พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่ หากมีลักษณะคล้ายกับที่เปิดเผยก่อนยื่นคำขอ ย่อมถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์
แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรมีลักษณะที่แท้จริงเป็นหลอดดูดชนิดยืดหดได้ โดยมีส่วนปลายตัดเฉียงเช่นเดียวกับหลอดดูด ซึ่งโจทก์เป็นผู้ผลิต แสดงว่าลักษณะภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยมีความคล้ายกันกับของโจทก์ แม้จำเลยจะอ้างว่าหลอดดูดของจำเลยไม่มีลักษณะเป็นหลอดหลบซ่อนอยู่ข้างในอย่างหลอดดูดของโจทก์ หากมีลักษณะเหมือนพู่กันทาปากซึ่งเวลาใช้งานจะถอดส่วนหัวนำมาเสียบด้านล่างก็ตาม แต่การพิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์วัตถุมุ่งเน้นที่รูปทรงหรือแบบที่ปรากฏให้เห็นภายนอก โดยไม่คำนึงถึงวิธีการใช้หรือเทคนิคการใช้งานของวัตถุ ซึ่งแบบผลิตภัณฑ์วัตถุที่จะถือว่ามีความใหม่นั้นต้องมีความแตกต่างชัดเจนมากเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ เมื่อปรากฏว่าหลอดดูดของจำเลยตามภาพที่ 1 ถึงภาพที่ 6 มีรูปทรงภายนอกคล้ายกันกับหลอดดูดของโจทก์ ทั้งยังมีรูปทรงภายนอกคล้ายกับภาพหลอดดูดที่ได้มีการขอจดสิทธิบัตรไว้นอกราชอาณาจักรอีกหลายประเทศ แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรจึงมีลักษณะคล้ายกับหลอดดูดที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ข้ออ้างเกี่ยวกับลักษณะหลอดดูดของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงเทคนิคการใช้งานไม่ใช่ข้อสาระสำคัญของการตรวจสอบความใหม่ในกรณีนี้
การตรวจสอบความใหม่ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบได้จากภาพที่ปรากฏอยู่ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพราะตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติไว้เพียงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้นหากมีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่ว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วย่อมทำให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะรับสิทธิบัตรขาดความใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดที่มีลักษณะยืดหดได้ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามคำขอรับสิทธิบัตรจำเลยได้มีการเปิดเผยในเอกสารประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักรแล้วก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยจึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 56, 57 (2) (4)
การตรวจสอบความใหม่ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สามารถตรวจสอบได้จากภาพที่ปรากฏอยู่ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เพราะตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติไว้เพียงว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้นหากมีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ไม่ว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วย่อมทำให้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะรับสิทธิบัตรขาดความใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดที่มีลักษณะยืดหดได้ซึ่งเป็นสาระสำคัญตามคำขอรับสิทธิบัตรจำเลยได้มีการเปิดเผยในเอกสารประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นอกราชอาณาจักรแล้วก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หลอดดูดของจำเลยจึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จึงเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฯ มาตรา 56, 57 (2) (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ต้องใหม่และไม่เคยปรากฏใช้มาก่อน การออกสิทธิบัตรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และ (2) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมการประดิษฐ์ขึ้นใหม่นั้น มาตรา 6 ประกอบมาตรา 65 ทศ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันให้หมายความไว้ว่าหมายถึงการประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว งานที่ปรากฏอยู่แล้วมาตรา 6 วรรคสอง ได้ให้ความหมายรวมถึงงานต่างๆไว้หลายประการ ประการหนึ่ง หมายความรวมถึงการประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 458 ของจำเลยที่ 1 เป็นการประดิษฐ์ที่มีและใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 6 วรรคสอง การประดิษฐ์ดังกล่าวจึงเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่อาจขอรับอนุสิทธิบัตรได้ตามมาตรา 65 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 อนุสิทธิบัตรดังกล่าวจึงเป็นอนุสิทธิบัตรที่ออกโดยไม่ชอบด้วย มาตรา 65 ทวิ ถือเป็นอนุสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13909/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่เคยเปิดเผยมาก่อน หากแบบเดิมเคยเผยแพร่แล้ว แม้มีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย ก็ไม่ถือเป็นสิทธิบัตรที่สมบูรณ์
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม โดยมาตรา 57 บัญญัติว่า แบบผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น ต้องไม่เป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร หรือได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร หรือเคยมีประกาศโฆษณามาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยมาแล้วดังกล่าว จนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ ซึ่งมีขอบเขตของการพิจารณาแตกต่างจากการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 โดยการประดิษฐ์ขั้นสูงขึ้นไม่ใช่ข้อสาระสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาคำขอรับสิทธิบัตรประเภทนี้ ฉะนั้น การออกสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จะพิจารณาเฉพาะความใหม่ของรูปทรงหรือลักษณะภายนอกของแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตร เปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการใช้หรือได้เปิดเผยอยู่แล้วโดยตรงว่ามีความแตกต่างกันชัดเจนที่สามารถดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ ที่จำเลยที่ 1 อ้างมานั้นเป็นข้อแตกต่างกันในเรื่องโครงสร้างหรือกลไกวิธีการทำงานที่เป็นการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้สะดวกมากขึ้น อันอาจเป็นข้อพิจารณาสำหรับการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีอื่น ๆ ได้ แต่ไม่ใช่หลักสำคัญในการพิจารณาความใหม่ของการออกสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ ทั้งแบบพิมพ์อลูมิเนียมที่ใช้ในการตัดดอกไม้ที่ทำจากดินหรือตัวตัดดินนั้น โจทก์นำรูปแบบมาจากเอกสารทางวิชาการและนิตยสารที่มีการเผยแพร่ทั่วไป แบบพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 ออกสิทธิบัตรให้จึงเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการเปิดเผยสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตร จึงไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12602/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: การพิจารณาความใหม่และลักษณะแตกต่างจากงานที่มีอยู่แล้ว
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้นั้น ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม โดยไม่จำต้องมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า แบบผลิตภัณฑ์โคมไฟของจำเลยที่ 2 เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศ ไม่มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกประเทศ และไม่เคยมีการโฆษณาประกาศมาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร จึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมที่จะขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า แบบผลิตภัณฑ์โคมไฟของจำเลยที่ 2 เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศ ไม่มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกประเทศ และไม่เคยมีการโฆษณาประกาศมาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร จึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมที่จะขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรต้องมีความใหม่และไม่เคยมีมาก่อน การคุ้มครองเฉพาะวัสดุใหม่ไม่เพียงพอ ต้องมีกรรมวิธีใหม่ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต นำเอาสิ่งประดิษฐ์หรือกรรมวิธีที่ปรากฏอยู่แล้วไปขอรับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งนายทะเบียนสิทธิบัตรได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรให้แก่จำเลย โดยมีข้อถือสิทธิว่า "1. การใช้เสื่อปูรองหรือหีบห่อสินค้าที่ลงระวางในเรือบรรทุกสินค้า เพื่อกั้นและดูดซับความชื้นโดยที่เสื่อนี้ทอขึ้นจาก (ก) ต้นธูปฤๅษี กกรังกา และ/หรือกกกลม ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่าโดยปราศจากการลอกโครงสร้างภายนอก (ข) เส้นเอ็นสังเคราะห์หรือเส้นด้าย" ข้อถือสิทธิดังกล่าวเป็นข้อถือสิทธิในการใช้เสื่อ ไม่ได้ให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์เสื่อ และกรรมวิธีดังกล่าวไม่มีความใหม่โดยสิ้นเชิง ทั้งไม่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ แต่จำเลยกลับอาศัยสิทธิที่ได้มาโดยไม่สุจริตดังกล่าวไปแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์และพวก ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ความจริงแล้วโจทก์ใช้เสื่อกกกับคานไม้ไผ่รวกเพื่อระบายอากาศภายในระวางเรือ มิได้ใช้เสื่อกกปูรองหรือหีบห่อสินค้าที่ลงระวางในเรือบรรทุกสินค้า เพื่อกั้นหรือดูดซับความชื้น โจทก์ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำของจำเลย นับเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลย โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้พิพากษาเพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยออกจากสารบบทะเบียนสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา คำฟ้องของโจทก์จึงพอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าสิทธิบัตรของจำเลยได้รับการจดทะเบียนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะข้อถือสิทธิดังกล่าวเป็นข้อถือสิทธิในการใช้เสื่อทั้งไม่มีความใหม่และไม่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น กับขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลย ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับแล้ว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 30 ประกอบข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้ให้นิยามคำว่า "สิทธิบัตร" และ "การประดิษฐ์" ทั้งได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรไว้ในมาตรา 36 แต่ไม่ได้บัญญัติถึงการให้สิทธิบัตรในส่วนของการใช้ใหม่ของการประดิษฐ์ที่รู้จักอยู่แล้วไว้เป็นพิเศษต่างหากโดยชัดแจ้ง และไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรการใช้ในลักษณะตามฟ้อง กรณีไม่อาจแปลความพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ไปได้เช่นนั้น ดังนั้น สิทธิบัตรของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการออกให้แก่การใช้ใหม่ (New use patent) เพราะไม่มีบทกฎหมายรับรอง
ต้นกกช้างหรือต้นธูปฤๅษี หรือกกชนิดอื่น ๆ เป็นวัชพืชที่ใช้ทดแทนกับวัสดุอื่นเพื่อใช้ในการทอเสื่อได้อยู่แล้ว เสื่อที่ทอขึ้นจากวัสดุดังกล่าวมีหรือใช้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตร เพราะฉะนั้นการที่จำเลยใช้ต้นกกช้าง หรือต้นธูปฤๅษีหรือกกชนิดอื่น ๆ ตามที่ปรากฏในข้อถือสิทธิมาทอเสื่อจึงไม่ทำให้เสื่อดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจได้รับสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์เสื่อ
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้ให้นิยามคำว่า "สิทธิบัตร" และ "การประดิษฐ์" ทั้งได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรไว้ในมาตรา 36 แต่ไม่ได้บัญญัติถึงการให้สิทธิบัตรในส่วนของการใช้ใหม่ของการประดิษฐ์ที่รู้จักอยู่แล้วไว้เป็นพิเศษต่างหากโดยชัดแจ้ง และไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรการใช้ในลักษณะตามฟ้อง กรณีไม่อาจแปลความพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ไปได้เช่นนั้น ดังนั้น สิทธิบัตรของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการออกให้แก่การใช้ใหม่ (New use patent) เพราะไม่มีบทกฎหมายรับรอง
ต้นกกช้างหรือต้นธูปฤๅษี หรือกกชนิดอื่น ๆ เป็นวัชพืชที่ใช้ทดแทนกับวัสดุอื่นเพื่อใช้ในการทอเสื่อได้อยู่แล้ว เสื่อที่ทอขึ้นจากวัสดุดังกล่าวมีหรือใช้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทยก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตร เพราะฉะนั้นการที่จำเลยใช้ต้นกกช้าง หรือต้นธูปฤๅษีหรือกกชนิดอื่น ๆ ตามที่ปรากฏในข้อถือสิทธิมาทอเสื่อจึงไม่ทำให้เสื่อดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจได้รับสิทธิบัตรในผลิตภัณฑ์เสื่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการใช้ใหม่ (New Use Patent) ไม่อาจคุ้มครองได้หากไม่มีความใหม่และเป็นเพียงการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่รู้จักกันดี
จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรความคุ้มครองในเรื่องของผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี และการใช้สิ่งประดิษฐ์เสื่อกก โดยมีข้อถือสิทธิว่า "1.การใช้เสื่อปูรองหรือหีบห่อสินค้าที่ลงระวางในเรือบรรทุกสินค้า เพื่อกั้นและดูดซับความชื้นโดยเสื่อนี้ทอขึ้นจาก (ก) ต้นธูปฤาษี กกรังกา และ/หรือกกกลม ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือมากกว่าโดยปราศจากการลอกโครงสร้างภายนอก (ข) เส้นเอ็นสังเคราะห์หรือเส้นด้าย" แต่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำกัดขอบเขตการคุ้มครองไว้เพียงเรื่องของการใช้ผลิตภัณฑ์ ในขณะที่โจทก์กล่าวอ้างว่าสิทธิบัตรของจำเลยเป็นสิทธิบัตรเพื่อการใช้ ซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ในเรื่องของสิทธิบัตรการใช้ใหม่ (New Use Patent) นั้น ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้นิยามศัพท์คำว่า "สิทธิบัตร" คือหนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ "การประดิษฐ์" คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี ทั้งได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรไว้ในมาตรา 36 ว่า ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขายเสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร (2) ในกรณีสิทธิบัตรกรรมวิธี หมายถึง สิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร จะเห็นได้ว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้บัญญัติถึงการให้สิทธิบัตรในส่วนของการใช้ใหม่ของการประดิษฐ์ที่รู้จักอยู่แล้วไว้เป็นพิเศษต่างหากโดยชัดแจ้ง ทั้งไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรการใช้ในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการออกให้แก่การใช้ใหม่ (New Use Patent) เพราะไม่มีบทกฎหมายรับรอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5732/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่สมบูรณ์หากเปิดเผยภาพก่อนยื่นขอ และศาลสามารถวินิจฉัยแม้โจทก์มิได้อ้างเหตุนี้
พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (2) บัญญัติว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ถือว่าใหม่ หากแบบผลิตภัณฑ์นั้นได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ดังนั้น แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยซึ่งได้มีการเปิดเผยภาพในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่มีความใหม่
ปัญหาว่าสิทธิบัตรของจำเลยสมบูรณ์หรือไม่นี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวอ้างเหตุผลนี้ไว้ในคำฟ้อง ศาลก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรูปร่างหรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ หาได้เน้นที่คุณสมบัติการใช้งานของสิ่งประดิษฐ์หรือกรรมวิธีการประดิษฐ์แต่อย่างใด การที่จำเลยกล่าวอ้างว่ามีข้อแตกต่างที่ปรากฏในส่วนของอุปกรณ์ปรับทิศทางด้วยมือ ชุดเกลียวปรับตัวที่ 3 รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนอื่น และทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์
ปัญหาว่าสิทธิบัตรของจำเลยสมบูรณ์หรือไม่นี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวอ้างเหตุผลนี้ไว้ในคำฟ้อง ศาลก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
การออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรูปร่างหรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ หาได้เน้นที่คุณสมบัติการใช้งานของสิ่งประดิษฐ์หรือกรรมวิธีการประดิษฐ์แต่อย่างใด การที่จำเลยกล่าวอ้างว่ามีข้อแตกต่างที่ปรากฏในส่วนของอุปกรณ์ปรับทิศทางด้วยมือ ชุดเกลียวปรับตัวที่ 3 รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนอื่น และทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการใช้งานนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองในเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่เคยมีใช้มาก่อน การเพิกถอนสิทธิบัตรเมื่อแบบไม่ใหม่
เมื่อโจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายช้อนส้อมเช่นเดียวกับที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และต้องหยุดดำเนินการไป นับได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกกระทบหรือถูกโต้แย้งสิทธิแต่ผู้เดียวในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะกล่าวอ้างว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64 วรรคสอง ได้ความว่าช้อนส้อมของโจทก์มีการผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งการตรวจคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ได้พิจารณาถึงแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยแตกต่างจากช้อนส้อมของโจทก์ เท่ากับว่าแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและถือว่าไม่มีความใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่คล้ายกับงานที่มีอยู่แล้ว การปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ใช่การสร้างสรรค์ใหม่
รูปแบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยตามสิทธิบัตรทั้ง 2 คำขอคล้ายกับรูปแบบผลิตภัณฑ์เสาอากาศรับสัญญาณที่มีผู้อื่นเปิดเผยและเผยแพร่มาก่อน แม้รูปแบบปีกของจำเลยทำให้การรับสัญญาณดีขึ้นก็เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ มิใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 56 ประกอบมาตรา 57 (1) (2) (3) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งสองแบบของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรของคณะกรรมการสิทธิบัตรภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพย์สินทางปัญญา และกระบวนการสอบสวนความใหม่
คดีนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ที่ได้รับอนุสิทธิบัตรมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ โดยหลังจากมีการยื่นคำขอให้ตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ วรรคหนึ่ง แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการประดิษฐ์และทำรายงานการตรวจสอบเสนอต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาตาม มาตรา 65 ฉ วรรคสอง เมื่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณารายงานการตรวจสอบดังกล่าวแล้วเห็นว่าการประดิษฐ์ไม่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ จึงมีคำสั่งให้สอบสวนข้อเท็จจริง และแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ โดยโจทก์ยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตนแล้วตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนต้น หลังจากสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องพิจารณาว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ทวิ หรือไม่ ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5377 มีลักษณะทางเทคนิคแตกต่างไปจากงานที่ปรากฏอยู่แล้วเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 7 และกำหนดเงื่อนไขให้โจทก์แก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยให้ระบุขอบเขตความคุ้มครองให้ชัดเจนเฉพาะข้อถือสิทธิที่แตกต่างดังกล่าวเท่านั้น คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของอนุสิทธิบัตรพร้อมแสดงเหตุผลไว้ครบถ้วนแล้ว แต่ที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตรก็เนื่องจากเห็นว่าหากโจทก์ยอมแก้ไขข้อถือสิทธิใหม่โดยระบุขอบเขตความคุ้มครองเฉพาะข้อถือสิทธิข้อที่ 7 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเสนอให้คณะกรรมการสิทธิบัตรเพิกถอนสิทธิบัตร อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 72 โดยโจทก์ยังคงโต้แย้งว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5377 เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่พร้อมเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว สำนวนการพิจารณาตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ ในคดีนี้จึงเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิบัตร ดังนี้ แม้อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อเพิกถอนอนุสิทธิบัตร แต่ย่อมถือได้ว่ามีการดำเนินการไปตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ วรรคสี่ แล้ว เมื่อคณะกรรมการสิทธิบัตรมีอำนาจในการพิจารณาสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ตอนท้าย ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับอนุสิทธิบัตรตามมาตรา 65 ฉ ตามที่มาตรา 70 (2) บัญญัติ คณะกรรมการสิทธิบัตรซึ่งขณะนั้นมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นกรรมการจึงมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5377 ของโจทก์ไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คณะกรรมการสิทธิบัตรย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ โดยหลังจากอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามีคำสั่งให้สอบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรา 65 ฉ วรรคสี่ ก็มีการแจ้งคำสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอนุสิทธิบัตรทราบโดยโจทก์ได้ยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตนแล้ว และไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำชี้แจง ให้ส่งเอกสารหรือสิ่งใดเพิ่มเติมอีก ทั้งคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของอนุสิทธิบัตรดังกล่าวพร้อมแสดงเหตุผลไว้ครบถ้วน การสอบสวนข้อเท็จจริงตามมาตรา 65 ฉ วรรคสี่ จึงเสร็จสิ้นแล้ว การที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาย่อมมิใช่เป็นการให้ถ้อยคำชี้แจง ส่งเอกสาร หรือสิ่งใดเพิ่มเติม เมื่อคดีมีการเริ่มดำเนินกระบวนการตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ฉ มาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเสร็จ โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาแสดงเหตุผลในประเด็นเกี่ยวกับความใหม่ของการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยแล้ว การพิจารณาต่อมาของคณะกรรมการสิทธิบัตรจึงมิใช่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา