พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดีและการปรับใช้กฎหมายใหม่กับคำขอเดิมที่ขัดต่อกฎหมายใหม่
แม้ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ตามคำขอเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 และจำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างปรากฏว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 ไม่มีผลใช้บังคับแล้ว ดังนี้กรณีตามคำขอของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงไม่อาจยกข้อห้ามตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพื่อมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำให้คำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและไม่มีเหตุผลสมควรในขณะนั้นก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 221 (พ.ศ.2538)ฯ ใช้บังคับ เป็นผลให้กรณีคำขอของโจทก์ต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้
หากจะถือว่าขณะที่จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้จำเลยสั่งเช่นนั้นได้และจะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ต้องไปรื้อร้องขอให้จำเลยมีคำสั่งอนุญาตใหม่ แต่ขณะจะมีคำสั่งใหม่ ก็ปรากฏว่ากรณีของโจทก์ต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ อีก เช่นนี้เห็นได้ว่าการมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ซึ่งต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ฝืนต่อสภาพการณ์ทางสังคมและหลักการทางปกครอง คำขอของโจทก์จึงต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง จำเลยชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว
หากจะถือว่าขณะที่จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้จำเลยสั่งเช่นนั้นได้และจะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ต้องไปรื้อร้องขอให้จำเลยมีคำสั่งอนุญาตใหม่ แต่ขณะจะมีคำสั่งใหม่ ก็ปรากฏว่ากรณีของโจทก์ต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ อีก เช่นนี้เห็นได้ว่าการมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ซึ่งต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 221(พ.ศ.2538)ฯ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายที่ฝืนต่อสภาพการณ์ทางสังคมและหลักการทางปกครอง คำขอของโจทก์จึงต้องห้ามหรือขัดต่อกฎกระทรวง จำเลยชอบที่จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างจากการเลิกจ้าง: ศาลฎีกาวินิจฉัยตามคำขอเดิมของจำเลยที่ยื่นก่อนทำสัญญาประนีประนอม
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 20 มกราคม 2530ก่อนโจทก์ยื่นคำคัดค้าน จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉิน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยให้จำเลยนำเงินค่าจ้างไปวางศาล เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์ได้ ก็ให้จำเลยขอรับค่าจ้างคืนไป แต่ถ้าไม่อนุญาตให้เลิกจ้าง ก็ให้โจทก์รับเงินค่าจ้างไปได้ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 การที่ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งโดยให้โจทก์ไปขอรับจากศาลแรงงานกลางตามที่จำเลยได้วางไว้ ส่วนที่เหลือให้จำเลยรับคืนไปและโจทก์ไม่ติดใจในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหายและค่าชดเชยเกี่ยวกับการเลิกจ้างศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตามที่ตกลงกันแต่ข้อตกลงไม่แจ้งชัดว่าจะให้เลิกจ้างเมื่อใด เช่นนี้คำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างดังกล่าวย่อมเป็นไปตามคำขอของจำเลย โดยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัด ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ หากไม่เกินคำขอเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามคำขอของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่พิพาทอันดับ 1, 2 ไม่ใช่มรดกของ ส. แต่เป็นของจำเลยก่นสร้างครอบครองมา และแม้จะฟังว่าเป็นมรดกของ ส. ก็ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกับจำเลย คดีโจทก์ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมาว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันดับ 1, 2 อันเป็นมรดกของ ส. ร่วมกับจำเลยหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นควรฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองที่พิพาทอันเป็นมรดกของ ส.คนละแปลง เป็นส่วนสัดมาช้านาน ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ครอบครองที่พิพาททั้งสองแปลงร่วมกันดังที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ดินมรดกของ ส. รวม 3 แปลง เฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 3 ได้ความว่าจำเลยขายไปก่อน โจทก์จึงไม่ติดใจว่ากล่าว คงพิพาทกันเฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 1 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 วา อันดับ 2 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 84 วา ซึ่งมีราคาแปลงละ 4,000 บาทเท่ากัน ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยได้รับที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาเท่ากันคนละแปลงตามที่ได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัดจึงเท่ากับโจทก์ได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นการนอกประเด็นและเกินคำขอของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ดินมรดกของ ส. รวม 3 แปลง เฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 3 ได้ความว่าจำเลยขายไปก่อน โจทก์จึงไม่ติดใจว่ากล่าว คงพิพาทกันเฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 1 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 วา อันดับ 2 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 84 วา ซึ่งมีราคาแปลงละ 4,000 บาทเท่ากัน ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยได้รับที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาเท่ากันคนละแปลงตามที่ได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัดจึงเท่ากับโจทก์ได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นการนอกประเด็นและเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินที่ไม่สมบูรณ์ ศาลพิพากษาขับไล่ได้ตามคำขอเดิม แม้ผู้รับอุทิศไม่เป็นนิติบุคคล
ฟ้องขอให้แสดงว่าที่พิพากษาพิพาทเป็นของโจทก์อุทิศให้สุเหร่าและของให้ขับไล่จำเลยและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่พิพาท ดังนี้ แม้การอุทิศนั้นจะไม่สมบูรณ์ เนื่องจากสุเหร่าไม่เป็นนิติบุคคลไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอุทิศได้ ศาลก็พิพากษาขับไล่จำเลยและห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขการนับโทษหลังมีคำพิพากษา: ไม่อาจขอแก้ไขได้หากศาลตัดสินตามคำขอเดิมแล้ว
จะร้องขอให้ศาลเปลี่ยนเลขคดีที่ศาลให้นับโทษภายหลังที่ศาลพิพากษาคดีแล้วไม่ได้