คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยคำนึงถึงจำนวนตัวอักษร, เสียงเรียกขาน, และความหมาย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งที่เป็นคำ และเป็นรูปกับคำต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันแบบพิมพ์ใหญ่และแบบอักษรประดิษฐ์ 4 ตัว คือ "F" "O" "R" และ "D" โดยเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปและคำจะมีวงรีล้อมรอบตัวอักษรประดิษฐ์ดังกล่าวอยู่ ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ 3 ตัว คือ "F" "O" และ "R" ดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนจะเห็นได้ว่า แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่างมีตัวอักษรขึ้นต้นด้วยอักษร "F" และตามด้วยตัวอักษร "O" และ "R" ตามลำดับเช่นเดียวกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร "D" อยู่ในตอนท้ายด้วย ซึ่งแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนจะมีจำนวนตัวอักษรต่างกันเพียงตัวอักษรเดียว แต่เนื่องจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรเพียง 4 ตัว เท่านั้น สาธารณชนจึงสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนได้โดยง่าย และโดยเหตุที่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันเช่นเดียวกัน การเขียนจึงต้องมีตัวสะกดซ้ำกันบ้าง ในกรณีเช่นนี้จะสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ นอกจากนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนมีเสียงเรียกขานว่า "ฟอร์" และมีคำแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยชัดเจนคือแปลว่า "สำหรับ" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานว่า "ฟอร์ด" ซึ่งมีที่มาจากชื่อผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงมีความหมายและเสียงเรียกขานที่ต่างกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในศาลาการเปรียญ: พิจารณาความหมายของ 'สถานที่บูชาสาธารณะ' ตาม ป.อ. มาตรา 335
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฯ ให้ความหมายของคำว่า ศาลาการเปรียญหมายถึงศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม ศาลาการเปรียญจึงหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตามความหมายแห่งบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 335 (9) วรรคแรก คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า พระยอดขุนพลของกลางที่จำเลยเข้าไปลัก ขณะเกิดเหตุติดอยู่ที่แผงบริเวณเสาของศาลาการเปรียญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหานี้ไว้ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพิจารณาว่าข้อความหมายถึงโจทก์หรือไม่
คำว่า "วีรบุรุษ" ตามพจนานุกรม หมายความว่า ชายที่ได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญ คำว่า "คนมีสี" เป็นที่เข้าใจของบุคคลทั่วไปว่าหมายถึงข้าราชการตำรวจและทหารทุกระดับชั้นยศ ส่วนคำว่า "นายพล" เป็นตำแหน่งของข้าราชการตำรวจและทหารการที่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ลงพิมพ์ข้อความในคอลัมน์ หนังสือพิมพ์ข่าวสดว่า "การที่ข่าวสดถูกคนร้ายโยนระเบิด... จะเป็นการกระทำของวีรบุรุษซาตาน... หรือใครก็ตาม... ไม่ว่าจะเป็นคนมีสีหรือไม่มีสีก็ตาม ผู้บงการจะต้องถูกลงโทษไม่มีการยกเว้น" และข้อความว่า "สงสัยว่าเป็นนายพลเงินเดือนไม่มากมายแต่ทำไมมีเงิน..จ่ายดอกเบี้ยเป็นล้านถึงบางอ้อเมื่อทราบว่ารายได้จากการแข่งม้านัดเดียวก็กินถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน" นั้น ไม่มีตอนใดที่ระบุว่าเป็นโจทก์หรือทำให้เข้าใจว่าเป็นโจทก์ ทั้งโจทก์เองก็รับว่าก่อนเกิดเหตุหนังสือพิมพ์ข่าวสดลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยระบุตัวโจทก์ตรง ๆ ไม่ต้องแปลหรือทำความเข้าใจเองว่าหมายถึงใคร ดังนั้น หากจำเลยทั้งหกประสงค์จะให้ถ้อยคำดังกล่าวชี้ชัดเฉพาะเจาะจงเป็นการยืนยันว่าเป็นโจทก์ ก็น่าจะกล่าวถึงตัวโจทก์โดยระบุตรง ๆ เหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ข้อความตามที่จำเลยทั้งหกลงพิมพ์ดังกล่าวจึงฟังไม่ได้ว่าเป็นโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5674/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แบบพิมพ์เช็คยังไม่กรอก ไม่ถือเป็นเอกสารทางอาญา มาตรา 188 จึงไม่ผิดฐานเอาเอกสารไป
แบบพิมพ์เช็คที่ยังไม่ได้กรอกรายการเท่ากับยังมิได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นจึงไม่เป็นเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) แม้จำเลยเอาแบบพิมพ์เช็คของผู้เสียหายไป ก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติดแม้ปริมาณน้อย ถือเป็นการ 'ผลิต' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
แม้เฮโรอีนของกลางมีจำนวนเพียงเล็กน้อย น้ำหนักเพียง0.45 กรัม ก็ตาม แต่ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ให้คำนิยามคำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย ดังนั้น การที่จำเลยเทเฮโรอีนจากในหลอดพลาสติกใส่ในหลอดกาแฟ แล้วนำหลอดกาแฟไปลนไปจากเทียนไขปิดหัวท้ายเพื่อจำหน่าย เป็นการแบ่งบรรจุอันเป็นการผลิตยาเสพติดให้โทษตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ไม่จำเป็นต้องกระทำกับยาเสพติดให้โทษจำนวนมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เป็นการ 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ แม้ยังมิได้รับเงิน
ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 4 ให้คำนิยามว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย การที่เจ้าพนักงานตำรวจติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยโดยบอกว่า มีเมทแอมเฟตามีนเท่าใดต้องการซื้อหมดจำเลยบอกว่ามีอยู่ 30 เม็ด ราคาเม็ดละ 40 บาท เจ้าพนักงานตำรวจตกลงซื้อ จำเลยเดินไปหลังบ้านแล้วนำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจจำนวน 30 เม็ด แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะยังมิได้ส่งมอบเงินให้จำเลย การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการขายตามความหมายของ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า โดยพิจารณาจากองค์ประกอบและความหมายของคำ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมาย-การค้าที่ได้ถือคำอักษรโรมันเป็นสำคัญ คือของโจทก์เป็นคำว่า "DENTYNE" ส่วนของจำเลยเป็นคำว่า "DENT GUM" อักษรไทยเป็นเพียงคำทับศัพท์เพื่ออ่านออกเสียงตามอักษรโรมันว่า เดนทีน เดนท์กัม แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่า"เดนท์" และคำว่า "DENT" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งมีอักษรไทย 3 ตัวแรก และอักษรโรมัน 4 ตัวแรก ตรงกับอักษรไทยและอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกเป็นคำ2 คำ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำคำเดียว คำว่า "DENT" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีความหมายว่า รอยเว้า รอยฟัน ทำเป็นรอยตอกเป็นรอย และคำว่า "GUM" มีความหมายว่า ยางไม้ กาวที่ทำจากยางไม้ส่วนคำว่า "DENTYNE" ของโจทก์เป็นคำที่ไม่มีความหมาย เครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์จึงมีคำและตัวอักษรแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ทั้งเครื่องหมาย-การค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ก่อให้ความสับสนหลงผิด ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความ 'พนักงาน' ในความผิดของพนักงานรัฐ: เจ้าพนักงานไม่อยู่ในข่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตำแหน่งพนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัด สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพ.ศ. 2503 ได้ยักยอกปุ๋ยของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางซึ่งอยู่ในอำนาจจัดการดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลย ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 เพียงอย่างเดียว แต่ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้หมายถึง บุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย จึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ดังนั้นจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมายของ 'อุบัติเหตุ' ในประกันภัยรถยนต์: การชิงทรัพย์และการเสียชีวิตของผู้ขับขี่
โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่จำเลยและได้เอาประกันภัย อุบัติเหตุส่วนบุคคลผู้ขับขี่ไม่ระบุนามไว้ด้วยโดยมีเงื่อนไขว่า จะใช้บังคับเฉพาะเมื่อผู้ขับขี่ที่ได้รับอนุญาตจากผู้เอาประกันภัย ที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยได้รับอุบัติเหตุในขณะที่กำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้นหรือลงจากรถยนต์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น ปรากฏว่าระหว่างอายุสัญญาพ.ผู้ขับขี่รถยนต์ของโจทก์ได้ขับรถยนต์ ดังกล่าวจะไปส่งของที่กรุงเทพมหานครระหว่างทางได้ถูกคนร้าย ชิงเอารถยนต์ไปและคนร้ายได้ฆ่าพ.ถึงแก่ความตายเนื่องจากคนร้าย มีเจตนาลักรถยนต์ของโจทก์พบศพอยู่ห่างถนนที่เกิดเหตุประมาณ 7 เส้นดังนี้ เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นแก่ พ. เป็นผลโดยตรงหรือ เนื่องมาจากการชิงทรัพย์นั่นเองและได้เกิดขึ้นขณะพ.กำลัง ขับขี่รถยนต์อยู่ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุบัติเหตุตามกรมธรรม์ประกันภัย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุมิได้ให้คำจำกัดความว่า'อุบัติเหตุ'ไว้ จึงต้องถือความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ซึ่งให้ความหมายไว้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดหรือความบังเอิญเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าประกันชีวิตกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ: ความหมายของ 'อุบัติเหตุ' ตามกรมธรรม์
สามีโจทก์เอาประกันชีวิตไว้กับจำเลย โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันชีวิตมีเงื่อนไขว่า ถ้าสามีโจทก์ถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุจำเลยจะใช้เงินเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนที่เอาประกัน ระหว่างอายุสัญญา สามีโจทก์เป็นลมล้มลงศีรษะฟาดพื้นสมองได้รับความกระทบกระเทือนถึงแก่ความตาย ดังนี้เห็นได้ว่าที่ผู้ตายเป็นลมหกล้มเป็นเรื่องเกิดขึ้นโดยบังเอิญปราศจากเจตนาและความคาดหมายของผู้ตาย จึงถือได้ว่าผู้ตายตายเพราะอุบัติเหตุตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์สองเท่าตามสัญญา
of 6