คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเข้าใจข้อหา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคลาดเคลื่อนวันเกิดเหตุลักทรัพย์ ไม่กระทบคำพิพากษา หากจำเลยรับสารภาพและเข้าใจข้อหา
จำเลยเข้าใจดีว่าเหตุลักทรัพย์เกิดวันที่ 2 มิถุนายน 2540การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่2 มิถุนายน 2530 เห็นได้ว่าเกิดจากการที่พิมพ์ผิดพลาดซึ่งวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้อง กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ โดยวันเวลา ที่เกิดเหตุหมายถึงวัน เดือน ปี มิใช่หมายถึงเฉพาะชั่วโมง นาที ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้และให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ จำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ ดังนั้น จะฎีกาโต้เถียงว่ามิได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความชัดเจนของฟ้องอาญา ต้องพิจารณาจากข้อความทั้งหมดที่บรรยายไว้
การพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์นั้นจะต้องพิจารณาข้อความที่โจทก์บรรยายไว้ทั้งหมดประกอบกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยวิ่งราวทรัพย์โจทก์ไปต่หน้าเป็นเงิน 1,700 บาท
ดังนี้เรียกว่าโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าทรัพย์ที่จำเลยทำการฉกฉวยไปนั้นเป็นเงิน จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.