พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในคำพิพากษาและการร่วมปรึกษาคดี: ผลต่อการพิจารณาความเห็นแย้ง
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มีหนังสือรับรองของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ มีข้อความว่า ป. ซึ่งมิได้ลงชื่อในคำพิพากษาได้ร่วมปรึกษาคดีและมีความเห็นพ้องกัน ดังได้ลงลายมือชื่อในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว แสดงว่า ป. มิได้มีความเห็นแย้งต่อองค์คณะที่พิพากษาคดี แต่ได้มีความเห็นพ้องกับองค์คณะในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาและการอนุญาตของผู้พิพากษาที่มีความเห็นแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความเห็นแย้งบันทึกไว้ในฎีกาว่า 'สภาพที่ฝ่ายหนึ่งตายไป ฝ่ายจำเลยน่าจะแสดงให้เห็นว่าเป็นการป้องกันตัว ซึ่งเป็นภาระพิสูจน์อันเป็นทฤษฎีที่โต้เถียงกัน ควรส่งให้ศาลสูงพิจารณา จึงรับฎีกานี้' บันทึกนี้มิได้แสดงว่าข้อความที่ตัดสินมาเป็นปัญหาสำคัญมิได้แสดงว่าผู้พิพากษาผู้ทำความเห็นแย้งอนุญาตให้ฎีกา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 จึงรับฎีกาไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่ทำความเห็นแย้งในศาลอุทธรณ์
คดีที่จะฎีกาได้ในปัญหาข้อเท็จจริงในกรณีที่มีความเห็นแย้งของผู้พิพากษานั้นต้องปรากฎว่าผู้พิพากษาที่ทำความเห็นแย้งนั้นอนุญาตให้ฎีกา จึงจะฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม แม้มีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ทำความเห็นแย้ง
ความเห็นแย้งของผู้พิพากษาที่ทำการพิจารณา แต่มิได้กล่าวว่ามีเหตุอันควรอนุญาตให้ฎีกาได้นั้นไม่เป็นเหตุให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ต้องห้ามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาจากความเห็นแย้งศาลอุทธรณ์ และการยกฟ้องในคดีพยายามข่มขืน
ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้จำคุกจำเลย 2 ปี แต่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งทำความเห็นแย้งว่าควยปล่อยจำเลยและในท้ายความเห็นแย้งมีว่าถ้าจำเลยจะฎีกาข้าพเจ้าจะอนุญาตให้ฎีกาตาม ม. 221 แล้ว จำเลย ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาย่อ: ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อฎีกาไม่ระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมาย และไม่อาจใช้ความเห็นแย้งเป็นฎีกาได้
ฎีกาที่มิได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายแต่อย่างใดเพียงแต่ขอให้ศาลฎีกาถือเอาความเห็นแย้งของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาดังนี้เรียกว่าฎีกาย่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การอายัดทรัพย์ และการพิจารณาความเห็นแย้งของพนักงานอัยการ
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐรับผิดในผลแห่งละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของตน โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยตรงตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
กรณีที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 แล้ว แต่โจทก์ที่ 4 หลบหนีและยังไม่ได้ตัวมา ซึ่งคดีจะขาดอายุความ อันทำให้คำสั่งอายัดทรัพย์สินนั้นสิ้นผลลง จำเลยที่ 1 จึงแจ้งจำเลยที่ 2 ดำเนินการกับทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 ให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงเกิดประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หาใช่เป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ดังที่โจทก์ทั้งสี่อ้าง
จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือความเห็นแย้งจากพนักงานอัยการเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 ว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน วันที่ 18 เมษายน 2557 คณะกรรมการธุรกรรมประชุมและมีมติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินวินิจฉัยชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคสาม วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 คณะอนุกรรมการวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุพอที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินและมีมติควรเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด และส่งเรื่องกลับไปให้เลขาธิการฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 มีการประชุมคณะกรรมการแต่ไม่มีการเสนอความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบางส่วนลาออกทำให้มีจำนวนไม่ครบ 9 คน วันที่ 6 มีนาคม 2558 มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบ 9 คน วันที่ 25 มีนาคม 2558 เลขาธิการฯ เสนอเรื่องความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา วันที่ 30 มีนาคม 2558 คณะกรรมการได้พิจารณาความเห็นแย้งดังกล่าว โดยมีมติให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินโจทก์ทั้งสี่ตกเป็นของแผ่นดิน กรณีถือได้ว่าคณะกรรมการได้พิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้งของพนักงานอัยการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการฯ ตามมาตรา 49 วรรคสาม แล้ว
กรณีที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 แล้ว แต่โจทก์ที่ 4 หลบหนีและยังไม่ได้ตัวมา ซึ่งคดีจะขาดอายุความ อันทำให้คำสั่งอายัดทรัพย์สินนั้นสิ้นผลลง จำเลยที่ 1 จึงแจ้งจำเลยที่ 2 ดำเนินการกับทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4 ให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงเกิดประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่า ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หาใช่เป็นการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ดังที่โจทก์ทั้งสี่อ้าง
จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือความเห็นแย้งจากพนักงานอัยการเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 ว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน วันที่ 18 เมษายน 2557 คณะกรรมการธุรกรรมประชุมและมีมติให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินวินิจฉัยชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคสาม วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 คณะอนุกรรมการวินิจฉัยที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุพอที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินและมีมติควรเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด และส่งเรื่องกลับไปให้เลขาธิการฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 มีการประชุมคณะกรรมการแต่ไม่มีการเสนอความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบางส่วนลาออกทำให้มีจำนวนไม่ครบ 9 คน วันที่ 6 มีนาคม 2558 มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบ 9 คน วันที่ 25 มีนาคม 2558 เลขาธิการฯ เสนอเรื่องความเห็นแย้งของพนักงานอัยการให้คณะกรรมการพิจารณา วันที่ 30 มีนาคม 2558 คณะกรรมการได้พิจารณาความเห็นแย้งดังกล่าว โดยมีมติให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินโจทก์ทั้งสี่ตกเป็นของแผ่นดิน กรณีถือได้ว่าคณะกรรมการได้พิจารณาชี้ขาดความเห็นแย้งของพนักงานอัยการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากเลขาธิการฯ ตามมาตรา 49 วรรคสาม แล้ว