พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ: การพิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไป ไม่ใช่ผู้กระทำ
กรณีที่จะเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของคนธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำความผิด จะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระทำความผิดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าผู้กระทำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ไม่ได้ แม้จำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย และพูดตักเตือนผู้ตายเรื่องการขับรถจักรยานยนต์ในหมู่บ้านว่าไม่ให้ขับเร็วเพราะเกรงว่าจะชนเด็ก แล้วผู้ตายตอบว่าเป็นรถของผู้ตายเองจะยังคงขับเร็ว และพูดท้าทายจำเลยว่า มึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกูหากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา ซึ่งเป็นการแสดงกิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่จะกระทำต่อจำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลย จึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความเข้าใจของวิญญูชนทั่วไป ไม่ใช่ความรู้สึกของผู้ถูกใส่ความ
ข้อความที่จำเลยทั้งหกลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน ในคอลัมน์ยุทธจักรแปดแฉก ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์นั้น เป็นข้อความทั่วๆ ไปที่วิจารณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งสำคัญในสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่า ควรเป็นบุคคลที่อุทิศตนเพื่อทางราชการ โดยไม่มีข้อความใดที่ทำให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เข้าใจว่า เจ้าพนักงานตำรวจที่ใช้เวลาราชการไปสะสางเรื่องส่วนตัวตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นตัวโจทก์ การที่โจทก์นำบทความที่จำเลยที่ 6 เขียนไว้ในคอลัมน์อื่นก่อนหน้านี้มารวมเข้ากับข้อความในคอลัมน์ดังกล่าวว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ก็เป็นเพียงความเข้าใจของโจทก์เองเท่านั้นหาใช่เป็นความเข้าใจของบุคคลทั่วไปไม่ เมื่อโจทก์ยึดถือความรู้สึกนึกคิดของตนเองเป็นสำคัญทั้งๆ ที่บุคคลทั่วไปมิได้มีการรับรู้หรือเข้าใจในถ้อยคำหรือข้อความดังกล่าวว่าเป็นตัวโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาท: พิจารณาจากความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไปและบริบทสถานการณ์
ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าข้อความที่กล่าวนั้นถึงขั้นที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทน่าจะเสียชื่อเสียง บุคคลอื่นดูหมิ่น เกลียดชังหรือไม่ มิใช่พิจารณาตามความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว โดยเฉพาะกรณีที่เหตุเกิดขึ้นในห้องพิจารณาคดีของศาล ขณะที่ผู้พิพากษารออ่านรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยอยู่ในภาวะถูกกดดันเป็นอย่างมาก การที่จำเลยกล่าวข้อความว่า "ทนายความคนนี้ใช้ไม่ได้ ทั้งประเทศไทยมีทนายความแบบนี้อยู่คนเดียว ชอบหาเรื่องกลั่นแกล้งจำเลย ประเทศชาติอยู่ไม่ได้แน่ ถ้ายังมีทนายความประเภทนี้ อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" และเมื่อ ผู้พิพากษาตักเตือน จำเลยยังกล่าวต่ออีกว่า "ท่านครับอย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล" เป็นการระบายความรู้สึกของจำเลยที่มีต่อโจทก์และเป็นการวิจารณ์การทำงานในหน้าที่ทนายความของโจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยในความรู้สึกว่าจำเลยถูกกลั่นแกล้ง หาใช่เป็นการใส่ความให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แม้ศาลจะพิจารณาเพียงว่าคดีโจทก์พอมีมูลที่จะประทับฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วพิจารณายกฟ้องในภายหลัง
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แม้ศาลจะพิจารณาเพียงว่าคดีโจทก์พอมีมูลที่จะประทับฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ชอบที่จะวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องประทับฟ้องไว้แล้วพิจารณายกฟ้องในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8585/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากความรู้สึกของสาธารณชนทั่วไป ว่าจะสับสนหรือไม่
ความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าต้องถือเอาความรู้สึกของสาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ เป็นหลักว่ารู้สึกสับสนหรือก่อให้เกิดความหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8585/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเหมือน/คล้ายของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากความรู้สึกของสาธารณชนว่าสับสนหรือไม่
ความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าต้องถือเอาความรู้สึกของสาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ เป็นหลักว่ารู้สึกสับสนหรือก่อให้เกิดความหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเดนท์"ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 275667ประกอบด้วยอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้าเป็น "UNIPRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์ และอักษรคำว่า"UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 275668มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า"ยูนิ-เพรสซิเดนท์"ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า"ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นการแสดงออกให้คนซื้อสินค้าทราบว่าสินค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายนี้มีชื่อเรียกขานที่สำคัญว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" รูปลักษณะโดยรวม ตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนไม่อาจทำให้สาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เรียกขานว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "PRESIDENT" ของโจทก์หรือเป็นสินค้าที่โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยไปได้ สาธารณชนย่อมไม่สับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายอันจะทำให้เข้าใจผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเดนท์"ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนตามคำขอเลขที่ 275667ประกอบด้วยอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้าเป็น "UNIPRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์ และอักษรคำว่า"UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 275668มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า"ยูนิ-เพรสซิเดนท์"ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า"ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นการแสดงออกให้คนซื้อสินค้าทราบว่าสินค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายนี้มีชื่อเรียกขานที่สำคัญว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" รูปลักษณะโดยรวม ตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนไม่อาจทำให้สาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เรียกขานว่า "UNIF" หรือ "ยูนิฟ" เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "PRESIDENT" ของโจทก์หรือเป็นสินค้าที่โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยไปได้ สาธารณชนย่อมไม่สับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายอันจะทำให้เข้าใจผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าวข้างต้นจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากความพิการ: แยกค่าความรู้สึกทางจิตใจ (ขาดความสุข) กับค่าความสามารถในการทำงาน และค่าทดแทนอื่น ๆ
ค่าเสียหายเพราะร่างกายพิการทำให้สังคมรังเกียจอับอายขายหน้าไม่ได้เล่นกีฬาไม่ได้สมรสขาดความสุขสำราญเป็นเรื่องการขาดหรือสูญเสียความสุขความสำราญจากความรู้สึกที่ดีเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านจิตใจส่วนค่าทนทุกขเวทนาเป็นเรื่องการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมานซึ่งต่างก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินแต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกันจึงไม่ซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความรู้สึกบุคคลทั่วไป ไม่ใช่ผู้เสียหาย การโฆษณาแจ้งรถหายไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
ข้อความที่จะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่นั้น ต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาข้อความว่า "รถเบนซ์ 500 สีเทา9 ง 8923 พบแจ้งที่ 2711580 มีรางวัล อุดม " นั้น ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคลโดยทั่วไปแล้ว การประกาศโฆษณาดังกล่าวหาได้ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใดไม่ หากการประกาศโฆษณาเช่นว่านั้นจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจและเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ จะต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในฐานะที่กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4237/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทต้องพิจารณาจากความรู้สึกบุคคลทั่วไป มิใช่ผู้เสียหาย
ข้อความที่จะทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่นั้นต้องถือตามความรู้สึกนึกคิดของบุคคลธรรมดาทั่วไป มิใช่ถือเอาแต่ความรู้สึกของผู้ที่อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างหนังสือพิมพ์ลงโฆษณาข้อความว่า "รถเบนซ์ 500 สีเทา9 ง8923พบแจ้งที่2711580มีรางวัล อุดม " นั้น ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคลโดยทั่วไปแล้ว การประกาศโฆษณาดังกล่าวหาได้ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใดไม่ หากการประกาศโฆษณาเช่นว่านั้นจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจและเสียหาย ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ จะต้องไปว่ากล่าวเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในฐานะที่กระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำบอกเล่าของผู้ตายก่อนตายต้องแสดงถึงความรู้สึกว่าใกล้ตาย จึงรับฟังได้
คำบอกเล่าของผู้ตายที่ผู้ตายพูดโดยรู้สึกตัวว่าตนเองจะถึงแก่ความตายในระยะใกล้กันนั้น สามารถรับฟังได้ แต่คำพูดของผู้ตายที่บอกกับ ล. ขณะที่ผู้ตายกำลังถูกนำเข้าห้องผ่าตัดว่า พ.และจำเลยเป็นผู้ยิงผู้ตายและสงสัยว่าตนเองจะถึงแก่ความตายแน่ ๆแต่ผู้ตายพูดด้วยน้ำเสียง ปกติแสดงว่ายังมีกำลังใจดีอยู่ และเชื่อว่าตนเองจะไม่ถึงแก่ความตาย จึงเป็นคำบอกเล่าที่ผู้ตายพูดโดยผู้ตายเพียงสงสัยว่าตนเองจะตาย ไม่ใช่คำพูดที่ผู้ตายพูดโดยรู้สึกว่าตนเองจะถึงแก่ความตายในระยะเวลาใกล้กันนั้นจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808-1809/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ข้อความแสดงความรู้สึก vs. ยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า ผู้เสียหายเรียกตัวยากหาตัวลำบากแถมยังมีราคีเรื่องอื่น ๆ เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึกว่าไม่อาจเรียกตัวผู้เสียหาย หรือพบตัวผู้เสียหายลำบากเท่านั้น มิได้แสดงว่าผู้เสียหายมีราคีมัวหมองในเรื่องใด ทั้งปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ผู้เสียหายจึงมิได้ถูกใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ส่วนข้อความที่ลงพิมพ์ว่า 'เหตุไฉนรัฐมนตรีบัญญัติจึงพูดบิดเบือนความจริง เรื่องศาลากลาง สนามกีฬา ทำไมไม่พูดเรื่องกัญชาข้อหาฉกรรจ์เพราะประชาชนข้องใจ แต่ที่จำได้ ส.ส. ขี่ควายไม่อายเท่าใด ส.ส. ค้ายาเสพติดนั่นคือสิ่งที่ประชาชนสนใจ' นั้นประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ย่อมเข้าใจได้ว่า รัฐมนตรีบัญญัติผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค้ายาเสพติดให้โทษคือกัญชาซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยหาได้ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือโดยความสุจริตใจแต่อย่างใดไม่และมิใช่ข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายค้ายาเสพติดให้โทษ จึงเป็นข้อความที่ใส่ความผู้เสียหายด้วยการแพร่ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328.
ส่วนข้อความที่ลงพิมพ์ว่า 'เหตุไฉนรัฐมนตรีบัญญัติจึงพูดบิดเบือนความจริง เรื่องศาลากลาง สนามกีฬา ทำไมไม่พูดเรื่องกัญชาข้อหาฉกรรจ์เพราะประชาชนข้องใจ แต่ที่จำได้ ส.ส. ขี่ควายไม่อายเท่าใด ส.ส. ค้ายาเสพติดนั่นคือสิ่งที่ประชาชนสนใจ' นั้นประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ย่อมเข้าใจได้ว่า รัฐมนตรีบัญญัติผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค้ายาเสพติดให้โทษคือกัญชาซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยหาได้ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือโดยความสุจริตใจแต่อย่างใดไม่และมิใช่ข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายค้ายาเสพติดให้โทษ จึงเป็นข้อความที่ใส่ความผู้เสียหายด้วยการแพร่ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328.