พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ความรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำความผิดเป็นสาระสำคัญในการลงโทษตามมาตรา 357 วรรคสอง
จำเลยรับว่ามีคนนำรถยนต์ที่ลักมาให้จำเลยเปลี่ยนเครื่องยนต์ ดังนี้ เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าขณะกระทำความผิด จำเลยได้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ไม่ได้ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคแรก หรือฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคสอง เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: จำเลยต้องรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำความผิด แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเป็นผลจากการชิงทรัพย์
ความผิดฐานรับของโจรทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ผู้กระทำความผิดต้องรู้ว่าได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 รับนาฬิกาของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดเท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ไม่ได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 357 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานรับของโจร ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานรับของโจร ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การครอบครองรถจักรยานยนต์ที่ถูกถอดชิ้นส่วนโดยไม่สามารถใช้ได้ บ่งชี้ถึงความรู้ว่าทรัพย์สินนั้นถูกลักมา
บ้านของจำเลยไม่ได้มีสภาพเป็นอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ แต่ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยกลับพบรถจักรยานยนต์ถึง 3 คัน แต่ละคันมีลักษณะถูกถอดชิ้นส่วนออกจนไม่สามารถขับได้ ทำให้เห็นได้ว่ากรณีไม่น่าจะเป็นเพียงจำเลยซ่อมรถจักรยานยนต์ให้เพื่อนตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การที่จำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้แล้วถอดรื้อชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ของกลางออกจนรถไม่สามารถใช้ขับขี่ได้ พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวโดยรู้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: พิจารณาจากความรู้ขณะก่อสร้างและพฤติการณ์โดยรวม
การที่จะถือว่าสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของบุคคลอื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริต จะต้องดูจากขณะที่ก่อสร้างผู้ก่อสร้างรู้หรือไม่ว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่นถ้ารู้ก็ถือว่าก่อสร้างโดยไม่สุจริต ถ้าไม่รู้ว่าเป็นของบุคคลอื่น โดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองจึงสร้างโรงเรือนลงไป ครั้นภายหลังจึงรู้ความจริง ย่อมถือว่าเป็นการก่อสร้างรุกล้ำโดยสุจริต
ขณะจำเลยก่อสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่รู้ว่าโรงเรือนดังกล่าวสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ต่างฝ่ายต่างเพิ่งมาทราบในภายหลัง แม้ว่าจำเลยไม่ได้รังวัดสอบเขตก่อนที่จะก่อสร้าง แต่ขณะจำเลยก่อสร้างบ้านโจทก์ก็รู้เห็นด้วยมิได้โต้แย้ง กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันจะเป็นการทำโดยไม่สุจริตได้ ต้องฟังว่าจำเลยก่อสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โดยสุจริต
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้มีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าใช้ที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าชดใช้ที่ดินของโจทก์ไม่ได้เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ขณะจำเลยก่อสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่รู้ว่าโรงเรือนดังกล่าวสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ต่างฝ่ายต่างเพิ่งมาทราบในภายหลัง แม้ว่าจำเลยไม่ได้รังวัดสอบเขตก่อนที่จะก่อสร้าง แต่ขณะจำเลยก่อสร้างบ้านโจทก์ก็รู้เห็นด้วยมิได้โต้แย้ง กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันจะเป็นการทำโดยไม่สุจริตได้ ต้องฟังว่าจำเลยก่อสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โดยสุจริต
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้มีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าใช้ที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าชดใช้ที่ดินของโจทก์ไม่ได้เป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีซ้ำ และองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร: การพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ และความรู้เกี่ยวกับที่มาของทรัพย์สิน
แม้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจะเคยมีความเห็นว่าไม่ควรดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าวยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 145 , 146 ดังนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 147 ที่ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีกเว้นแต่จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ การดำเนินคดีแก่จำเลยจึงไม่เป็นการไม่ชอบ
ทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่มีลักษณะพิเศษ เช่น นาฬิกามีรูปเป็นหัวงู บางชิ้นมีรูปชาวอิสลามอยู่ที่หน้าปัดเป็นของที่มีราคาแพง และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด จำเลยมีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเครื่องประดับประเภทเพชร พลอย เงิน ทอง นาก และนาฬิกา ได้รับใบอนุญาตให้ค้าของเก่า จำเลยซื้อทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท แสดงว่าจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและหาซื้อไม่ได้ในท้องตลาด ทั่วไป และในฐานะดังกล่าวจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยทราบว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ที่จำเลยรับซื้อไว้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
ทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่มีลักษณะพิเศษ เช่น นาฬิกามีรูปเป็นหัวงู บางชิ้นมีรูปชาวอิสลามอยู่ที่หน้าปัดเป็นของที่มีราคาแพง และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด จำเลยมีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเครื่องประดับประเภทเพชร พลอย เงิน ทอง นาก และนาฬิกา ได้รับใบอนุญาตให้ค้าของเก่า จำเลยซื้อทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท แสดงว่าจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและหาซื้อไม่ได้ในท้องตลาด ทั่วไป และในฐานะดังกล่าวจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยทราบว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ที่จำเลยรับซื้อไว้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด จำเลยต้องรู้ว่าสิ่งที่ส่งมอบเป็นยาเสพติด พยานหลักฐานต้องชัดเจน
จำเลยเป็นเพียงผู้รับฝากเฮโรอีนจาก ล. นำไปให้ ส. และ อ. การที่จะลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเฮโรอีนได้ก็ต่อเมื่อรับฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่าห่อของที่นำไปให้ ส. และ อ. เป็นเฮโรอีนเท่านั้น แต่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยยืนเฉย ๆ ไม่ได้วิ่งหนีไปไหน ทั้งปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่อง จึงเห็นได้ว่า หากจำเลยรู้ว่าห่อของที่จำเลยรับฝากเป็นเฮโรอีนแล้ว โดยสัญชาตญาณจำเลยคงวิ่งหนีไปไม่ยอมให้จับกุมการที่จำเลยมิได้หลบหนีจึงอาจเป็นไปได้ว่าจำเลยไม่รู้ว่าห่อของที่นำมาให้ ส. และ อ. เป็นเฮโรอีน ประกอบกับโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้เกี่ยวข้องเป็นผู้ร่วมจำหน่ายเฮโรอีนกับ ล. ด้วยหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยครอบครองและจำหน่ายเฮโรอีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด: การกระทำที่แสดงถึงความรู้และมีส่วนร่วม
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 202 เม็ด คำนวณน้ำหนักเป็นสารบริสุทธิ์ 2.019 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำเลยที่ 1ได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้นั่งอยู่กับจำเลยที่ 1 ขณะที่สายลับเข้าไปล่อซื้อและจำเลยที่ 2 เป็นผู้เดินไปหยิบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด จากที่ซุกซ่อนมาส่งให้แก่สายลับตามที่จำเลยที่ 1 ใช้ แสดงว่าจำเลยที่ 2รู้อยู่ก่อนว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดซุกซ่อนอยู่ที่ใด อันเป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยที่ 1 ย่อมฟังได้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รู้ว่าลูกโป่งละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ (WinniethePooh) ของผู้เสียหายอันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการนั้นเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี"(BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูนสัตว์โลกที่เป็น "หมี" เป็นสัตว์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่งดงามแปลกหูแปลกตาและแปลกไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ทุกคนย่อมมีปรัชญาศิลปะอยู่ในตัวบ้างไม่มากก็น้อย เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างสรรค์จินตนาการในศิลปะในลักษณะต่าง ๆ กันได้เมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกันโดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำกันหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน การใช้ความคิดริเริ่มนำเอาความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์จินตนาการเป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการผูกขาดจินตนาการหรือสุนทรียภาพในทางความคิดก่อให้เกิดผลเสียแก่มนุษยชาติ เนื่องจากจะมีผลทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถสร้างสรรค์จินตนาการของตนเองเป็นภาพการ์ตูนจากสัตว์ธรรมชาติหรือจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันได้ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างละเมิดลิขสิทธิ์: มีความผิดแม้ไม่ใช่เจ้าของร้าน หากรู้หรือควรรู้ว่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
จำเลยรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าแผ่นซีดี-รอมที่จำเลยร่วมกับพวกขายและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้นเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นและการที่สินค้า เหล่านี้ไม่มีฉลากจำเลยก็ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะทางราชการได้ประกาศให้ประชาชน ทราบในราชกิจจานุเบกษาแล้ว การกระทำของจำเลย จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31(1)(2) มีโทษตามมาตรา 70 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 28,30 และ 69 เนื่องจากจำเลยไม่ได้กระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามกฎหมายโดยตรง หากแต่กระทำแก่งานที่บุคคลอื่น ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่แล้ว แม้คำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลย ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ประกอบด้วยมาตรา 225 และ 215 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 และจำเลยยังมีความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคฯ มาตรา 30(2) และ 52 วรรคหนึ่ง ด้วย ความผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ไม่ได้จำกัดว่าผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านเท่านั้น ลูกจ้างหรือใครก็ตามหากรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าสินค้าใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ของผู้อื่นแล้วยังนำออกขายหรือเสนอขายให้แก่ประชาชน เพื่อหากำไร ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีความผิดฐานรับของโจร เนื่องจากโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด
คดีเกี่ยวกับความผิดฐานรับของโจรนั้น ข้อสำคัญโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด มิใช่เพียงแต่เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์แล้วต้องให้จำเลยนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นของคนร้ายเมื่อบัตรโทรศัพท์รุ่นวัดอรุณถูกคนร้ายลักไปไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายไปร้องทุกข์ หรือแจ้งให้ตัวแทนจำหน่ายของผู้เสียหายหรือประกาศให้ประชาชนทราบแต่ประการใด ดังนั้นจะอาศัยพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายยังไม่ได้นำบัตรโทรศัพท์รุ่นดังกล่าวออกจำหน่ายแก่ตัวแทนและเมื่อไปยึดบัตรดังกล่าวได้จากจำเลยก็คิดหรือคาดคะเนเอาว่าจำเลยได้ครอบครองบัตรโทรศัพท์รุ่นวัดอรุณของกลางซึ่งเป็นของผู้เสียหายโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดหาได้ไม่ เมื่อบัตรโทรศัพท์ของกลางที่ยึดได้จากจำเลย ไม่มีการซุกซ่อนโดยมีการใส่รวมกันไว้กับบัตรโทรศัพท์รุ่นอื่น ๆ ในกล่องพลาสติกตั้งอยู่ที่ชั้นวางสินค้าด้านหลังโต๊ะเก็บเงินแสดงว่าจำเลยวางจำหน่ายอย่างเปิดเผยปราศจากข้อพิรุธ อีกทั้งยินยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจค้นโดยไม่มีการขัดขืน พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยได้รับบัตรโทรศัพท์รุ่นวัดอรุณซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักเอาไปเอาไว้และช่วยจำหน่ายโดยจำเลยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด จำเลยไม่มีความผิดฐานรับของโจร