คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเชื่อถือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินเกินอัตราดอกเบี้ย: พฤติการณ์หลอกลวง-สร้างความเชื่อถือเพื่อขอกู้เงินจำนวนมาก
จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินที่กู้ยืมจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปลงทุนหรือให้บุคคลอื่นกู้ยืมในลักษณะที่จะให้ผลประโยชน์มากเพียงพอที่จะนำมาจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายได้ หากแต่การจ่ายผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายในครั้งแรก ๆ เป็นเพียงอุบายทุจริตตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายให้หลงเชื่อและส่งมอบเงินให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง และการที่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายโดยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน และร้อยละ 20 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ จึงเป็นความผิดตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติปฏิบัติกระทบความเชื่อถือของกิจการบริการรับส่งเอกสาร
กิจการของจำเลยในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษจะดำเนินการอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการของจำเลยที่จะต้องจัดการนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ปรากฏว่าเอกสารของลูกค้าจำเลยส่งมาถึงจำเลยตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม2538 พนักงานแยกเอกสารได้นำเอกสารดังกล่าวไปใส่ในช่องเอกสารของโจทก์แล้ว แต่โจทก์ละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลย จนเป็นเหตุให้ลูกค้าต้องโทรศัพท์ทวงถามเอกสารจากจำเลยในวันที่ 29 กรกฎาคม 2538 จึงได้มีการตรวจค้นพบเอกสารอยู่ในกระเป๋าใส่เอกสารประจำตัวของโจทก์ซึ่งทิ้งไว้ที่บริษัทจำเลย พฤติการณ์การกระทำของโจทก์ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยเป็นอย่างยิ่ง ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 70 ข้อ 96 และข้อ 99.4 กรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเลยหน้าที่ของพนักงานส่งเอกสารกระทบความเชื่อถือของบริษัท จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การดำเนินกิจการของจำเลยในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการที่ต้องนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่มีหน้าที่ดังกล่าวละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลยย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละเลยหน้าที่จนกระทบความเชื่อถือของกิจการส่งเอกสาร ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง
กิจการของจำเลยในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษจะดำเนินการอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการของจำเลยที่จะต้องจัดการนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องปรากฏว่าเอกสารของลูกค้าจำเลยส่งมาถึงจำเลยตั้งแต่วันที่25กรกฎาคม2538พนักงานแยกเอกสารได้นำเอกสารดังกล่าวไปใส่ในช่องเอกสารของโจทก์แล้วแต่โจทก์ละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลยจนเป็นเหตุให้ลูกค้าต้องโทรศัพท์ทวงถามเอกสารจากจำเลยในวันที่29กรกฎาคม2538จึงได้มีการตรวจค้นพบเอกสารอยู่ในกระเป๋าใส่เอกสารประจำตัวของโจทก์ซึ่งทิ้งไว้ที่บริษัทจำเลยพฤติการณ์การกระทำของโจทก์ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยเป็นอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ70ข้อ96และข้อ99.6กรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี และสิทธิครอบครองที่ดิน การพิจารณาหลักฐานและเหตุผลความเชื่อถือของจำเลย
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้สองวันคือวันที่ 6 และ 20 กันยายน 2528 ดังนั้น ในสมุดนัดความของทนายจำเลยจึงควรจะมีการลงนัดความคดีนี้ไว้ด้วยทั้งสองวันตั้งแต่ในวันชี้สองสถานแล้ว และเมื่อถึงกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6 กันยายน 2528 เมื่อมีการเลื่อนการสืบพยานไปวันที่ 20 กันยายน 2528 และวันที่16 ตุลาคม 2528 หากทนายจำเลยเข้าใจว่ามีการยกเลิกการนัดสืบพยานในวันที่ 20 กันยายน 2528 ตามที่อ้างจริงก็น่าจะต้องมีหมายเหตุการยกเลิกไว้ในสมุดนัดความนี้แต่ปรากฏว่าในภาพถ่ายสมุดนัดความของทนายจำเลยไม่มีการลงนัดความคดีนี้ไว้ในวันดังกล่าวเลย คงลงนัดคดีของศาลอื่น ไว้เท่านั้น ที่ทนายจำเลยอ้างว่าที่ขาดนัดพิจารณาเพราะเข้าใจ ว่ายกเลิกวันนัดแล้วจึงขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อ เหตุที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นกล่าวอ้างยังไม่เพียงพอฟังว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้หมายเรียก ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม หลังจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและมีการสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรจะให้เรียก ว.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ กรณีผู้เสียหายเชื่อถือถูกหลอกให้ร่วมทำธนบัตรปลอม
การที่ผู้เสียหายเอาเงินออกมาเพื่อร่วมทำธนบัตรปลอมด้วยความเชื่อตามที่จำเลยกับพวกหลอกลวง โดยผู้เสียหายยังครอบครองยึดถือธนบัตรเหล่านั้นอยู่ แล้วจำเลยกับพวกได้ใช้อุบายเอาธนบัตรเหล่านั้นของผู้เสียหายไป โดยผู้เสียหายมิได้ส่งมอบให้นั้นเป็นการกระทำผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบอกเล่าผู้ตายก่อนเสียชีวิตเป็นพยานหลักฐานสำคัญ ระบุตัวผู้กระทำผิดได้ เชื่อถือได้หากปราศจากความสับสน
ในกรณีที่ผู้ตายคิดว่าตนจะไม่ตาย ได้บอกกำนันระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ยิงตน โดยไม่ปรากฏว่า ขณะนั้นผู้ตายมีสติฟั่นเฟือนเพราะความเจ็บปวด หรือสำคัญผิดในตัวคนร้ายหรือคาดคะเนคนร้ายโดยพลการแต่ประการใด คำบอกเล่าเช่นนี้รับฟังได้ในฐานะที่เป็นคำระบุบอกกล่าวในเวลาใกล้ชิดกับเหตุอันไม่มีโอกาสที่ผู้บอกกล่าวจะคิดใส่ความได้ทันเป็นพฤติการณ์ประกอบพยานหลักฐานโจทก์อันนำไปสู่การติดตามรู้ถึงตัวผู้กระทำผิด และได้พยานหลักฐานอื่นในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารโดยอาศัยความเชื่อถือของผู้เสียหาย และความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา
ก่อนจำเลยจะรดน้ำมนต์ให้ผู้เสียหายไม่ได้บอกว่าจะต้องถูกเนื้อตัวผู้เสียหายด้วย เมื่อจำเลยลูบไล้ใบหน้าและหน้าอก ผู้เสียหายจึงถามจำเลยว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้ยินยอมให้จำเลยกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยอาศัยความเป็นพระภิกษุที่ผู้เสียหายให้ความนับถือและกระทำเพียงครั้งเดียวในลักษณะฉวยโอกาส ในขณะที่ผู้เสียหายไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อนจึงไม่อาจปกป้องตัวเองได้ทัน การกระทำในลักษณะฉวยโอกาสดังกล่าวย่อมทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 278