้วหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดีตามข้อเท็จจริงที่ได้ความซึ่งมิได้จำกัดด้วยระยะทาง แม้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ออกมาเกือบถึงถนนสายป่าโมก - สุพรรณบุรีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันที่เกิดเหตุซึ่งทางฝ่ายผู้เสียหายกับพวกยังอาจติดตามขัดขวางการปล้นทรัพย์นั้นได้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพาเอาทรัพย์ไป การปล้นทรัพย์ของจำเลยทั้งสองกับพวกจึงยังไม่ขาดตอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในสัญญา: สามีมีส่วนรู้เห็นยินยอมในสัญญาจ้างก่อสร้าง ย่อมมีหน้าที่รับผิดร่วมกับภรรยา
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างบ้านลงบนที่ดินของจำเลยทั้งสองเพื่อพักร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ทั้งข้อเท็จจริงตามที่ฟังได้ความยังปรากฏว่าระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำเลยทั้งสองยังร่วมกันเข้าไปตรวจดูความเรียบร้อยของงาน มีการสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องและแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบ แม้จำเลยที่ 2 จะลงลายมือในสัญญาฐานะผู้ว่าจ้างก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันตนตามสัญญากับโจทก์ หนี้ค่าก่อสร้างบ้านจึงผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนและความรับผิดร่วมของนิติบุคคลในสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแพ่งว่าด้วยสัญญาซื้อขายแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์เมื่อมีข้อโต้แย้งในเรื่องสัญญาซื้อขาย ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวกับบุคคลใดผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับมอบหมายได้โดยไม่จำต้องระบุว่าให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอีก
แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชี สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249, 1077 (2)
แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชี สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249, 1077 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและความรับผิดร่วมของนิติบุคคลในสัญญาซื้อขาย การชำระหนี้หลังเลิกห้าง
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแพ่งว่าด้วยสัญญาซื้อขายแทนโจทก์ ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวกับบุคคลใด ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับมอบหมายได้โดยไม่จำต้องระบุชื่อจำเลย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันประกอบธุรกิจบ้านจัดสรรจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์มาใช้ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และจำเลยที่ 4 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่ 3 สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 มาตรา 1077 (2) ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันประกอบธุรกิจบ้านจัดสรรจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์มาใช้ในการประกอบธุรกิจดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และจำเลยที่ 4 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 3 ต่อไป แต่เมื่อยังไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่ 3 สภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 3 ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดในฐานะหุ้นส่วนไม่ใช่ในฐานะห้างหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 มาตรา 1077 (2) ดังนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ความรับผิดร่วม และการบังคับโทษปรับ รวมถึงการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่
การที่จำเลยคดีนี้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนที่ให้การรับสารภาพ แม้ความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันไปแล้วก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาได้ระงับลงไม่ ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกันกับค่าปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หากจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งเพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีนี้รวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ โดยมิได้ระบุว่าโทษปรับคดีนี้เป็นโทษปรับจำนวนเดียวกับคดีก่อน และมิได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับให้ชัดเจนจึงยังไม่ถูกต้อง
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, สัญญาจ้างเหมา, การคืนทรัพย์สิน, ละเมิด, ความรับผิดร่วม
โจทก์เป็นเจ้าของย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และกรรมสิทธิ์ของโจทก์จะสิ้นสุดลงได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดยโจทก์ทำนิติกรรมใด ๆ ให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไป โจทก์มิได้ทำนิติกรรมให้มีผลเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ 4 หรือจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 4 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารกับจำเลยที่ 1 โดยยอมให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำเลยที่ 4 ได้ทำขึ้นและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำไปไว้ ณ สถานที่ทำงานจ้างตกเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 4 แล้ว ก็คงมีผลเฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 จะยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงงานจากจำเลยที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้มอบหมายหาได้ไม่ทั้งสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ย่อมมีผลผูกพันก่อให้เกิดบุคคลสิทธิหรือสิทธิเหนือบุคคลเฉพาะจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญา ดังนั้น หากจำเลยที่ 4ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิบังคับตามสัญญาได้เฉพาะแก่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่จะให้มีผลกระทบกระทั่งแก่สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ห้ามและขัดขวางมิให้โจทก์เข้ารื้อถอนเอาทรัพย์สินของโจทก์กลับคืนเป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้นได้ เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จึงต้องคืนทรัพย์สินให้แก่โจทก์หรือใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วยทั้งนี้ ตามมาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 427
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ห้ามและขัดขวางมิให้โจทก์เข้ารื้อถอนเอาทรัพย์สินของโจทก์กลับคืนเป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1ซึ่งกระทำไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กระทำเช่นนั้นได้ เป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จึงต้องคืนทรัพย์สินให้แก่โจทก์หรือใช้ราคาและค่าเสียหายอื่น ๆ ด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วยทั้งนี้ ตามมาตรา 1167 ประกอบด้วยมาตรา 427
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง การประมาทเลินเล่อของผู้อำนวยการ และความรับผิดร่วมของเจ้าหน้าที่
การสอบสวนทางวินัยเป็นคนละกรณีกับการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง เพราะการสอบสวนทางวินัยและการรายงานผลการสอบสวนมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องทางวินัย มิได้รายงานว่าผู้ใดจะต้อง รับผิดในทางแพ่งบ้าง นอกจากนี้บุคคลที่จะต้องรับโทษทางวินัยอาจจะไม่ใช่บุคคลที่จะต้องรับผิดในทางแพ่งเสมอไป กรณีนี้ต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ เลขาธิการสำนักงานโจทก์ ลงชื่อรับทราบผลการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งไม่ใช่วันที่รับทราบผลการสอบสวนทางวินัย เมื่อโจทก์ทราบตัวผู้รับผิดในทางแพ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุมดูแลและรับผิดชอบใน การปฏิบัติราชการของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 มาตรา 21 ไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเอง ไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดตามระเบียบ แล้วได้ถอนเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่ทำบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท โดยมีจำเลยที่ 3 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 5 ลงบัญชีว่ามีการจ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิแล้วโดยมิได้ตรวจดูหลักฐานการจ่ายเงินให้ถูกต้อง โดยลงบัญชีไปตามที่จำเลยที่ 3 บอกทั้งที่รู้ว่าเป็นการผิดระเบียบ และมิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทราบเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 กับพวก เบิกเงินจากคลังจังหวัดแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 3 และมิได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายเพียง 1 ใน 10 ส่วน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุมดูแลและรับผิดชอบใน การปฏิบัติราชการของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 มาตรา 21 ไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเอง ไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดตามระเบียบ แล้วได้ถอนเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่ทำบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท โดยมีจำเลยที่ 3 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 5 ลงบัญชีว่ามีการจ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิแล้วโดยมิได้ตรวจดูหลักฐานการจ่ายเงินให้ถูกต้อง โดยลงบัญชีไปตามที่จำเลยที่ 3 บอกทั้งที่รู้ว่าเป็นการผิดระเบียบ และมิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทราบเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 กับพวก เบิกเงินจากคลังจังหวัดแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 3 และมิได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายเพียง 1 ใน 10 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค – นิติบุคคล – กรรมการ – ความรับผิดร่วม – ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ออกเช็คทั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำผิด จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466-5467/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำเนาเมื่อต้นฉบับอยู่ที่จำเลย และความรับผิดร่วมของนายจ้างในกลุ่มบริษัท
การรับฟังสำเนาพยานเอกสารที่โจทก์อ้างซึ่งต้นฉบับอยู่ที่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ทำการตรวจสอบคงปฏิเสธว่าไม่ทราบว่ามีอยู่ที่จำเลยหรือไม่ จึงรับฟังข้อเท็จจริงตามสำเนาเอกสารนั้น และถือเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นเมื่อจำเลยไม่ทำการตรวจสอบหรือทักท้วงว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ศาลแรงงานกลางย่อมอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบและรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้โดยชอบ
การจ้างโจทก์เป็นการจ้างเพื่อให้ทำงานในกลุ่มบริษัท ก. ซึ่งมีบริษัทจำเลยทั้งสองรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง ส่วนระยะเวลาใดโจทก์จะรับค่าจ้างจากจำเลยคนใด เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะนำมาจ่ายเป็นค่าจ้างแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในระหว่างที่โจทก์ทำงานในกลุ่มบริษัทก. และเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่โจทก์เรียกร้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มจากจำเลยทั้งสองได้ก็จะต้องปรากฏว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยทั้งสองทราบดีถึงหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้าง จำนวนเงินแน่นอนที่ต้องจ่ายเป็นค่าจ้าง กำหนดระยะเวลาในการจ่ายค่าจ้าง บุคคลที่จะได้รับค่าจ้าง ทั้งจำเลยทั้งสองมีความพร้อมที่จะจ่ายค่าจ้างนั้นได้แต่ไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้โดยไม่มีเหตุผลอันควร เมื่อเงินค่าจ้างที่โจทก์อ้างว่าค้างชำระนั้นเป็นเงินส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองต้องปรับเพิ่มให้เดือนละ 20,000 บาท ตามสัญญาจ้างแต่จำเลยทั้งสองยังโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองยังไม่จ่ายให้จึงมีเหตุอ้าง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
การจ้างโจทก์เป็นการจ้างเพื่อให้ทำงานในกลุ่มบริษัท ก. ซึ่งมีบริษัทจำเลยทั้งสองรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง ส่วนระยะเวลาใดโจทก์จะรับค่าจ้างจากจำเลยคนใด เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะนำมาจ่ายเป็นค่าจ้างแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในระหว่างที่โจทก์ทำงานในกลุ่มบริษัทก. และเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่โจทก์เรียกร้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเงินเพิ่มจากจำเลยทั้งสองได้ก็จะต้องปรากฏว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยทั้งสองทราบดีถึงหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้าง จำนวนเงินแน่นอนที่ต้องจ่ายเป็นค่าจ้าง กำหนดระยะเวลาในการจ่ายค่าจ้าง บุคคลที่จะได้รับค่าจ้าง ทั้งจำเลยทั้งสองมีความพร้อมที่จะจ่ายค่าจ้างนั้นได้แต่ไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้โดยไม่มีเหตุผลอันควร เมื่อเงินค่าจ้างที่โจทก์อ้างว่าค้างชำระนั้นเป็นเงินส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองต้องปรับเพิ่มให้เดือนละ 20,000 บาท ตามสัญญาจ้างแต่จำเลยทั้งสองยังโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายหรือไม่ การที่จำเลยทั้งสองยังไม่จ่ายให้จึงมีเหตุอ้าง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของ ผู้ขนส่ง? ในการใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ขนส่งจึงมีภาระการพิสูจน์ในเบื้องต้นว่า ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เพื่อเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2