คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเหมาะสม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7755/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้อนุบาล: ผู้พิทักษ์เดิมเหมาะสมกว่าผู้ร้อง เหตุผลด้านการดูแลทรัพย์สินและประโยชน์ของผู้รับอนุบาล
ผู้คัดค้านปกปิดการร้องขอให้ ส. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ เพราะประสงค์จะช่วยเหลือและคุ้มครองประโยชน์ของ ส. โดยคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล นอกจากนั้นผู้คัดค้านยังเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบิดาผู้คัดค้านฟ้อง ค. และ บ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ ส. เพิกถอนการโอนที่ดินของ ป. พี่ชาย ส. ทั้งผู้คัดค้านยังได้แจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้พิทักษ์ของ ส. ให้ดำเนินคดีแก่ ค. ในข้อหายักยอกทรัพย์ของ ส. การที่ผู้คัดค้านแจ้งความดำเนินคดีก็ดี การฟ้องคดีก็ดี ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้กระทำในฐานะส่วนตัว จึงไม่ใช่เรื่องที่ผู้คัดค้านมีคดีในศาลกับพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ส. และมิใช่ผู้ที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างที่ล่าช้า ศาลพิจารณาความเหมาะสมของการบอกเลิกสัญญาและปรับลดค่าปรับ
จำเลยรับจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยส่งมอบงานงวดที่ 6 ล่าช้า โจทก์แจ้งสงวนสิทธิขอปรับตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง จำเลยไม่ยินยอม คู่สัญญาจึงทำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา โดยอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ขยายเวลาปฏิบัติตามสัญญาออกไปอีก 120 วัน นับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุด จำเลยมิได้ทำงานงวดที่ 7 ถึงที่ 10 โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยขอคิดค่าปรับจากจำเลยในช่วงเวลาที่ผิดสัญญา แต่แม้ตามสัญญาจะมีการกำหนดให้คิดเบี้ยปรับไว้ แต่เบี้ยปรับดังกล่าวก็เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอาจจะสูงหรือต่ำกว่าค่าเสียหายแท้จริงก็ได้ ซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ที่ให้ศาลพิจารณาลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนลงเป็นจำนวนที่พอสมควรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่เหมาะสมโดยมิได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยในเวลาอันสมควร การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้เอาวันหลังจากอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยและจำเลยทำหนังสือข้อตกลงขยายระยะเวลาปฏิบัติงานตามสัญญา 1 เดือนเศษ โดยการขยายระยะเวลาดังกล่าวไม่มีผลให้ปฏิบัติได้จริง เพราะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว คงมีผลเพียงเพื่อลดวันที่จำเลยจะต้องชำระค่าปรับและจำเลยไม่อาจดำเนินการตามสัญญาต่อไปได้อีก เป็นวันเลิกสัญญา เป็นการใช้ดุลพินิจที่ถูกต้องเป็นธรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7916/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, การลดเบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการปรับปรุงเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
การที่ธนาคารโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทให้โจทก์เป็นฝ่ายมีสิทธิเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนอัตราใดอัตราหนึ่งในระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้า หรืออัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ หรืออัตราแลกเปลี่ยนในวันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีท เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อทำให้โจทก์ไม่ต้องรับภาระในความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเท่านั้น หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทในวันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายในต่างประเทศตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวนั้นได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้าหรือแม้จะมิได้นำสินค้าออกขายก็ดี จำเลยที่ 1 จะต้องนำเงินมาชำระค่าสินค้าในจำนวนและในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายแก่โจทก์ ตลอดจนยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ระบุตัวเลขอัตราดอกเบี้ย) นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ข้อความตามสัญญาข้อ 4 นี้ มีลักษณะกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ระบุในรายละเอียดแนบท้ายสัญญาทรัสต์รีซีท และให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามรายละเอียดแนบท้ายสัญญาดังกล่าว ย่อมไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็มีสัญญาข้อ 7 ระบุถึงการชำระดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดไว้อีกข้อหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 เป็นข้อสัญญาที่ระบุถึงการคิดดอกเบี้ยในช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ในการเรียกดอกเบี้ยนี้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดที่ต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 44 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว มาตรา 14 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี และส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกเข้ากับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีนั้น และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนด เว้นแต่ในกรณีลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้น โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดสูงสุดได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดหรืออัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์เท่านั้น แต่ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย โดยระบุอัตราดอกเบี้ยในขณะทำสัญญาทรัสต์รีซีทเท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาตามที่ระบุไว้ในประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ตามประกาศธนาคารโจทก์ดังกล่าว สัญญาทรัสต์รีซีทจึงมีการระบุอัตราดอกเบี้ยในลักษณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สิทธิแก่โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ก่อนเวลาผิดนัดเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ อันเป็นการทำสัญญาฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด และเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คดีนี้นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตประกอบกับสัญญาทรัสต์รีซีทแล้ว โจทก์ยังฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้ไว้แก่โจทก์ เพื่อชำระหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัสต์รีซีทดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าตั๋วสัญญาใช้เงินตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 ไป อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนั้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปตามประกาศธนาคารโจทก์ จึงเป็นอัตราที่โจทก์มีสิทธิคิดได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ ดังนั้น แม้ข้อตกลงตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 จะตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยมาข้างต้น แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ และที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้สินในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน จำเลยที่ 1 ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์ประกาศกำหนดไว้สำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระหนี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญาในแต่ละช่วงเวลา แต่อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้น เงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมจึงถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการ: ศาลยืนตามแผนเดิม แม้ผู้บริหารแผนเคยเป็นกรรมการบริษัทลูกหนี้
ในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/57 ระบุให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้บังคับให้ต้องทำการไต่สวนคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้เสมอไป ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเป็นเรื่อง ๆ ไปฉะนั้น เมื่อศาลได้พิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ คำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ทำแผน รวมทั้งข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ซึ่งมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดชัดเจนเพียงพอแก่การพิจารณาแล้ว ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งงดการไต่สวนได้
ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเน้นการถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการจำหน่ายที่มีพื้นฐานในการประกอบธุรกิจที่ดีและให้ผลตอบแทนสูง โดยลูกหนี้เข้าถือหุ้นในบริษัทหลายรายซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการแบ่งเจ้าหนี้ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เจ้าหนี้มีประกันรายใหญ่ เจ้าหนี้มีประกันรายย่อย เจ้าหนี้ไม่มีประกันในฐานะเจ้าหนี้ทางการเงินและเจ้าหนี้ไม่มีประกันในฐานะเจ้าหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งก็คือ ช. โดยแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดวิธีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งสี่กลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น แม้ ช. จะมีฐานะเป็นกรรมการลูกหนี้และมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ด้วยก็ตาม แต่ ช. ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงหรือโดยอ้อม นอกจากประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะควรได้รับในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ช. จึงชอบที่จะออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 34 วรรคสาม ประกอบมาตรา 90/2 วรรคสอง
การออกหุ้นกู้ไม่มีประกันของลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นการทำนิติกรรมกู้ยืมระยะยาวซึ่งมีหุ้นกู้เป็นตราสารที่ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันว่าจะได้รับชำระเงินกู้คืนตามราคาเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้เมื่อครบกำหนดอันเป็นการทำสัญญากู้ยืมใหม่เปลี่ยนแปลงมูลหนี้เดิมระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสองส่วนหุ้นของบริษัทอื่นที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ลูกหนี้โอนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้นั้นหุ้นย่อมมีมูลค่าในการชำระหนี้ตามราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดหากหุ้นดังกล่าวมีราคา ณ วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการอันจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้ค้ำประกันก็ยังคงผูกพันรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดไปนั้นแก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นต้องคำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทางและที่ดินรอบข้าง
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาคงวินิจฉัยเพียงว่า เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้วโจทก์มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้ โดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 หมายความว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทได้แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของบทกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งตามวรรคสามของมาตรา 1349 ที่บัญญัติว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้ พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยสุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ด้วย"
ทางพิพาทเป็นถนนในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลย กว้าง 6 เมตร พื้นถนนรับน้ำหนักได้สำหรับรถส่วนบุคคลหรือรถปิกอัพน้ำหนักไม่เกิน 10 ตัน น้ำหนักที่บรรทุก 10 ตัน ใช้ได้เฉพาะรถบรรทุกหกล้อ ไม่สามารถให้รถบรรทุกสิบล้อซึ่งจะบรรทุกน้ำหนักประมาณ 20 ตัน ขึ้นไปผ่านได้ หากให้รถบรรทุกสิบล้อผ่านจะเกิดความเสียหายแก่พื้นถนนและรั้วบริเวณที่รถผ่านจะแตกร้าวได้ ทั้งจะทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลยถูกรบกวนการอยู่อาศัยตามปกติ จำเลยจึงสร้างคานเหล็กซึ่งมีความสูงจากพื้นผิวถนน 2.50 เมตร ปิดกั้นทางพิพาทมิให้รถบรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออกในหมู่บ้านจัดสรรของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางพิพาทโดยไม่ให้เกิดความเสียหายหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางพิพาทน้อยที่สุดได้ โดยใช้รถบรรทุกหกล้อบรรทุกดินผ่านเข้าออกทางพิพาทเพื่อให้เหมาะสมแก่ทางพิพาท ซึ่งรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่เกิน 10 ตัน ทั้งยังไม่เป็นการรบกวนการอยู่อาศัยโดยปกติของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ทางพิพาทผ่านด้วย จึงยังไม่สมควรให้จำเลยเปิดเหล็กกั้นทางพิพาทอันเป็นทางจำเป็น
เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้บังคับคดีเป็นไปตามคำร้องของโจทก์แล้ว ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์เสีย แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่ง ศาลฎีกาเห็นพ้องสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: พิจารณาความเหมาะสมของผู้เลี้ยงดู โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันและให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ยิ่งกว่าโจทก์ แม้มิได้ฟ้องแย้ง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์หลังการหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่า, ค่าชดเชยยกเลิกสัญญา, และการลดเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงินประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 379, 381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้
สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน
เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกัน แต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้าเมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหายที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดกรณีเดียว
ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัท ป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่าในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222 ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลยผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่านั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ด้วยจึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก
แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 377 เพราะมิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้ จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่า ผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้ว หลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย โจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหักออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องสอดคดีและการพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ตามคำร้องของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดอ้างว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และผู้ร้องสอด เป็นการละเมิดต่อผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยตรงจากจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์กลับนำสิทธิของผู้ร้องสอดมายื่นฟ้องต่อศาลโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ร้องสอด โดยข้ออ้างของผู้ร้องสอดนี้มีสภาพแห่งข้อหาเช่นเดียวกับคำฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองและโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องสอดถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57 (1) แห่ง ป.วิ.พ. ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แต่คดีนี้ ผู้ร้องสอดเพิ่งมายื่นคำร้องสอด เมื่อเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีเกือบ 2 ปี โดยโจทก์ได้นำพยานโจทก์เข้าเบิกความและตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้ว หากจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามา ก็จะทำให้กระบวนพิจารณาชักช้าและยุ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งสิทธิของผู้ร้องสอดมีอยู่อย่างไร ผู้ร้องสอดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องเป็นอีกคดีต่างหากได้อยู่แล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6191/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง: การโต้เถียงกับผู้บังคับบัญชาและความเหมาะสมของบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่เคยกระทำผิดที่ไหน เมื่อใด และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าวหาทั้งไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์เมื่อคำให้การจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ. บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุดและเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชี เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่า: ศาลพิจารณาความเหมาะสมจากผลประโยชน์ที่สูญเสียและผลได้ที่จำเลยได้รับ
การกำหนดวันจดทะเบียนการเช่าตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมิได้ให้อำนาจจำเลยเปลี่ยนแปลงวันจดทะเบียนการเช่าได้โดยพลการ การเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเหตุขัดข้องขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าเป็นเพียงข้อเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าออกไปเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ตอบตกลง ทั้งไม่ได้กระทำการอันใดขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ แต่ตรงกันข้ามโจทก์กลับมอบอำนาจให้ ศ. ไปจดทะเบียนการเช่าแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้เดิมอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ยอมตกลงตามข้อเสนอของจำเลย การเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าของจำเลยจึงไม่มีผล ต้องถือตามกำหนดนัดเดิม เมื่อจำเลยไม่ไปตามนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตลอดจนเรียกร้องจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าตอบแทนการเช่าที่รับไว้ทั้งหมดพร้อมค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,600,000 บาท นั้น ในส่วนค่าชดเชยความเสียหายเป็นเรื่องจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนการเช่ากับโจทก์ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลยหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่าให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน คดีนี้นอกจากค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว จำเลยเรียกค่าตอบแทนการเช่าจากโจทก์ 18,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินงวดแรกให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา 1,800,000 บาท ที่เหลือ 16,200,000 บาทจะชำระในวันจดทะเบียน หากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนการเช่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องทั้งโจทก์และจำเลยต่างกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในเบี้ยปรับที่อีกฝ่ายกำหนดไว้ด้วยแม้จำนวนเบี้ยปรับที่โจทก์จะได้รับในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจะสูงกว่าเบี้ยปรับที่จำเลยจะได้รับในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาแต่จำเลยก็ได้เปรียบโจทก์ในส่วนที่จำเลยได้เงินของโจทก์ไว้แล้วถึง 1,800,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้ทรัพย์สินของจำเลยไว้ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยเช่าที่ดินและสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 17 ปี ได้เงินค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนเป็นจำนวนสูงกว่าที่โจทก์เสนอให้ซึ่งหากทั้งโจทก์และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยไม่เห็นว่าจะมีรายได้จากสถานีบริการน้ำมันของจำเลยเป็นจำนวนสูงกว่าค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายให้จำเลย พร้อมทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราที่จะได้จากธนาคารหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้ว โจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก็คงจะไม่ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นแน่ การที่จำเลยผิดสัญญาย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ดังกล่าวไปแม้พยานโจทก์ที่กล่าวถึงจำนวนเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับหากมีการเช่าตามสัญญาเป็นเวลา 16 ปี จะเป็นไปอย่างลอย ๆ ไม่ได้แสดงหลักเกณฑ์ในการคำนวณหารายได้ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ลดจำนวนเงินเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ลงเหลือ 3,000,000 บาท อันเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
of 6