คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเป็นหุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นส่วนและผลกระทบต่อความเป็นหุ้นส่วน รวมถึงขอบเขตคำขอในฟ้อง
เมื่อหุ้นส่วนบางคนตายผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ได้รับโอนหุ้นและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นใหม่รับโอนหุ้นสืบต่อๆ กันมาโดยความยินยอมจนถึงโจทก์จำเลยดังนี้ หุ้นส่วนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้เลิกจากกัน
โจทก์บรรยายในฟ้องว่า เมื่อทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนแล้วหุ้นส่วนได้สร้างโรงมหรสพขึ้นบนที่พิพาทและได้ประกอบกิจการมหรสพติดต่อตลอดมาจนบัดนี้ และในคำขอท้ายฟ้องเขียนว่า ที่พิพาทดังกล่าวในฟ้องเป็นของหุ้นส่วน มิใช่ของจำเลยผู้เดียว ดังนี้คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงโรงมหรสพดังกล่าวในฟ้องด้วยที่ศาลพิพากษารวมถึงโรงมหรสพด้วยจึงไม่ใช่พิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงในคดีเลิกหุ้นส่วน: ประเด็นความเป็นหุ้นส่วนมิใช่เรื่องทุนทรัพย์
คดีที่โจทก์ฟ้องขอเลิกหุ้นส่วนนั้น แม้จำเลยจะต่อสู้ว่าโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนด้วยจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวก็ตาม ประเด็นก็คงมีต้องวินิจฉัยเพียงว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนด้วยหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สินอยู่ในกิจการหุ้นส่วนนั้นเท่าใด จึงเรียกว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้ และเป็นคดีตกอยู่ในอำนาจศาลแขวงรับไว้พิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเลิกหุ้นส่วน: ศาลพิจารณาเฉพาะความเป็นหุ้นส่วน ไม่จำกัดมูลค่าทรัพย์สิน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอเลิกหุ้นส่วนนั้น แม้จำเลยจะต่อสู้ว่าโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนด้วย จำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวก็ตาม ประเด็นก็คงมีต้องวินิจฉัยเพียงว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนด้วยหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์หรือทรัพย์สินอยู่ในกิจการหุ้นส่วนนั้นเท่าใดจึงจะเรียกว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้ และเป็นคดีตกอยู่ในอำนาจศาลแขวงรับไว้พิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6068/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นหุ้นส่วนจำกัด การแบ่งปันกำไร และการเลิกห้างหุ้นส่วน
พฤติการณ์ที่โจทก์ จำเลยที่ 2 และ พ. ร่วมกันยื่นคำร้องขอจดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ถือว่าบุคคลดังกล่าวยอมผูกพันกันตามกฎหมายเพื่อทำกิจการร่วมกันด้วยจะประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 แล้ว ต่างจากที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนโดยไม่จดทะเบียนซึ่งต้องพิจารณาด้วยว่าการตกลงนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือไม่
การแบ่งเงินปันผลกำไรให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1084 ส่วนจะมีการแบ่งกันเมื่อใด อย่างไร ย่อมเป็นไปตามสัญญาห้างหุ้นส่วน หากสัญญาห้างหุ้นส่วนไม่กำหนดไว้ก็ย่อมเป็นไปตามที่หุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจเห็นสมควร และถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไม่ได้ในเรื่องการจ่ายเงินปันผลและมีเหตุให้เลิกห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีต่อไป
เงินส่วนกำไรของห้างหุ้นส่วนจะยังไม่เป็นเงินปันผลจนกว่าจะมีการตกลงให้จ่ายเงินกำไรนั้นเป็นเงินปันผล