คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คัดค้านคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7469/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์: เริ่มนับเมื่อได้รับแจ้งคำสั่งจริง
ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ มีระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2541 ข้อ 23 กำหนดว่า "เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคำสั่งแก่ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยเร็ว" การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้แล้ว หากยังไม่ได้แจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ จะถือว่าผู้มีส่วนได้เสียทราบคำสั่งในวันนั้นและเริ่มนับระยะเวลาในการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/32 วรรคสาม หาได้ไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทราบโดยได้ส่งสำเนาคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังเจ้าหนี้ คำสั่งดังกล่าวมีบุคคลอื่นรับไว้แทนเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในวันดังกล่าว การนับระยะเวลาในการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2544 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านในวันที่ 29 มกราคม 2544 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 14 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7469/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องเริ่มนับจากวันที่ผู้มีส่วนได้เสียทราบคำสั่งจริง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้แล้ว หากยังไม่ได้แจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ จะถือว่าผู้มีส่วนได้เสียทราบคำสั่งในวันนั้นและเริ่มนับระยะเวลาในการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/32 วรรคสาม หาได้ไม่ เมื่อในคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งดังกล่าว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทราบโดยทางไปรษณีย์ตอบรับซึ่งมีบุคคลอื่นรับไว้แทนเมื่อวันที่ 16 มกราคมจึงต้องถือว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งในวันดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านในวันที่ 29 มกราคม จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง ศาลต้องรับคำร้องคัดค้านของเจ้าหนี้ไว้ดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลจำหน่ายคดี และผลของการละทิ้งคดีต่อการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินที่ผู้ร้องเป็นลูกหนี้จำเลยผู้ล้มละลายฉะนั้น การที่ผู้ร้องและทนายตลอดจนพยานไม่มาศาลตามวันเวลาที่นัดไต่สวน โดยมิได้ขอเลื่อนหรือแจ้งเหตุให้ศาลทราบถือได้ว่าเป็นการขาดนัดและในกรณีเช่นนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปศาลก็ต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 ผู้ร้องมีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียว คือการร้องเริ่มต้นคดีใหม่ ซึ่งจะต้องอยู่ในบังคับแห่งอายุความหรือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนใหม่เกินกำหนดเวลา 14 วันนับจากที่ผู้ร้องทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ชำระหนี้
จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย
ในกรณีที่ผู้ร้องขาดนัดพิจารณา และศาลสั่งให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งคดี จึงไม่เป็นเหตุให้กำหนดระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย และผลกระทบต่อการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินที่ผู้ร้องเป็นลูกหนี้จำเลยผู้ล้มละลาย. ฉะนั้น การที่ผู้ร้องและทนายตลอดจนพยานไม่มาศาลตามวันเวลาที่นัดไต่สวน โดยมิได้ขอเลื่อนหรือแจ้งเหตุให้ศาลทราบ. ถือได้ว่าเป็นการขาดนัด. และในกรณีเช่นนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป. ศาลก็ต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201.ผู้ร้องมีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียว คือการร้องเริ่มต้นคดีใหม่ ซึ่งจะต้องอยู่ในบังคับแห่งอายุความหรือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้. ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนใหม่เกินกำหนดเวลา 14 วันนับจากที่ผู้ร้องทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ชำระหนี้. จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย.
ในกรณีที่ผู้ร้องขาดนัดพิจารณา และศาลสั่งให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องไปนั้น. ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งคดี. จึงไม่เป็นเหตุให้กำหนดระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สะดุดหยุดลง.