พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สุจริตในการซื้อขาย, การหลีกเลี่ยงภาษี, และการชำระหนี้ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จ คือต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากร ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวขึ้นมาเรียกร้องราคาสินค้าเต็มจำนวนตามที่ซื้อขายกันจริง ซึ่งมีจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงต้องรับผิดต่อโจทก์เท่ากับราคาที่สำแดงต่อกรมศุลกากรเพื่อเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้า เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ ตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้า เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ ตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาดที่อ้างอิงราคาต่ำกว่าราคาตลาดและความไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย โดยอ้างว่าราคาที่ได้ต่ำเกินสมควรโดยเกิดจากความไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในข้อนี้ จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในข้อนี้ย่อมเป็นที่สุดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาในข้อนี้มาด้วย เป็นการไม่ชอบ
เงื่อนไขท้ายประกาศขายทอดตลาดที่กำหนดให้ผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์วางประกันความเสียหายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายกรณีผู้ซื้อทรัพย์บิดพลิ้วหรือแกล้งเข้าประมูลสู้ราคาโดยไม่มีเจตนาจะซื้อทรัพย์จริง น. เพียงเป็นผู้เข้าประมูลสู้ราคารายหนึ่งแต่ผู้ให้ราคาสูงสุดคือ ม. และการที่ น. เข้าสู้ราคาดังกล่าวก็เป็นเหตุให้ ม. ต้องเสนอราคาสูงขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เมื่อจำเลยไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ให้ น. วางเงินประกันก่อนเข้าประมูลทรัพย์ตามเงื่อนไขท้ายประกาศ จำเลยจะอาศัยเหตุดังกล่าวมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ได้
เงื่อนไขท้ายประกาศขายทอดตลาดที่กำหนดให้ผู้เข้าประมูลซื้อทรัพย์วางประกันความเสียหายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันความเสียหายกรณีผู้ซื้อทรัพย์บิดพลิ้วหรือแกล้งเข้าประมูลสู้ราคาโดยไม่มีเจตนาจะซื้อทรัพย์จริง น. เพียงเป็นผู้เข้าประมูลสู้ราคารายหนึ่งแต่ผู้ให้ราคาสูงสุดคือ ม. และการที่ น. เข้าสู้ราคาดังกล่าวก็เป็นเหตุให้ ม. ต้องเสนอราคาสูงขึ้นจำเลยจึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เมื่อจำเลยไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ให้ น. วางเงินประกันก่อนเข้าประมูลทรัพย์ตามเงื่อนไขท้ายประกาศ จำเลยจะอาศัยเหตุดังกล่าวมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4996-4997/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากฉ้อฉลและความไม่สุจริตของผู้ซื้อ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1รวมทั้งขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ด้วยศาลล่างทั้งสองพิพากษาตรงกันว่า นิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย ไม่อาจเพิกถอนได้ คงบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ดังนี้ คำขอของโจทก์ที่ 1 ในข้อแรกจึงตกไปในตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตามคำขอข้อ 2 ได้
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า เงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ซื้อที่พิพาทคืน แม้จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือกันไว้ แต่โจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน ให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้แล้ว ประเด็นข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้บางส่วนแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจนำสืบพยานบุคคลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารไม่
ระยะเวลานับตั้งแต่โจทก์ฟ้องจนถึงเวลาส่งหมาย การไถ่ถอนจำนอง และการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ติดต่อใกล้ชิดกันเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้ที่บอกขายที่ดินได้ช่วยออกเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในระยะเวลาที่เร่งรีบกะทันหันด้วย ทำให้มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 รู้เรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริต เมื่อพฤติการณ์เป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า เงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ซื้อที่พิพาทคืน แม้จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือกันไว้ แต่โจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน ให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้แล้ว ประเด็นข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้บางส่วนแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจนำสืบพยานบุคคลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารไม่
ระยะเวลานับตั้งแต่โจทก์ฟ้องจนถึงเวลาส่งหมาย การไถ่ถอนจำนอง และการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ติดต่อใกล้ชิดกันเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้ที่บอกขายที่ดินได้ช่วยออกเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในระยะเวลาที่เร่งรีบกะทันหันด้วย ทำให้มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 รู้เรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริต เมื่อพฤติการณ์เป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน และความไม่สุจริตของผู้ยื่นขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และbrother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother โดยมีคำว่า triอยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADEMARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brotherคำว่า tri และ TRADEMARK เป็นเพียงส่วนประกอบนอกจำนวนว่าเป้ฯ tribrother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่าTRADEMARK แปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brotherใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอด โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด: ความไม่สุจริตและเจตนาของผู้รับโอน
ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนรถยนต์ของกลางมาจากผู้ให้เช่าซื้อหลังจากทราบว่าจำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำผิดและถูกเจ้าพนักงานยึดไว้ ส่อให้เห็นความไม่สุจริตของผู้ร้อง ทั้งคดียังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องไม่รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงคืนรถยนต์ของกลางที่สั่งริบให้ผู้ร้องไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องความไม่สุจริตในการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด ศาลรับฟ้องได้ เพราะเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลในคดีหนึ่ง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาฎีกาที่ได้พิพากษาในคดีที่โจทก์อ้าง และโจทก์ไม่สุจริตซื้อที่ดินพิพาททั้ง ๆ ที่ทราบว่าจำเลยครอบครองเป็นส่วนสัดมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี จึงฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมโดยตรง เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างถึงความไม่สุจริตของโจทก์ในการซื้อที่ดินพิพาท อันจะทำให้โจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. ม.1330 จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สุจริตของผู้ฟ้องร้องและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับโอนย่อมได้รับความคุ้มครอง
พฤติการณ์ที่แสดงถึงความไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินของโจทก์ ซึ่งมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ไปทำการโอนขาย เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ไม่สุจริต โจทก์จะอ้างเอาความไม่สุจริตของโจทก์มาขอให้เพิกถอนการโอนจากจำเลยผู้ที่รับโอนที่พิพาทนั้นไว้โดยสุจริต และโดยเสียค่าตอบแทนหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินของโจทก์ ซึ่งมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ไปทำการโอนขาย เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ไม่สุจริต โจทก์จะอ้างเอาความไม่สุจริตของโจทก์มาขอให้เพิกถอนการโอนจากจำเลยผู้ที่รับโอนที่พิพาทนั้นไว้โดยสุจริต และโดยเสียค่าตอบแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องความไม่สุจริตของสัญญาเช่าเป็นประเด็นข้อต่อสู้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้การว่า สัญญาเช่า หากจะมีก็เป็นเอกสารปลอมซึ่งโจทก์กระทำขึ้นด้วยความไม่สุจริต ดังนี้ จำเลยย่อมสืบได้ว่า สัญญาเกิดขึ้นด้วยความไม่สุจริตได้ มิใช่เป็นการสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าที่แท้จริง, ความผิดสัญญา, และความไม่สุจริตของคู่สัญญาในการซื้อขายเครื่องจักร
จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาว่า สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการแต่โจทก์ไม่ได้เสนอข้อพิพาทตามสัญญาต่อคณะอนุญาโตตุลาการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้
จำเลยค้างชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์เพียง 260,050 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ 931,950 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเรียกร้องเกินจำนวนที่แท้จริงถึง 671,900 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นการอ้างความเท็จเพื่อเอาเปรียบจำเลย แต่จำเลยก็นำสืบทำนองว่า จำเลยเองเป็นฝ่ายขอให้โจทก์แสดงราคาสินค้าให้สูงเกินจริงด้วยเพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อสภาพกิจการของจำเลย รวมทั้งใช้ราคาที่กำหนดสูงขึ้นนี้ขอสินเชื่อต่อธนาคารและจดทะเบียนจำนองเครื่องจักรนี้เป็นประกันการชำระหนี้สินเชื่อต่อธนาคารดังกล่าว ทั้งนี้โดยจำเลยถือโอกาสที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องชำระภาษีศุลกากรการนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม อันถือเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่สุจริตโจทก์จึงไม่อาจยกเอาประโยชน์แห่งความไม่สุจริตดังกล่าวเรียกร้องเอาหนี้ได้เต็มจำนวน แต่จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าในส่วนคงค้างต่อโจทก์
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าเครื่องรีดพลาสติกในส่วนคงค้างต่อโจทก์ 260,050 ดอลลาร์สหรัฐ และโจทก์ก็ต้องรับผิดในค่าเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของสินค้ารวมถึงอุปกรณ์ที่ยังขาดส่งรวมเป็นเงิน 3,377,261.31 บาท จำเลยจึงยังคงต้องชำระค่าสินค้าดังกล่าวแต่สามารถหักค่าเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบออกได้
จำเลยค้างชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์เพียง 260,050 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ 931,950 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเรียกร้องเกินจำนวนที่แท้จริงถึง 671,900 ดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นการอ้างความเท็จเพื่อเอาเปรียบจำเลย แต่จำเลยก็นำสืบทำนองว่า จำเลยเองเป็นฝ่ายขอให้โจทก์แสดงราคาสินค้าให้สูงเกินจริงด้วยเพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อสภาพกิจการของจำเลย รวมทั้งใช้ราคาที่กำหนดสูงขึ้นนี้ขอสินเชื่อต่อธนาคารและจดทะเบียนจำนองเครื่องจักรนี้เป็นประกันการชำระหนี้สินเชื่อต่อธนาคารดังกล่าว ทั้งนี้โดยจำเลยถือโอกาสที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนซึ่งได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องชำระภาษีศุลกากรการนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม อันถือเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่สุจริตโจทก์จึงไม่อาจยกเอาประโยชน์แห่งความไม่สุจริตดังกล่าวเรียกร้องเอาหนี้ได้เต็มจำนวน แต่จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าในส่วนคงค้างต่อโจทก์
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ค่าสินค้าเครื่องรีดพลาสติกในส่วนคงค้างต่อโจทก์ 260,050 ดอลลาร์สหรัฐ และโจทก์ก็ต้องรับผิดในค่าเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของสินค้ารวมถึงอุปกรณ์ที่ยังขาดส่งรวมเป็นเงิน 3,377,261.31 บาท จำเลยจึงยังคงต้องชำระค่าสินค้าดังกล่าวแต่สามารถหักค่าเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบออกได้