คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำคู่ความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำคู่ความไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลต้องให้แก้ไขก่อนพิพากษา
คำให้การของจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ ไม่มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้พิมพ์ เป็นคำคู่ความที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกที่มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" นั้น มิใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของมาตรา 67 (5) ศาลชั้นต้นรับคำให้การจำเลยฉบับดังกล่าวโดยไม่คืนไปให้จำเลยทำมาใหม่ หรือให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำคู่ความไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการพิพากษา
คำให้การจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรก ไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่แก้ไขข้อบกพร่องของคำคู่ความดังกล่าวให้บริบูรณ์เสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยที่ยังมิได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง โดยให้จำเลยลงลายมือชื่อในคำให้การเสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง: การพิจารณาคำคู่ความและการมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลย และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า อุทธรณ์จำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้จำเลยแก้ไขอุทธรณ์มาใหม่ แต่จำเลยไม่ได้แก้ไขอุทธรณ์ กลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยฟุ่มเฟือยเกินไป ให้คืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ภายในกำหนด จึงเป็นคำสั่งในกรณีที่ศาลชั้นต้นตรวจคำคู่ความที่ยื่นต่อศาล แล้วมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปทำมาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มิใช่เป็นการตรวจอุทธรณ์ แล้วมีคำสั่งว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์เสียก่อน ผู้อุทธรณ์จึงอาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ แห่ง ป.วิ.อ. เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำคู่ความให้ทำมาใหม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามอุทธรณ์ไว้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้จำเลยที่อุทธรณ์ฟัง โดยไม่ต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ใช่คำคู่ความ ไม่อุทธรณ์ได้
คำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียก ส. และ ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเป็นเพียงคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี มิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงมิใช่คำคู่ความ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ใช่คำคู่ความ ห้ามอุทธรณ์
คำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้เรียก ส. และ ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นเป็นเพียงคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีมิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความแต่อย่างใด จึงมิใช่คำคู่ความ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องนี้จึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9107/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วมไม่ใช่คำคู่ความ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำร้องขอของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยความสมัครใจ หรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามา เนื่องจากคำร้องสอดของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อศาลเป็นการตั้งประเด็นโต้แย้งกับคู่ความในคดีจึงมีลักษณะเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7198/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนดตามกฎหมาย มิฉะนั้นศาลมีอำนาจไม่รับคำคู่ความ
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ ต้องอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และมาตรา 23 จึงต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เสียภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต
จำเลยขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้รับเป็นอุทธรณ์เพิ่มเติม ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบมาตรา 23 คำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ เพราะมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.เกี่ยวกับการยื่นคำคู่ความ ซึ่งมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8745/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการดำเนินคดีอุทธรณ์ การไม่ปฏิบัติตามระเบียบการยื่นคำคู่ความ และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีแพ่ง มี ก.ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ ก.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความให้ ก.มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ย่อมเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นตรวจรับคำคู่ความศาลชั้นต้นผู้ตรวจชอบที่จะสั่งแก้ไขเสียให้ถูกต้องหรือไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18แต่ศาลชั้นต้นกลับรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อมา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการเขียนและยื่นคำคู่ความ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขตามที่กล่าวได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฎีกาและแต่งตั้ง ก.เป็นทนายความของโจทก์และให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก แต่เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม, คำสั่งระหว่างพิจารณาไม่อุทธรณ์ได้, สิทธิไล่เบี้ยไม่เป็นคำคู่ความ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้เดินผ่านทางพิพาทในที่ดินของจำเลย เกินกว่า 10 ปี จนได้ภารจำยอม จำเลยทำรั้วปิดกั้นขอให้จำเลยรื้อรั้วและจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภารจำยอมแก่โจทก์แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยโดยโจทก์แกล้งฟ้องจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้คำฟ้องแย้งของจำเลยศาลจะบังคับตามคำขอได้ก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีแล้ว จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอจะรวมการพิจารณาและชี้ขาดเข้าด้วยกันได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย คำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียก ป. เข้ามาเป็นคู่ความร่วมโดยจำเลยขอใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับ ป.ไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5)การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกป.เข้ามาเป็นคู่ความไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำคู่ความเพื่อกันส่วนเงิน ไม่ถือเป็นการแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำร้องขอกันส่วนเงินของจำเลยเป็นคำคู่ความ การยื่นคำร้องดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 จึงจะนำมาตราดังกล่าวมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้เพราะมาตรานี้มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่การยื่นคำคู่ความต่อศาล
of 3