คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสงสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: การเรียกค่าไถ่รถยนต์แต่ไม่สามารถส่งคืนได้ ทำให้เกิดความสงสัยในเจตนา
จำเลยเรียกเอาเงินค่าไถ่รถยนต์กระบะจากผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไป แต่ผู้เสียหายก็ไม่ได้รับรถยนต์กระบะคืนตามที่จำเลยนัดหมาย แต่ได้รับคืนเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในท้องที่อื่นคนละท้องที่กับที่จำเลยนัดหมายให้ไปรับคืน ทั้งเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยนัดหมายไว้ประมาณ 10 วัน ไม่อาจสันนิษฐานว่าคนร้ายนำรถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปจอดทิ้งไว้เพื่อให้ผู้เสียหายรับคืนไปได้ จำเลยอาจสวมรอยคนร้ายเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพียงลำพัง มิได้ช่วยคนร้ายจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายโดยวิธีให้ผู้เสียหายไถ่คืน พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: ความสงสัยตามสมควรเมื่อผู้เสียหายไม่ได้รับรถคืนตามนัด และรถถูกพบในพื้นที่อื่น
จำเลยเรียกเอาเงินค่าไถ่รถยนต์กระบะจากผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไป แต่ผู้เสียหายก็ไม่ได้รับรถยนต์กระบะคืนตามที่จำเลยนัดหมาย แต่ได้รับคืนเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในท้องที่อื่นคนละท้องที่กับที่จำเลยนัดหมายให้ไปรับคืน ทั้งเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยนัดหมายไว้ประมาณ 10 วัน ไม่อาจสันนิษฐานว่าคนร้ายนำรถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปจอดทิ้งไว้ เพื่อให้ผู้เสียหายรับคืนไปได้ จำเลยอาจสวมรอยคนร้ายเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพียงลำพัง มิได้ช่วยคนร้ายจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายโดยวิธีให้ผู้เสียหายไถ่คืน พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนต้องมีพยานหลักฐานประกอบ หากไม่มี พยานหลักฐานอ่อนแอ ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัย
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลย บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่าย กับภาพถ่ายที่ ส. ชี้จำเลยโดยมี ร.ต.อ.น. พนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนเท่านั้น ทั้งจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาว่าคำรับสารภาพมิได้เป็นไปด้วยความสมัครใจและมิได้นำชี้ที่เกิดเหตุแต่อย่างใด ดังนั้น การจะนำคำรับสารภาพและการนำชี้ที่เกิดเหตุชั้นสอบสวนของจำเลยมาฟังลงโทษจำเลย โจทก์จะต้องมีพยานประกอบมาสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ทั้งพยานประกอบต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบประกอบคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยพยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิด จำเลยได้รับประโยชน์แห่งความสงสัย
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน แต่ช่วงระยะเวลาที่ ผู้เสียหายจะมีโอกาสมองเห็นใบหน้าของคนร้ายได้นั้นเกิดขึ้นตอนที่คนร้ายลงจากรถจักรยานยนต์เดินมาหาแล้วใช้ อาวุธปืนสั้นจ่อที่ใบหน้าผู้เสียหาย โอกาสที่ผู้เสียหายมองเห็นใบหน้าของคนร้ายได้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีเพียงแวบเดียว เพราะในช่วงเวลาหลังจากนั้นผู้เสียหายได้เตรียมปลดสร้อยคอจากคอผู้เสียหายเพื่อส่งให้แก่คนร้าย และในช่วงที่ผู้เสียหายเตรียมปลดสร้อยคอ คนร้ายได้กระชากสร้อยคอจนขาดจากคอผู้เสียหายและวิ่งไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่พวกจอดติดเครื่องรออยู่ขับหลบหนีไปทันที ยิ่งเห็นได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนี้โอกาสที่ผู้เสียหายจะมองเห็นใบหน้าของคนร้ายย่อมมีน้อยมาก ประกอบกับผู้เสียหายสวมหมวกนิรภัยมีกระจกด้านหน้าเป็นสีชา สีของกระจกย่อมทำให้ผู้เสียหายมองเห็นใบหน้าของคนร้ายผิดเพี้ยนไปได้ผู้เสียหายไม่เคยรู้จักคนร้ายมาก่อนและไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายและไม่ปรากฏว่าทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายชิงไปถูกยึดได้จากจำเลยมาเป็นของกลางประกอบคดี จำเลยให้การปฏิเสธมาตั้งแต่ต้นและได้นำสืบอ้างฐานที่อยู่ ตามพฤติการณ์แห่งคดีพยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ร่วมกับพวกกระทำความผิด จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง และจำเลยไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา และอำนาจริบของกลาง
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นที่สงสัยว่าอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่ ควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นผลดีแก่จำเลย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง และเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน แต่อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีไว้เป็นความผิดซึ่งต้องริบเสียทั้งสิ้น ศาลจึงมีอำนาจริบได้ไม่ว่าจำเลยจะถูกลงโทษหรือไม่ ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือและขาดหลักฐานสนับสนุน ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
โจทก์มีคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่าย กับมีพันตำรวจตรีป. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยที่ 2 รับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิง แต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนกับภาพถ่ายที่แสดงท่าทางและนำชี้ที่เกิดเหตุ แล้วแต่เป็นพยานบอกเล่าจึงมีน้ำหนักน้อย ส่วนปลอกกระสุนปืนที่ยึดได้จากบ้านของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการตายของผู้ตาย จึงขาดการต่อเนื่อง นอกจากคำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานหรือวัตถุ ของกลางที่ยืนยันได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1ฆ่าผู้ตาย พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบจึงยังมี ความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่ง ความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องในความผิดร่วมกันมีและจำหน่ายยาเสพติด เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้
จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางน้ำหนัก 4.129 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่สิบตำรวจเอก ค.กับสายลับที่ไปล่อซื้อ นอกจากนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก 580 กรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่พยานหลักฐานของโจทก์ เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานมีเฮโรอีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนจริงหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองดังนี้ ศาลฎีกายังมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความดีฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องอาญาเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอและมีความสงสัยตามสมควรในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
มูลเหตุที่เจ้าพนักงานไปตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่ามีการมั่วสุม เสพเมทแอมเฟตามีนและลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านดังกล่าว และในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานได้รับแจ้งจากสายลับว่า มีกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุมที่บ้านดังกล่าวอีกและมีเมทแอมเฟตามีนอยู่เป็นจำนวนมากโดยไม่ปรากฏว่ามีการ ร้องเรียนหรือกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ร่วมกันลักลอบ จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เหตุที่จับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อยู่ในที่เกิดเหตุ ซึ่งจากการ สอบถาม จำเลยที่ 1 รับว่าที่เกิดเหตุเป็นบ้านที่จำเลยที่ 1 เช่าอยู่อาศัยโดยจำเลยที่ 1 มิได้ให้การพาดพิงหรือซัดทอด ถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อันจะพอบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย จำเลยที่ 1 ให้การในทันทีทันใดเมื่อถูกเจ้าพนักงานสอบถามไม่มีเวลา ไตร่ตรองเพื่อช่วยเหลือหรือปรักปรำผู้ใด เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ให้การไปตามความสัตย์จริง คำให้การของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ ทั้งในชั้นพิจารณา จำเลยที่ 1 ก็ยังยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5มาบ้านจำเลยที่ 1 เพื่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1ไว้เพื่อเสพเท่านั้น ดังนั้น แม้จะจับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้ในขณะอยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ แต่ตามพฤติการณ์ และพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้ รับอนุญาตหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้น ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7150/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ได้จากการถูกทำร้ายร่างกาย และพยานที่ไม่ชัดเจน ทำให้ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
แม้ชั้นสอบสวนจำเลยจะให้การรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุก็ตาม แต่จำเลยเบิกความว่าเหตุที่ให้การเช่นนั้นเพราะถูกทำร้ายร่างกาย ทั้งเมื่อถูกแจ้งข้อหาเพิ่มเติมจำเลยก็ให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงชื่อในคำให้การ ดังนั้น ลำพังเพียงคำรับสารภาพดังกล่าวไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำความผิดหรือไม่ ศาลย่อมยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานปากเดียว และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา
ตอนที่ผู้เสียหายเห็นหน้าคนร้ายภายในห้องนอนคนร้ายก็ กระโดดคร่อมตัวผู้เสียหายและชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายทันที ซึ่งในภาวะเช่นนั้นผู้เสียหายย่อมต้องปัดป้องจากการ ถูกทำร้ายซึ่งคนร้ายชกต่อยผู้เสียหาย 40-50 ครั้ง โอกาสที่ ผู้เสียหายจะดึงหมวดอ้ายโม่ง หลุดออกทางศีรษะ คนร้าย ขึ้นไปด้านบนจึงไม่น่าเป็นไปได้ นอกจากนี้เมื่อคนร้าย กระโดดจากชั้นสองลงไปชั้นล่างและหลบหนีไปนั้น ส.เห็นหน้าคนร้ายยังสวมหมวกอ้ายโม่ง เดินไปทางซอยห่างจากบ้าน ประมาณ 7-8 วา ก่อนขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปแสดงให้เห็นว่า นับแต่คนร้ายคร่อมตัวผู้เสียหายและทำร้ายผู้เสียหาย จนกระทั่งหลบหนีไปทางหลังบ้านคนร้ายยังสวมหมวกอ้ายโม่ง อยู่ ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าคนร้ายเอาหมวกอ้ายโม่ง ติดตัวไปด้วย และตอบทนายถามค้านว่าเมื่อจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายเห็นหน้า แล้วก็ได้นำหมวกอ้ายโม่ง มาสวมคลุมกลับไปอย่างเดิมอีก ไม่น่าเชื่อเพราะผู้เสียหายรู้จักจำเลยเมื่อเห็นหน้าคนร้าย ว่าเป็นจำเลยแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปกปิดใบหน้าอีก หลังเกิดเหตุเมื่อ ส. มาพบผู้เสียหายที่ชั้นล่างของบ้านก็ไม่ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับตัวคนร้ายทั้งตอนที่ เจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยนอนอยู่ บนแคร่ใต้ถุนบ้าน ไม่ได้แสดงอาการหลบหนีแต่ประการใด ทั้งหมวกอ้ายโม่ง ที่คนร้ายสวมใส่ก็ไม่ได้ยึดจากจำเลย เป็นของกลาง ส่วนรองเท้าแตะสีดำยี่ห้อคอมพาสที่ยึดได้จากบ้านผู้เสียหายเป็นของกลางจำเลยก็ปฏิเสธว่ามิใช่ของจำเลย เมื่อโจทก์มีแต่คำเบิกความของผู้เสียหายปากเดียวโดยขาดพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนเช่นนี้ ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายมีน้ำหนักน้อย ที่ผู้เสียหาย อ้างว่าดึงหมวกอ้ายโม่ง ออกสามารถมองเห็นหน้าคนร้าย คือจำเลยขณะถูกทำร้ายจึงเป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นความจริง หรือไม่ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัย ตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้หรือไม่ ต้องยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
of 4