คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเสี่ยง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อและเจตนาของผู้ให้เช่าซื้อในการรับความเสี่ยงจากผู้เช่าซื้อ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สิน
สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 ระบุว่า "ทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหาย สูญหาย หรือถูกอายัด ถูกยึด ถูกริบ ไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใดๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดแต่ฝ่ายเดียวและจะแจ้งให้เจ้าของทราบทันที ยอมติดตามฟ้องร้องเอาคืน ยอมซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิม และยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ หากเจ้าของได้จ่ายเงินไปเพื่อการดังกล่าว ผู้เช่าซื้อยินยอมชดใช้ให้ทั้งสิ้น" ข้อสัญญาดังกล่าวแสดงวัตถุประสงค์อยู่ในตัวว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อต้องการราคาเช่าซื้อเป็นสำคัญ โดยผู้เช่าซื้อจะนำทรัพย์ที่เช่าซื้อไปใช้อย่างไรก็ได้ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมีข้อกำหนดดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมิได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย ทั้งได้ความว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ ย. ผู้เช่าซื้อไปติดต่อรับรถจักรยานยนต์ของกลางที่ถูกยึดไว้คืนจากพนักงานสอบสวน บ่งชี้ว่าผู้ร้องทราบแล้วว่าจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาริบรถจักรยานยนต์ของกลางแล้ว ผู้ร้องก็มิได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้เช่าซื้อ แต่ยังคงรับค่าเช่าซื้ออีก 2 งวด จนกระทั่งผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่างวดอีกงวดหนึ่งจึงบอกเลิกสัญญา สาเหตุที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาจึงหาใช่เกิดจากการที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปกระทำความผิดไม่ พฤติการณ์ของผู้ร้องที่มาขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อ เข้าลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากตำแหน่งงานที่เปลี่ยนแปลง แม้เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันยังคงรับผิด
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนสัญญาจ้างแรงงาน แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันได้ยอมรับผิดโดยไม่ได้จำกัดว่าจำเลยที่ 1 จะได้ทำงานในตำแหน่งใด และโดยปกติในการทำงานลูกจ้างย่อมมีโอกาสก้าวหน้าเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกัน อีกทั้งสัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ มิได้มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยช่างเทคนิคและจำเลยที่ 2 จะรับผิดชอบขณะที่จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้น แม้ต่อมาตำแหน่งของจำเลยที่ 1 จะเปลี่ยนเป็นพนักงานขายซึ่งอาจมีผลเป็นการเพิ่มภาระการเสี่ยงภัยให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันมีต่อโจทก์ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12115-12180/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: งานใช้สารเคมีอันตรายต้องมีความเสี่ยงสูงและสัมผัสสารเคมีจริง จึงจะเข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2ฯ โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 6 และ 23 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ซึ่งทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างไม่ให้ทำงานเช่นว่านั้นเป็นระยะเวลานานเกินสมควร การกำหนดให้งานผลิตสารเคมีอันตรายเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวงดังกล่าว ก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีไม่ให้ได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีเป็นระยะเวลานานเกินสมควร งานผลิตสารเคมีอันตรายจึงหมายความรวมถึงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย แต่ทั้งนี้โดยสภาพของงานต้องมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ใช้บังคับ จึงต้องใช้ประกาศกระทรางมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ซึ่งออกโดยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 166
จำเลยให้โจทก์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบแต่การผลิตเป็นระบบปิด โจทก์ไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีอันตรายเป็นเวลานาน จึงมิใช่กรณีที่โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง ทั้งการตรวจวัดภาวะแวดล้อมในการทำงานก็ปรากฏว่าเสียง แสงสว่าง ความร้อน ปริมาณความเข้มของฝุ่นปนเปื้อนและสารเคมีในสถานประกอบกิจการของจำเลยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรางมหาดไทยดังกล่าว และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว งานที่โจทก์ทำจึงมิใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 23 โจทก์ทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12115-12180/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: งานผลิตสารเคมีอันตรายต้องมีความเสี่ยงสูงและสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานาน จึงจะเข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 6 และ 23 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างซึ่งทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างไม่ให้ทำงานเช่นว่านั้นเป็นระยะเวลานานเกินสมควร การกำหนดให้งานผลิตสารเคมีอันตรายเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวงดังกล่าวก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีไม่ให้ได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีเป็นระยะเวลานานเกินสมควร งานผลิตสารเคมีอันตรายจึงหมายความรวมถึงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย แต่ทั้งนี้โดยสภาพของงานต้องมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ใช้บังคับ จึงต้องใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ซึ่งออกโดยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166
จำเลยให้โจทก์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบ แต่การผลิตเป็นระบบปิด โจทก์ไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีอันตรายเป็นเวลานาน จึงมิใช่กรณีที่โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง ทั้งการตรวจวัดภาวะแวดล้อมในการทำงานก็ปรากฏว่าเสียง แสงสว่าง ความร้อน ปริมาณความเข้มของฝุ่นปนเปื้อนและสารเคมีในสถานประกอบกิจการของจำเลยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว งานที่โจทก์ทำจึงมิใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 โจทก์ทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8957/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าเสียหาย/สูญหาย และการประเมินความเสี่ยงในการขับขี่ยานพาหนะบรรทุก
รถบรรทุกลากจูงรวมกับน้ำหนักของรถพ่วงและน้ำหนักของสินค้ารวมทั้งหีบห่อแล้วมีน้ำหนักมาก ประกอบกับความยาวของรถบรรทุกลากจูงเมื่อรวมกับความยาวของรถพ่วงแล้ว ย่อมมีความยาวมากกว่ารถยนต์บรรทุกทั่ว ๆ ไป ทำให้ยากแก่การบังคับและควบคุมรถ การห้ามล้อเพื่อจะหยุดรถต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ และต้องใช้ระยะทางห้ามล้อยาวกว่าปกติ แต่ อ. ยังขับรถบรรทุกลากจูงคันดังกล่าวด้วยความเร็วประมาณ 50 ถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งที่ถนนบริเวณดังกล่าวเป็นทางโค้ง ย่อมทำให้เกิดแรงเหวี่ยงที่ส่วนท้ายบริเวณรถพ่วง ทำให้ยากแก่การควบคุมรถและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นข้างหน้า และไม่สามารถจะห้ามล้อหยุดรถบรรทุก ลากจูงได้ทันจนเกิดเหตุขึ้น เหตุที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย
ตามสำเนาใบรับสินค้าของจำเลยผู้ขนส่งมีข้อความซึ่งมีลักษณะคล้ายใช้ตรายางประทับว่า สินค้าเสียหายหรือสูญหายให้แจ้งภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับสินค้า การชดใช้ค่าเสียหาย สูญหายตามความเป็นจริง แต่ต้องไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท เอกสารนี้มีแต่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้แต่ฝ่ายเดียว โดยมิได้ให้บริษัท ซ. ผู้ส่ง ลงลายมือชื่อไว้ด้วย จะถือว่าผู้ส่งตกลงยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยโดยชัดแจ้งแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9028/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่ออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
นอกจากตัวโจทก์จะมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 150,000 บาท ตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังมีหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้มาแสดง มีเหตุให้น่าเชื่อในเบื้องต้นว่า ฟ้องของโจทก์มีมูลความจริง แม้โจทก์จะไม่มีพยานมาเบิกความให้ได้ความโดยแจ้งชัดว่าจำเลยยังมีเจ้าหนี้รายอื่นหรือจำเลยตั้งใจจะโอน ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของตนเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยักย้ายไปให้พ้นจากอำนาจศาล แต่โจทก์ก็มีผู้ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันกับจำเลยมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยและสามีได้ลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้วโดยจำเลยจะได้เงินทดแทนต่าง ๆ หลังจากลาออกประมาณ 2 เดือน ซึ่งโจทก์นำสืบว่าจำเลยจะได้รับประมาณ 500,000 บาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่น เมื่อเงินที่จำเลยจะได้รับเป็นทรัพย์ที่จำเลยสามารถปกปิดซ่อนเร้นหรือยักย้ายถ่ายเทได้โดยง่าย การที่จำเลยและสามีลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ย่อมทำให้จำเลยไม่มีอาชีพการงานที่แน่นอนมั่นคง หากจำเลยคิดบิดพลิ้วหรือหลีกเลี่ยงย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามบังคับหากโจทก์ชนะคดีในภายหลัง และกรณีไม่อาจรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยยังมีทรัพย์อื่นอีก ดังนี้ เพื่อความยุติธรรม กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินจำนวนที่จำเลยจะได้รับดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255(2)(ข)
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวซึ่งตามมาตรา 21(3) ยกเว้นให้ศาลไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนเฉพาะพยานหลักฐานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โจทก์ขอให้อายัดเงินทั้งหมดที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับ 500,000 บาทเศษ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้เพียง 250,000 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจึงเหมาะสมแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นให้มีหมายถึงผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อจัดการส่งเงินที่อายัดไปให้ศาลชั้นต้นโดยที่โจทก์ไม่ได้ขอนั้นก็เป็นการสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการอายัดเงินว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้ส่งมาที่ศาลหาได้เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชื่อทางการค้า: ต้องพิสูจน์ความเสียหายหรือความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน
บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้าซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามหรือ ชื่อทางการค้าเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ จะต้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามมิให้ใช้นามหรือชื่อทางการค้านั้นได้ต่อเมื่อ การใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วยและผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายดังกล่าว โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมและโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ากิจการบริการของจำเลยที่ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ไม่ได้มาตรฐานและทำให้สาธารณชนเสื่อมศรัทธาในกิจการของโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหายและมีรายได้ลดลงหรือไม่อย่างไร แม้การใช้ชื่อการค้าคำว่า REGENTในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยอาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่า กิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ต้องเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยมิให้ใช้ชื่อทางการค้า คำว่า REGENT ในการประกอบกิจการสถานที่พักตากอากาศของจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถไฟ ศาลลดค่าเสียหายจากความเสี่ยงที่ผู้โดยสารนั่งในที่อันตราย
จำเลยขับรถยนต์เก๋งโดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟในขณะที่มีรถไฟแล่นผ่านจึงถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เก๋งเสียหายเล็กน้อย แต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้รถไฟถูกรถยนต์เก๋งของจำเลยชนได้รับอันตรายสาหัสถึงกับขาหักทั้งสองข้างดังนี้ แม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟดังกล่าวจะมีผู้โดยสารแน่นจนไม่มีที่นั่ง โจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูขึ้นลงของตู้ขนสัมภาระก็ตามก็ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จึงควรลดค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาลงบ้าง แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยซึ่งจะทำให้เสียค่าเสียหายเป็นพับดังที่จำเลยฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้เปลี่ยนตำแหน่งงานและเพิ่มความเสี่ยง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ -จ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่ แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ - จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหน้าที่การงาน ตำแหน่งใหม่เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับจ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ-จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
of 3