พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคดีล้มละลาย: การคัดค้านการยืนยันหนี้ – คำร้อง vs. คดีมีทุนทรัพย์
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม กำหนดให้ผู้คัดค้านดังกล่าวทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายเกี่ยวกับคำร้องนี้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ผู้ร้องต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาทตามตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 179 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายที่เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้หนี้กลายเป็นหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านหนังสือยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนดสิบสี่วันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสาม จึงถือว่าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันไปเป็นหนี้เด็ดขาดแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายใน 14 วัน หากเกินกำหนดหนี้ถือเป็นเด็ดขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านหนังสือยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนดสิบสี่วันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสาม จึงถือว่าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันไปเป็นหนี้เด็ดขาดแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลา 14 วัน หากเกินถือเป็นหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านหนังสือยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนดสิบสี่วันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 วรรคสาม จึงถือว่าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันไปเป็นหนี้เด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: ความสำคัญของกรอบเวลาตามกฎหมาย และผลของการยื่นคำคัดค้านเกินกำหนด
ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่10 มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้องคัดค้านต่อศาลภายใน14 วัน คือวันที่ 24 มีนาคม 2531 คำร้องของผู้ร้องจึงตรงตามนัยพ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 119 วรรคสาม แต่เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้าน ในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นคำคัดค้าน และการคัดค้านไม่ชอบถือว่าไม่มีคำร้องคัดค้านยื่นต่อศาล การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้าน ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายนั้น จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้องแก้ไข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้คำคัดค้านและคำขอแก้ไขคำคัดค้านไม่เป็นผล
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 10มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้อง คัดค้านต่อศาลภายใน 14 วันในวันที่ 24 มีนาคม 2531 แต่ ผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านต่อ ศาลในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่ต้องยื่นคำคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้าน จึงชอบด้วย กฎหมายแล้วและถือ ว่าไม่มีคำร้องคัดค้านที่ยื่นต่อศาลเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านเพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้อง แก้ไข ที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านจึงชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายต้องรอการตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน
การที่ผู้ร้องได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้แจ้งยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวมายังผู้ร้อง ผู้ร้องหามีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งต้องการให้หนี้สินดังกล่าวได้รับการสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นการแน่นอนเสียชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในชั้นศาลก่อนการยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกระบวนการข้ามขั้นตอน
การที่ผู้ร้องได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้แจ้งยืนยันหนี้จำนวนดังกล่าวมายังผู้ร้อง ผู้ร้องหามีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลไม่ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมายซึ่งต้องการให้หนี้สินดังกล่าวได้รับการสอบสวนในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นการแน่นอนเสียชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาล.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับหุ้น กรณีไม่แจ้งการโอนหุ้น
แม้ผู้ร้องไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนตามกำหนดนัดเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาล ตามมาตรา 119 วรรคสาม ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) หรือไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อต่อสู้ในชั้นศาล และนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำสืบพยานหลักฐานเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนแต่อย่างใด
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อระหว่างผู้ร้องกับ น. และ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของ มาตรา 1129วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 22(2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือซึ่งบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อระหว่างผู้ร้องกับ น. และ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆ มาเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติของ มาตรา 1129วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นไปจากความรับผิดในค่าหุ้นที่ค้างได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 22(2) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) หรือซึ่งบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: ต้องรอการแจ้งยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน จึงจะสามารถร้องต่อศาลได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อของตนออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนแล้วมีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้ไปยังบุคคลนั้นอีกครั้งหนึ่งก่อนด้วย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้แล้ว สิทธิที่จะร้องขอต่อศาลก็ยังไม่อาจกระทำได้