พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายพิเศษต้องพิสูจน์ว่าจำเลยคาดเห็นหรือควรคาดเห็นได้
โจทก์ฟ้องว่า การที่เครื่องตัดหินแกรนิตของโจทก์ แตกร้าวชำรุด ไม่สามารถใช้การได้ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการผลิตสินค้าประเภทแผ่นหินแกรนิต ซึ่งโจทก์ต้องส่งให้แก่ลูกค้ามีจำนวนไม่เพียงพอ โจทก์จึงขาดประโยชน์เป็นเงิน 2,400,000 บาท นั้น เป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนี้ล่วงหน้าก่อนแล้วแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายพิเศษจากการผิดนัดชำระหนี้ ผู้เสียหายต้องพิสูจน์การคาดเห็นถึงความเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ค่าเสียหายที่ว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์จะได้ประโยชน์จากการเอาเงินที่จำเลยชำระไปให้ลูกค้ารายอื่นของโจทก์กู้ยืม โจทก์จะได้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราที่โจทก์เรียกเก็บได้จากจำเลยนั้น เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ และโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า ทั้งจำเลยยังไม่ได้รับทราบหรือยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อนว่าการผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายมากกว่าดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยขณะผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 15.5 ต่อปีเป็นร้อยละ 16.5 ต่อปี ร้อยละ 17 ต่อปี ร้อยละ 18.5 ต่อปี หลังจากครบกำหนดชำระเงินคืนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการสหกรณ์ต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อและการคาดเห็นความเสียหาย
แม้ไม่มีระเบียบห้ามคณะกรรมการของสหกรณ์ลงมติให้กรรมการผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในเอกสารเบิกเงินไว้ล่วงหน้าก็ถือได้เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดด้วยการจงใจกระทำโดยผิดกฎหมายเท่านั้น แต่การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ยังต้องวินิจฉัยต่อไปด้วยว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ และความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยหรือไม่ซึ่งบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำหรือปฏิบัติอย่างไรบ้างคำว่าหน้าที่ในที่นี้หาจำเป็นต้องเป็นหน้าที่ที่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้โดยแจ้งชัดไม่ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 เป็นกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ภายในกรอบเช่นวิญญูชนผู้อยู่ในฐานะเช่นจำเลยพึงปฏิบัติโดยต้องกระทำการด้วยความระมัดระวังในอันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 15ได้ร่วมกันมีมติให้กรรมการผู้รับมอบอำนาจ 2 ใน 3 ลงลายมือชื่อในใบเบิกเงินที่ยังไม่กรอกข้อความไว้ล่วงหน้าจนเป็นเหตุให้มีผู้นำใบเบิกเงินดังกล่าวไปใช้ถอนเงินของโจทก์จากธนาคารแล้วเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ แต่ส่วนที่ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยคือเป็นความเสียหายซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าย่อมจะเกิดขึ้นได้จากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของตน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15ไม่อาจคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าจะเกิดความเสียหายเช่นที่โจทก์ได้รับในคดีนี้ขึ้นได้เลย ความเสียหายของโจทก์จึงหาใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 15ไม่ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 15 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายพิเศษจากการคาดเห็นถึงผลกระทบต่อเจ้าหนี้ก่อนประพฤติผิดสัญญา
การคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้อันลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง นั้น ลูกหนี้หาจำต้องได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นล่วงหน้าตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสมอไปไม่ หากปรากฏว่าลูกหนี้ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นก่อนประพฤติผิดสัญญากู้เพียงพอที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดได้
จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ได้ชำระหนี้บางส่วนด้วยเช็ค โจทก์ได้บอกจำเลยถึงเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านจาก ช.โดยได้วางมัดจำไว้ด้วย หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คของจำเลยจะทำให้โจทก์ถูกริบมัดจำได้ โดยบอกตั้งแต่ก่อนเช็คของจำเลยถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็ค เป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ไม่มีเงินไปชำระแก่ ช. ช.จึงริบมัดจำที่โจทก์วางไว้ ดังนี้ความเสียหายของโจทก์เป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ได้ชำระหนี้บางส่วนด้วยเช็ค โจทก์ได้บอกจำเลยถึงเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านจาก ช.โดยได้วางมัดจำไว้ด้วย หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คของจำเลยจะทำให้โจทก์ถูกริบมัดจำได้ โดยบอกตั้งแต่ก่อนเช็คของจำเลยถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็ค เป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ไม่มีเงินไปชำระแก่ ช. ช.จึงริบมัดจำที่โจทก์วางไว้ ดังนี้ความเสียหายของโจทก์เป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายพิเศษจากการคาดเห็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดจากการผิดสัญญา
การคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้อันลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222วรรคสอง นั้น ลูกหนี้หาจำต้องได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นล่วงหน้าตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสมอไปไม่ หากปรากฏว่าลูกหนี้ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นก่อนประพฤติผิดสัญญากู้เพียงพอที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดได้
จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ได้ชำระหนี้บางส่วนด้วยเช็ค โจทก์ได้บอกจำเลยถึงเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านจาก ช.โดยได้วางมัดจำไว้ด้วย หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คของจำเลย จะทำให้โจทก์ถูกริบมัดจำได้ โดยบอกตั้งแต่ก่อนเช็คของจำเลยถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็ค เป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ไม่มีเงินไปชำระแก่ ช. ช.จึงริบมัดจำที่โจทก์วางไว้ ดังนี้ ความเสียหายของโจทก์เป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
จำเลยซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ ได้ชำระหนี้บางส่วนด้วยเช็ค โจทก์ได้บอกจำเลยถึงเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินและบ้านจาก ช.โดยได้วางมัดจำไว้ด้วย หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คของจำเลย จะทำให้โจทก์ถูกริบมัดจำได้ โดยบอกตั้งแต่ก่อนเช็คของจำเลยถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยมีคำสั่งระงับการจ่ายเงินตามเช็ค เป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและโจทก์ไม่มีเงินไปชำระแก่ ช. ช.จึงริบมัดจำที่โจทก์วางไว้ ดังนี้ ความเสียหายของโจทก์เป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษ: จำเลยต้องรับผิดเมื่อคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะเสียเบี้ยปรับจากสัญญาต่อบุคคลที่สาม
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว แต่ยังไม่ถึงวันโอนตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้บุคคลที่ 3 โดยกำหนดว่าโจทก์จะโอนที่พิพาทให้บุคคลที่ 3 ในวันเดียวกันกับที่จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ ถ้าโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาท โจทก์ได้แจ้งเรื่องสัญญาและเบี้ยปรับให้จำเลยทราบแล้ว ต่อมาเมื่อถึงกำหนดวันโอน จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ถูกบุคคลที่ 3 ปรับ 40,000 บาท จำเลยต้องชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยน: ความคาดเห็นพฤติการณ์พิเศษขณะทำสัญญา
ทำสัญญาซื้อของกันโดยตกลงราคากันเป็นเงินบาทสยามผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระราคาตามกำหนดจนอัตราแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนแปลงไปเงินบาทสยามแลกเงินเหรียญอเมริกันได้น้อยกว่าอัตราเดิม ค่าเสียหายของผู้ขายเนื่องแต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นค่าเสียหายพิเศษตาม ประมวลแพ่งฯ ม. 222 วรรค 2 ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษจะเรียกร้องกันได้ต่อเมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นในขณะทำสัญญา