คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเกี่ยวข้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง สัญญาค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมไม่ทำให้มีสิทธิฟ้องแทน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้ และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775-6776/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องต่างกรรมต่างวาระในคดีแรงงาน ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าถูกจำเลยเลิกจ้างโดยกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ซึ่งไม่เป็นความจริง สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือโจทก์ทั้งสองถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือเหตุที่เลิกจ้างนั้นไม่มีอยู่จริง ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดและคืนเงินประกัน ซึ่งค่าเสียหายจากการละเมิดนั้นเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์ทั้งสองขอเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยจงใจกลั่นแกล้งร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกแก่โจทก์ทั้งสองโดยไม่เป็นความจริง ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือจำเลยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ ด้วยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจากการร้องทุกข์นั้นทำให้โจทก์ทั้งสองถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นคดีอาญาได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่สามารถประกอบอาชีพในระหว่างถูกจับกุม แม้ว่าตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจะเป็นเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดเช่นกัน แต่เป็นการกระทำละเมิดเนื่องจากการร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญา ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องเดิม คำฟ้องภายหลังตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลแรงงานควรรับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นๆ จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และยังประมาทเลินเล่อทำให้เงินของจำเลยสูญหายไป จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายและเงินอื่นแก่โจทก์ และฟ้องแย้งเรียกเอกเงินจำนวนที่สูญหายไปเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยอันเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ดังนี้ เงินที่โจทก์เรียกร้องตามฟ้องแย้งจึงเป็นเงินที่โจทก์ทำสูญหายไปเพราะโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยในขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นหาใช่เป็นการเรียกร้องเอาเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโจทก์ตามสัญญาจ้างเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8939/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด ไม่ผูกติดกับคำพิพากษาลงโทษ จำเป็นต้องมีการไต่สวนความเกี่ยวข้องของทรัพย์สิน
การขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 มุ่งประสงค์จะให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นหลัก โดยไม่คำนึงว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ การจะได้ความว่าทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ย่อมจะต้องผ่านกระบวนการไต่สวนในเบื้องต้นเสียก่อนว่าทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับคดีที่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกฟ้องอันเป็นคดีหลัก ตามถ้อยคำแห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงบัญญัติข้อความแยกต่างหากจากการริบทรัพย์สินและขอคืนทรัพย์สิน ตามมาตรา 36 แห่ง ป.อ. ทั้งห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่า คดีที่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกฟ้องเป็นคดีหลักและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงให้งดไต่สวนและยกคำร้องมานั้นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเรือของกลางคดีลักลอบขนน้ำมัน: เจ้าของเรือเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรือไม่
ในคดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนเรือของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าศาลจะสั่งริบเรือของกลางได้หรือไม่ยุติไปตามคำสั่งศาลในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนเรือของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมายและการพิสูจน์ความเกี่ยวข้องของจำเลย ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานการกระทำร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82,91 ตรี ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 ยกฟ้องข้อหาอื่น จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทั้งหมด โดยโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและความผิดดังกล่าวมีองค์ประกอบแตกต่างกับความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 ไม่เกี่ยวข้องกัน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี มิได้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30,82 อันจะทำให้ศาลลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหก ทั้งกรณีไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิดซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรีได้ เป็นการเกินคำขอไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ดังนั้น เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้เสียหายทั้งสองได้ขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็ไม่จำต้องสั่งอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปฯ ต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใดโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และมิใช่กรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 6 และต้องรับโทษตามมาตรา 34 ซึ่งสาระสำคัญของการกระทำที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดมีเพียงจำเลยประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ดังนั้นเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์และแผ่นซีดีของกลางจึงมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดไม่มีเหตุที่จะริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการลักทรัพย์: ต้องพิเคราะห์ว่ารถยนต์มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำความผิดหรือไม่
++ เรื่อง ลักทรัพย์ รับของโจร
++ จำเลยฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 206 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจริบยานพาหนะ: การพิจารณาความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9)แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์ มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33 (1) แห่ง ป.อ.ดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินสดของกลางในคดียาเสพติด: ต้องพิสูจน์ความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ว่า หมายความว่าการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึงการสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง และคดีสำหรับจำเลยที่ 4 ถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งมิได้อยู่ในความหมายของ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 3 เงินสดของกลางจำนวน 516,260 บาท จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 30,31ที่จะพึงรับได้
of 6