คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเชื่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงโดยอ้างความสามารถทางไสยศาสตร์เพื่อหวังผลประโยชน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างต้นเดือนธันวาคม 2541 ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 เวลากลางวัน วันเดือนปีใดไม่ปรากฏชัด จำเลยโดยทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นประชาชน เป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินไปจากผู้เสียหายทั้งแปด ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละคนจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายคนใดเมื่อวันเดือนปีใดและหลอกลวงผู้เสียหายแต่ละคนกี่ครั้งหรือได้เงินจากผู้เสียหายแต่ละรายครั้งละเท่าใด เงินที่ได้จากการหลอกลวงนำไปใช้เป็นค่าซื้อแพะกี่ตัว เป็นเงินเท่าใด เงินที่มิได้นำไปซื้อแพะมีเท่าใด หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด จำเลยจะต้องคืนเงินที่รับจากผู้เสียหายแต่ละรายเท่าใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องแล้ว
แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่พูดหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดว่าจะต้องใช้เงินไปซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำการสะเดาะเคราะห์และจะทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวย ซึ่งความจริงจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายทั้งแปดร่ำรวยได้ แต่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ความว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 ว่า จะต้องใช้เงินซื้อแพะนำมาบวงสรวงเทพเจ้าเพื่อทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยซึ่งจำเลยไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายที่ 6 ถึงที่ 8 หายจากเจ็บป่วยได้ ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลจึงมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการตัดอ้อยในที่ดินเช่า จำเลยต้องรับผิดฐานประมาทเลินเล่อ แม้เชื่อว่ามีสิทธิ
แม้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ซึ่งต้องถือว่าโจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมปลูกอ้อยและการที่จำเลยว่าจ้างคนงานเข้าไปเผาและตัดต้นอ้อยของโจทก์ในที่ดินพิพาทไปขายจำเลยกระทำไปโดยเชื่อว่าต้นอ้อยในที่ดินพิพาทเป็นของผู้อื่นซึ่งมอบให้จำเลยดูแลแทนและจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมปลูกอ้อยและต้นอ้อยในที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยจะต้องรับผิดในทางแพ่งฐานกระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าความเข้าใจของจำเลยดังกล่าวเป็นไปโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าความเข้าใจว่าตนมีสิทธิทำได้ของจำเลยเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดในผลแห่ง ละเมิดอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาจากการไล่ผีปอบ: ศาลฎีกาตัดสินว่าการกระทำเพื่อความเชื่อทางประเพณี ไม่ถือเป็นความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษ
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกต้องการไล่ผีปอบออกจากร่างของผู้ตายได้ใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกตีผู้ตายล้มลง แล้วใช้ด้ามมีดตีศีรษะผู้ตาย ด้ามมีดทำด้วยเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ยาว 8.5 นิ้วจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ถ้าตีศีรษะผู้ตายโดยแรงและตีนาน ๆย่อมทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ จำเลยตีผู้ตายนานถึง 2 ชั่วโมงผู้ตายมีรอยฟกช้ำที่หน้าผาก โหนกแก้ม ศีรษะบวมช้ำแบบศีรษะน่วมความตายของผู้ตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการทำร้ายของจำเลยกับพวกจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นการไล่ผีปอบตามความเชื่อและตามประเพณีท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมา แม้การทำร้ายใช้เวลานานถึง 2 ชั่วโมงจนผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นเรื่องของการไล่ผีปอบ ไม่ได้เป็นการกระทำที่แสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)กรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงเรื่องไสยศาสตร์: การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงจากความเชื่อส่วนบุคคล
จำเลยไม่เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ แต่ได้ขายน้ำมันพรายให้กับผู้เสียหายในราคา 300 บาท อ้างว่าจะช่วยให้ค้าขายดี นอกจากนี้จำเลยยังคอยบอกผู้เสียหายว่าทำผิดผี ต้องทำพิธีไหว้อาจารย์ จนผู้เสียหายยอมมอบเงินและทรัพย์สินอื่นรวมหลายหมื่นบาทให้จำเลยไปเพื่อทำพิธีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญทางไสยศาสตร์ไม่ถึงขั้นกรรโชก หากผู้เสียหายเชื่อคำทำนายมากกว่ากลัวภัย
จำเลยเพียงแต่ทำนายดวงชะตาแก่ผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายกำลังมีเคราะห์ให้สะเดาะเคราะห์โดยเสียเงินค่ายกครูให้แก่จำเลยหาใช่เป็นการขู่เข็ญตามความหมาย ของมาตรา 337 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไม่ดังนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยพูดขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินจะให้พ่อปู่มาทำอันตรายผู้เสียหายทางไสยศาสตร์และผู้เสียหาย ยอมให้เงิน ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายเชื่อตามคำทำนายว่าจะมีเคราะห์ มิใช่เพราะกลัวคำขู่เข็ญของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญทางไสยศาสตร์ไม่ถึงขั้นกรรโชก หากผู้เสียหายเชื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์
จำเลยเพียงแต่ทำนายดวงชะตาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายกำลังมีเคราะห์ ให้สะเดาะ เคราะห์โดยเสียเงินค่ายกครูให้แก่จำเลยดังนี้หาใช่เป็นการขู่เข็ญตามความหมายของมาตรา 337 แห่ง ป.อ. ไม่ แม้จำเลยพูดขู่ว่าถ้า ไม่ ให้เงินจะให้พ่อปู่ มาทำอันตรายผู้เสียหายทางไสยศาสตร์ และผู้เสียหายยอมให้เงิน ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายเชื่อ ตามคำทำนายว่าจะมีเคราะห์ มิใช่เพราะกลัวคำขู่เข็ญของจำเลยการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890-2891/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดทางอาญา: การกระทำโดยเชื่อว่ามีสิทธิทำกิน หากไม่มีการแจ้งผลสอบสิทธิ ย่อมขาดเจตนา
หลังจากทางราชการเข้าไปรังวัดเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วทางราชการมิได้แจ้ง หรือฟ้องขับไล่ให้จำเลยออกจากป่าสงวนแห่งชาติ แต่กลับออกประกาศกำหนดให้ผู้ครอบครองที่ดินแจ้งการครอบครองเพื่อจะพิจารณาสอบสิทธิ์ของผู้ครอบครองที่ดิน จำเลยก็ยื่นคำร้องว่าตนมีสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองภายในกำหนด นอกจากนี้ทางราชการยังเรียกประชุมราษฎรห้ามมิให้บุกเบิกป่าสงวนแห่งชาติต่อไป คงให้ทำกินเฉพาะที่ทำกินอยู่แล้ว จึงทำให้จำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิ์ทำกินในที่ดินที่ตนยึดถือครอบครองอยู่จนกว่าทางราชการจะสอบสิทธิ์ของจำเลยเสร็จและแจ้งผลการสอบสิทธิ์ให้จำเลยทราบว่าจำเลยไม่มีสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าต่อมาทางราชการแจ้งผลการสอบสิทธิ์ว่าจำเลยไม่มีสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดดังฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทลงชื่อเช็คโดยเชื่อมั่นในฐานะทางการเงินของบริษัท ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยเป็นกรรมการบริษัท ตามข้อบังคับของบริษัท ต้องมีกรรมการ 2 นาย ลงชื่อและประทับตราของบริษัทในเช็ค ๆ จึงจะใช้ได้ เมื่อจำเลยลงชื่อในเช็คโดยเชื่อกรรมการผู้จัดการว่า บริษัทมีเงินพอจ่าย เช่นนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: ความเชื่อเรื่องคงกระพันไม่เป็นเหตุให้ไม่มีความผิด
จำเลยใช้ปืนจ่อยิงผู้ตายที่สบักอันเป็นที่สำคัญ โดยเชื่อว่าเป็นคนอยู่ยงคงกระพัน ถือว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: การพิสูจน์เจตนาและผลของการกระทำเมื่อเชื่อว่าผู้ถูกกระทำจะไม่เสียชีวิต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจับงูเห่ากัดผู้ตายตายโดยเจตนา จำเลยจะผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนานั้น โจทก์จะต้องสืบให้ได้ความว่างูเห่านั้กัดผู้ใดแล้ว ผลธรรมดาอันควรเกิดขึ้นแลน่าจะเกิดขึ้นก็คือผู้นั้นจะถึงแก่ความตาย เมื่อโจทก์ไม่สืบและข้อเท็จจริงกลับฟังได้ว่า จำเลยกระทำไปโดยมีความเชื่อมั่นว่าผู้ตายซึ่งได้รับการสัก(จากจำเลย) แล้วถูกงูเห่ากัดจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งพะยานโจทก์กลับว่าถ้ารักษาดีหรือกินยาก็หายได้ ดังนี้ยังลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาไม่ได้
of 2