คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเสียหายโดยตรง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นโจทก์อาญา: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด
หนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกปลอมขึ้นไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวผู้ร้องเลย ทั้งการที่จำเลยกับพวกนำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดิน เพื่อแสดงว่า ฉ. ได้มอบอำนาจให้ พ. ซื้อและขายที่ดิน ก็ไม่เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สินของผู้ร้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารสิทธิปลอม จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระซื้อและขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับผู้ขายหรือผู้ซื้อ ที่ดินจึงมิใช่สินสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. ผู้ร้องจึงไม่เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในความผิดแจ้งความเท็จ โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
จำเลยที่ 3 แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนจำเลยที่ 4 ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประสงค์ให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ข้อความเท็จนั้นจะครบองค์ประกอบเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่กระทบกระเทือนถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
การที่จำเลยที่ 3 นำหนักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปเป็นหลักฐานยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายจากโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำที่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์ยังไม่ได้จ่ายค่าเสียหายให้จำเลยที่ 3 เพราะโจทก์ทราบมาก่อนฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 3 แจ้งความเท็จ ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 3 ในส่วนหลังเกิดขึ้นหลังจากการกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจได้จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้ว เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ ดังนั้น จะนำเอาการกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายส่วนนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายสำหรับความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 และฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้ฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบกับมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้องศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการละเมิด: ศาลใช้ดุลพินิจชดเชยตามความร้ายแรงและค่าเสียหายโดยตรง ไม่ใช่การคาดการณ์อนาคต
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคแรก แสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดว่าศาลย่อมมีดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดจนพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงแห่งการกระทำของจำเลยประกอบด้วย แม้ ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสองนั้นเองได้ระบุถึงค่าเสียหายว่าได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเป็นสำคัญก็ตาม แต่ศาลก็จำต้องดูพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดเป็นหลักในการคำนวณตามวรรคแรกอยู่ด้วย โดยเฉพาะต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานอาณาบาลมีหน้าที่ว่าคดีให้แก่โจทก์ โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นทนายความฟ้องขับไล่ ป. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ได้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในราชการตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่องขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำในบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ย พ.ศ. 2467 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง จำเลยมีหน้าที่ต้องรายงานผลแห่งคดี และเสนอความเห็นไปยังโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้รายงานและเสนอความเห็นไปยังโจทก์ และมิได้ยื่นอุทธรณ์เป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ป. จึงนำเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 3 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ที่โจทก์อ้างว่าการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นผลทำให้โจทก์ต้องสูญเสียที่ดิน เพราะหากโจทก์อุทธรณ์ฎีกาให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีให้ถึงที่สุดแล้ว คดีของโจทก์มีทางชนะอย่างยิ่ง เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ ตามพฤติการณ์แห่งคดีราคาที่ดินที่โจทก์อ้างว่าต้องสูญเสียไปจึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงซึ่งเกิดจากการที่จำเลยกระทำละเมิด ความเสียหายของโจทก์เป็นการสูญเสียสิทธิและโอกาสในการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิด: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเสียหายโดยตรงและพฤติการณ์แห่งละเมิด
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคสองได้ระบุถึงค่าเสียหายว่าได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเป็นสำคัญก็ตาม แต่ศาลก็จำต้องดูพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดเป็นหลักในการคำนวณตามวรรคแรกอยู่ด้วย โดยเฉพาะต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานอาณาบาลมีหน้าที่ว่าคดีให้แก่โจทก์ โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นทนายความฟ้องขับไล่ป. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ได้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในราชการตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำในบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ยพ.ศ. 2467 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง จำเลยมีหน้าที่ต้องรายงานผลแห่งคดี และเสนอความเห็นไปยังโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แต่จำเลยมิได้รายงานและเสนอความเห็นไปยังโจทก์ และมิได้ยื่นอุทธรณ์เป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ป. จึงนำเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 3 แปลง ความเสียหายของโจทก์เป็นการสูญเสียสิทธิและโอกาสในการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ที่โจทก์อ้างว่าการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นผลทำให้โจทก์ต้องสูญเสียที่ดิน เพราะหากโจทก์อุทธรณ์ฎีกาให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีให้ถึงที่สุดแล้ว คดีของโจทก์มีทางชนะอย่างยิ่งนั้น เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ ราคาของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าต้องสูญเสียไปจึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่ จำเลยกระทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องระงับโครงการและเพิกถอนมติ คณะรัฐมนตรี จำเป็นต้องแสดงเหตุผลความเชื่อมโยงระหว่างมติกับการได้รับความเสียหายโดยตรง
การที่โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องขอให้ระงับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่นและขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติการก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยที่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่า หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะมีผลถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีจะไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการดังกล่าว จึงยังไม่อาจถือได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบ ทั้งตามฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ทั้งสิบหกได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอันเนื่องมาจากความบกพร่องของผู้ก่อสร้างที่ไม่ป้องกันมลพิษ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ผลโดยตรงจากมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ทั้งสิบหกย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9820/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเช่ากรณีเวนคืน: ความเสียหายโดยตรงจากการขาดประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินที่เช่า
เงินค่าทดแทนในการเช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนอันเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องออกจาก ทรัพย์สินก่อนสัญญาเช่าระงับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18 (3) เป็นเงินค่าทดแทนความเสียหายที่ผู้เช่าต้องขาดประโยชน์แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาก่อนสัญญาเช่าระงับ กรณีเช่นนี้ความเสียหายจริงต้องเป็นความเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการขาดประโยชน์ แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดระยะเวลาก่อนสัญญาเช่าระงับเท่านั้น ค่าเช่าที่โจทก์อ้างว่าจะต้องไปเช่าที่อยู่ใหม่ที่ต้องเสียค่าเช่าสูงกว่าค่าเช่าเดิมเป็นเวลา 21 ปี มิใช่ความเสียหายโดยตรงจากการเสียประโยชน์จากการที่ไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่า ไม่เข้ากรณีที่จะเรียกเงินค่าทดแทนการเช่าตามมาตรา 18 (3) ได้ แต่การที่โจทก์ขาดประโยชน์เพราะไม่ได้ใช้ตึกแถวที่เช่าประมาณ 21 ปีนั้น เป็นความเสียหายจริงตามมาตรา 18 (3) โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในการเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาเฉพาะความเสียหายโดยตรงที่ประเมินเป็นเงินได้
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตามแต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: การประเมินความเสียหายโดยตรงและผลกระทบต่อรายได้จากการทำเกษตร
ก่อนทำสัญญาจะขายที่ดินให้จำเลยทั้งห้าโจทก์ที่1มีรายได้จากการเลี้ยงสุกรและกรีดยางเมื่อโจทก์ที่1ขายที่ดินให้จำเลยทั้งห้าโจทก์ที่1ต้องหยุดกิจการเลี้ยงสุกรและกรีดยางลงฉะนั้นเมื่อจำเลยทั้งห้าผิดสัญญาไม่ซื้อที่ดินความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการไม่ได้เลี้ยงสุกรและการกรีดยางจึงเป็นความเสียหายโดยตรงจากการผิดสัญญาของจำเลยทั้งห้าการที่โจทก์ที่1ไม่หวนกลับไปเลี้ยงสุกรอีกไม่ทำให้ความเสียหายที่โจทก์ที่1มีอยู่แล้วหมดสิ้นไปแต่อย่างใดและการที่โจทก์ที่1ยกรายได้จากการกรีดยางให้มารดาก็เป็นเรื่องที่โจทก์ที่1มีรายได้แล้วยกให้มารดาเมื่อโจทก์ที่1ไม่มียางให้กรีดโจทก์ที่1ย่อมเสียหายจากการขาดรายได้จำนวนนี้จำเลยทั้งห้าจะโต้แย้งว่าโจทก์ที่1ไม่ได้รับความเสียหายจากการขาดรายได้ของมารดาโจทก์ที่1หาได้ไม่ การปรับปรุงที่ดินของจำเลยทั้งห้าภายหลังทำสัญญาก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยทั้งห้าเองจำเลยทั้งห้าจะนำเรื่องประโยชน์จากการที่จำเลยทั้งห้าเข้าปรับปรุงที่ดินมาคำนวณเพื่อลดค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและฎีกา: ผู้เสียหายที่ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงและกรรมการที่พ้นจากอำนาจ
โจทก์ที่2ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันลักหรือใช้จ้างวานผู้อื่นลักเอาต้นฉบับเอกสารใบตราส่งของโจทก์ที่1ซึ่งโจทก์ที่2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนแล้วจำเลยที่1ปลอมลายมือชื่อและประทับตราปลอมของโจทก์ที่1บนใบตราส่งดังกล่าวเพื่อขอรับหนังสือใบสั่งให้ส่งมอบสินค้าปลอมหนังสือคำร้องขอแก้ไขบัญชีสินค้าหนังสือโอนกรรมสิทธิ์สินค้าบัญชีราคาสินค้าบัญชีแจ้งรายการบรรจุหีบห่อแล้วใช้เอกสารปลอมดังกล่าวยื่นต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเพื่อให้หลงเชื่อว่าโจทก์ที่1ขอให้แก้ใบตราส่งจากโจทก์ที่1มาเป็นจำเลยที่1เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองฟังได้ว่าโจทก์ที่1ผู้รับสินค้าตามใบตราส่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจึงเป็นผู้เสียหายส่วนโจทก์ที่2ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ที่1มิได้รับความเสียหายเป็นพิเศษอย่างใดไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องและเมื่อมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการโดยโจทก์ที่2ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ที่1ต่อไปโจทก์ที่2จึงไม่มีอำนาจฎีกาแทนโจทก์ที่1ส่วน ศ. และ ค. นั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ที่1ถอนจากการเป็นทนายความได้ย่อมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฎีกาในคดีได้
of 5