คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วม – การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ – การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา – ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้สหกรณ์การเกษตร ข. ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้เฉพาะแก่เจ้าพนักงานอัยการโจทก์เท่านั้น หาได้สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมด้วยไม่ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยลดโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200
ในการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้แก่โจทก์ร่วมทราบด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 ประกอบมาตรา 215 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่สันนิษฐานว่าถูกต้อง ผู้ฟ้องแย้งมีหน้าที่พิสูจน์ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของโฉนด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ โฉนดนั้นมีผลผูกพัน
โฉนดที่ดินของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ ซึ่งในเบื้องต้นต้องสันนิษฐานว่าได้ออกมาถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 เมื่อจำเลยฟ้องแย้งให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ว่าออกมาทับที่โดยไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือมิชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในปี พ.ศ. 2527 ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน: จำเป็นต้องระบุเหตุผลความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการงดสืบพยานอย่างชัดเจน
อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองบรรยายแต่เพียงว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลย ทำให้จำเลยเสียเปรียบเป็นคำสั่งที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยไม่ได้ประวิงคดีและยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ต้องนำสืบโดยมิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบอย่างไร และทำไมจึงทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบเพราะเหตุใดคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบอย่างไร เหตุใดการกระทำของจำเลยไม่เป็นการประวิงคดี และคดีมีปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยที่จะต้องนำสืบมีว่าอย่างไร ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องฎีกาไม่ชัดเจน: การไม่ระบุเหตุผลแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายในฎีกา ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
ที่ฟ้องฎีกาโจทก์กล่าวเพียงแต่ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังไม่ชอบด้วยความเห็นของโจทก์ โดยมิได้แสดงให้เห็นว่าไม่ชอบในข้อไหน เพียงใดก็ดี และที่ว่า โจทก์ขอถือเอาคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องฎีกาก็ดี ถือได้ว่าเป็นการกล่าวข้อความขึ้นลอย ๆ โดยมิได้กล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฟ้องฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการใช้ดุลยพินิจของศาล: การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องชัดเจนถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในฎีกาโจทก์มิได้อ้างโดยแจ้งชัดว่าตามที่ศาลล่างสั่งงดสืบพยานโจทก์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด เมื่อตามเหตุผลที่ศาลล่างทั้งสองยกขึ้นอ้างและตามฎีกาที่โจทก์โต้แย้งขึ้นมานั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจว่าสมควรอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหรือไม่ เช่นนี้ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7032/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการร่วมทำร้ายร่างกาย, การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน และความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการส่งตัวจำเลยไปจำคุก
ผู้เสียหายทั้งสามไม่ได้ฎีกาขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่การพิพากษาในคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลฎีกาจึงต้องมีคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งด้วย และที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปี โดยวินิจฉัยว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนในคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย และให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกในเรือนจำ มีกำหนด 2 ปี นั้น เห็นว่า ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจกระทำได้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เนื่องจากจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย โดยที่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10354/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วฟ้องใหม่: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่การถอนฟ้องเด็ดขาด หากมีเหตุผลความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องเดิม
แม้คำร้องขอถอนฟ้องคดีก่อนจะระบุว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้อง โดยปรากฏว่าในคำฟ้องคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง แต่ทนายโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ ทั้งปรากฏว่าในวันรุ่งขึ้นหลังจากศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้มายื่นคำฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ในมูลคดีอาญาความผิดเดียวกันกับคดีก่อนและขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในบทมาตราเดียวกัน โดยในคำฟ้องใหม่โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องใหม่ถูกต้องตามกฎหมายเชื่อว่าเหตุที่โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนเนื่องจากเห็นว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ซึ่งเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงประสงค์จะถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง การถอนฟ้องคดีก่อนจึงมิใช่การถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 36 ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่อีก