พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12479/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความตามความเห็นจากข้อเท็จจริงและผลการตรวจสอบ ไม่ถือเป็นความเท็จ
จำเลยที่ 1 เบิกความว่า ผู้ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ได้แจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่า น่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นในสหกรณ์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้เรียกประชุมคณะกรรมการและได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตเกี่ยวกับสินค้าของผู้เสียหายจริง และได้สรุปความเห็นว่าโจทก์ทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เบิกความไปตามข้อเท็จจริงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และตามผลการตรวจสอบที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้เสียหายให้ความเห็นไว้ โดยโจทก์ยอมรับว่าได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายสำหรับสินค้าของผู้เสียหายที่ขาดหายไปบางส่วนด้วย พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลทั่วไปไม่เฉพาะจำเลยที่ 1 มีความเข้าใจว่าโจทก์เป็นผู้ยักยอกสินค้าและเงินของผู้เสียหายกับปลอมเอกสารต่าง ๆ คำเบิกความของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะเป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นตามข้อเท็จจริงมิใช่เป็นกรณียืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำความผิดแต่อย่างใด ส่วนคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเพียงการแสดงความเห็นตามข้อเท็จจริงมิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำผิดเช่นกัน เพราะจำเลยที่ 2 เบิกความโดยใช้ถ้อยคำว่า จึงเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เบิกความอธิบายถึงเหตุที่เชื่อเช่นนั้นว่า เพราะเอกสารใบเบิกเงินอยู่ในความครอบครองของโจทก์โดยตลอด ซึ่งโจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารทางบัญชีต่าง ๆ ของผู้เสียหายจริง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเบิกความอันเป็นเท็จ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ความเห็นอัยการทหารเป็นที่สุดเมื่อส่งสำนวนให้ศาลพลเรือน คดีอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
แม้ในขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร แต่เมื่ออัยการทหารเห็นว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร และส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ความเห็นของอัยการทหารที่วินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นที่สุด แม้พนักงานอัยการจะมีความเห็นที่แตกต่างก็ไม่อาจส่งสำนวนการสอบสวนกลับคืนไปยังอัยการทหารอีกได้ และในกรณีเช่นนี้ ศาลพลเรือนจะปฏิเสธไม่ประทับฟ้องคดีดังกล่าวโดยเหตุว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารอีกมิได้ ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลทหาร-ศาลพลเรือน: ความเห็นอัยการทหารเป็นที่สุดเมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
แม้ในขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารแต่เมื่ออัยการทหารเห็นว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินคดี ความเห็นของอัยการทหารที่วินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นที่สุด แม้พนักงานอัยการจะมีความเห็นที่แตกต่างก็ไม่อาจส่งสำนวนการสอบสวนกลับคืนไปยังอัยการทหารอีกได้ และในกรณีเช่นนี้ศาลพลเรือนจะปฏิเสธไม่ประทับฟ้องคดีดังกล่าวโดยเหตุว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารอีกมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นผู้ชำนาญการพิเศษต้องเบิกความประกอบ หากไม่เบิกความ ความเห็นนั้นใช้ฟังไม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง เป็นบทบังคับว่าในกรณีมีการทำความเห็นเป็นหนังสือ ผู้ชำนาญการพิเศษจำต้องมาเบิกความประกอบความเห็นเป็นหนังสือนั้นด้วย ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือโดยไม่ต้องมาเบิกความประกอบ
คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง – ความเห็นทางกฎหมาย – สิทธิกระทบ – นักบวช – การเลือกตั้ง
โจทก์และจำเลยเพียงแต่มีความเห็นโต้แย้งกันเกี่ยวกับความหมายของคำว่า นักบวช ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 มาตรา 18(3) กรณีจึงเป็นเรื่องในทางความคิดเห็นอันเป็นนามธรรม ไม่มีการกระทำอันจะเป็นการกระทบต่อ สิทธิของโจทก์ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359-1360/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การวินิจฉัยศาลเป็นเพียงความเห็น ไม่ถือเป็นเท็จโดยตัวมันเอง
จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์ว่าออกเช็ค โดย เจตนามิให้มีการใช้ เงินตามเช็ค และเบิกความว่าโจทก์นำเช็ค มาขายลดกับจำเลยโดย เป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายต่อหน้าจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ โดย วินิจฉัยว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อประกันการกู้เงิน และมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ เพราะข้อวินิจฉัยของศาลเป็นเพียงการแสดงความเห็นในการชี้ขาดตัดสินคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น จะเป็นเท็จหรือไม่เป็นปัญหาที่ต้อง มีการวินิจฉัยในเนื้อแท้ของความจริงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นถึงพฤติกรรมของลูกจ้างในที่ประชุม ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทหากเป็นความเห็นได้
จำเลยกล่าวต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่า ก่อนมีการประชุมคณะกรรมการพนักงานของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยโจทก์เข้าไปพบจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา โจทก์ในขณะนั้น โจทก์ได้ต่อว่าจำเลยเรื่องการประเมินผลงานเพื่อ เลื่อนขั้นเงินเดือนมีการโต้เถียงกันและโจทก์แสดงกิริยาไม่เหมาะสม โดยยืนเท้าโต๊ะทำกิริยาเหมือนขู่ตะคอกและเหมือนกับจะทำร้ายจำเลยนั้น แม้จะรับฟังว่าจำเลยกล่าวข้อความต่อคณะกรรมการดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นแต่เพียงทำให้เห็นว่าโจทก์บันดาลโทสะที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากจำเลยในการพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือน โจทก์จึงเข้าไปต่อว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา แสดงว่าโจทก์เพียงโกรธจำเลยที่ไม่ให้ ความเป็นธรรมและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อจำเลยไปบ้าง ซึ่งบุคคลทั่วไป อาจเป็นเช่นโจทก์ได้ในภาวะเช่นนั้น หาจำเป็นต้องเป็นคนเลวร้าย แต่อย่างใดไม่ ข้อความดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกจ้างในการประเมินผลงาน ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
จำเลยกล่าวต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าก่อนมีการประชุมคณะกรรมการพนักงานของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยโจทก์เข้าไปพบจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ในขณะนั้นโจทก์ได้ต่อว่าจำเลยเรื่องการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนมีการโต้เถียงกันและโจทก์แสดงกิริยาไม่เหมาะสมโดยยืนเท้าโต๊ะทำกิริยาเหมือนขู่ตะคอกและเหมือนกับจะทำร้ายจำเลยนั้นแม้จะรับฟังว่าจำเลยกล่าวข้อความต่อคณะกรรมการดังกล่าวก็ตามก็เป็นแต่เพียงทำให้เห็นว่าโจทก์บันดาลโทสะที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากจำเลยในการพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์จึงเข้าไปต่อว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาแสดงว่าโจทก์เพียงโกรธจำเลยที่ไม่ให้ความเป็นธรรมและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อจำเลยไปบ้างซึ่งบุคคลทั่วไปอาจเป็นเช่นโจทก์ได้ในภาวะเช่นนั้นหาจำเป็นต้องเป็นคนเลวร้ายแต่อย่างใดไม่ข้อความดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นโดยสุจริตของเจ้าพนักงานตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
บรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกล่าวข้อความลงในหนังสือถึงกองทัพอากาศมีข้อความว่า โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเพราะโจทก์เป็นบุคคลมีมลทินมัวหมอง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์ซึ่งถ้อยคำ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว
ปรากฏตามฟ้องของโจทก์และหนังสือที่โจทก์ส่งศาลว่าโจทก์ขอกลับเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ กองทัพอากาศสอบถามไปยังการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยถึงเหตุที่โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานฯ จำเลยในฐานะ ผู้ว่าการการท่าอากาศยานฯ จึงมีหนังสือตอบกองทัพอากาศว่าโจทก์ถูกปลดเพราะมีมลทินมัวหมองดังนี้ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว มิใช่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ถูกปลดเพราะถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทรัพย์สินของการท่าอากาศยานฯ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้เลยโดยไม่จำต้องไต่สวน
ปรากฏตามฟ้องของโจทก์และหนังสือที่โจทก์ส่งศาลว่าโจทก์ขอกลับเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ กองทัพอากาศสอบถามไปยังการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยถึงเหตุที่โจทก์ถูกปลดจากการเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานฯ จำเลยในฐานะ ผู้ว่าการการท่าอากาศยานฯ จึงมีหนังสือตอบกองทัพอากาศว่าโจทก์ถูกปลดเพราะมีมลทินมัวหมองดังนี้ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว มิใช่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ถูกปลดเพราะถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทรัพย์สินของการท่าอากาศยานฯ การที่จำเลยมีหนังสือถึงกองทัพอากาศดังกล่าว จึงเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายในฟ้องไม่เป็นความผิดตามบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้องได้เลยโดยไม่จำต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่ง-อาญาแยกกัน ความเห็นในคำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง
จำเลยถูกอัยการฟ้องข้อหากระทำผิดต่อ พระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ทั้งถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการอยู่ในฐานะฟ้องคดีแทนโจทก์ คำพิพากษายกฟ้องคดีอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา