พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9022-9023/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ & การคิดอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา
การส่งหมายเรียกพยานบุคคล 5 คนซึ่งอยู่ที่ประเทศอังกฤษให้มาเป็นพยานตามคำร้องของผู้คัดค้านต้องใช้เวลานานเกินสมควรไม่ทันกำหนดนัดสืบพยานผู้คัดค้านและผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้น (ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง) ได้กำหนดนัดล่วงหน้าไว้แน่นอนแล้วโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเห็นชอบตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงไม่อนุญาต อย่างไรก็ตามศาลชั้นต้นก็มิได้ปฏิเสธคำร้องขอของผู้คัดค้านเสียทั้งหมด โดยยังคงเปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านส่งบันทึกถ้อยคำแทนการสืบพยานบุคคลของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งอยู่ต่างประเทศหรืออาจขอสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาลโดยระบบการประชุมทางจอภาพตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ข้อ 31 และข้อ 32 หรือนำพยานบุคคลดังกล่าวมาเป็นพยานเองก็ได้ แต่ผู้คัดค้านก็หาได้กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ พฤติการณ์ส่อแสดงว่าผู้คัดค้านประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเช่นนี้ชอบแล้ว
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ร. อนุญาโตตุลาการในประเทศอังกฤษไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้แล้วตามเอกสารท้ายคำคัดค้าน โดยมิได้อ้างเหตุว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือ เงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินปอนด์สเตอร์ลิงเท่านั้น โดยขอให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษานั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอบังคับของผู้ร้องโดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ร. อนุญาโตตุลาการในประเทศอังกฤษไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้แล้วตามเอกสารท้ายคำคัดค้าน โดยมิได้อ้างเหตุว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดีอย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศคือ เงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินปอนด์สเตอร์ลิงเท่านั้น โดยขอให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษานั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสองแล้ว ยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอบังคับของผู้ร้องโดยกำหนดการคิดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำร้องขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772-1773/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: กฎกาฟต้า, ข้อตกลง, และการบังคับตามอนุสัญญา NYC
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย คู่สัญญาทำขึ้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้า ซึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้าระบุให้ข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากหรือตามสัญญานี้ต้องพิจารณาตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ กฎอนุญาโตตุลาการและแบบฟอร์มของสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นไปตามกฎอนุญาโตตุลาการของก๊าฟต้า ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายแล้ว แม้วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตามกฎดังกล่าวจะแตกต่างไปจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 อยู่บ้าง จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว จะอ้างว่าขัดต่อ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 เพราะมิได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในชั้นพิจารณาอุทธรณ์หาได้ไม่ ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และมาตรา 35 แต่ก็ไม่ปรากฏกรณีดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้อง จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทย ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และผูกพันจำเลย
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และจำเลยนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่ออนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้ว โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้อุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎอนุญาโตตุลาการข้อที่ 125 ส่วนโจทก์ที่ 2 ยื่นเอกสารผลการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยได้รับทราบตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 อันมีผลเป็นการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำร้องขอของโจทก์ทั้งสองจึงยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นไปตามกฎอนุญาโตตุลาการของก๊าฟต้า ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายแล้ว แม้วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตามกฎดังกล่าวจะแตกต่างไปจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 อยู่บ้าง จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว จะอ้างว่าขัดต่อ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 เพราะมิได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในชั้นพิจารณาอุทธรณ์หาได้ไม่ ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และมาตรา 35 แต่ก็ไม่ปรากฏกรณีดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้อง จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทย ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และผูกพันจำเลย
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และจำเลยนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่ออนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้ว โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้อุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎอนุญาโตตุลาการข้อที่ 125 ส่วนโจทก์ที่ 2 ยื่นเอกสารผลการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยได้รับทราบตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 อันมีผลเป็นการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำร้องขอของโจทก์ทั้งสองจึงยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการตามสัญญาซื้อขายข้าว การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และคำชี้ขาดที่ใช้บังคับได้
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมาย จ.4 และ ร.5 ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่า สัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่ 119 ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่น ทั้งผู้ซื้อ (ผู้ร้อง) และผู้ขาย (ผู้คัดค้าน) ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าด้วย ผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมายร.4 และ ร.5 จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมาย ร.6ข้อ 29 มีใจความว่า หากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่ 125ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญา กฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้ว นอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่า กฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่ 125สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 เกิดขึ้น ผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนอ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ทางสมาคมได้แต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125ข้อ 3.7 และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว การแต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530
ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว
ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ.แต่อย่างใด ผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ.เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐาน และข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่า หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้
ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว
ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ.แต่อย่างใด ผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ.เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐาน และข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่า หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: เหตุผลที่ศาลไม่อาจบังคับตามคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 (4)ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีนั้นมีความเห็นแย้งหรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีให้คำรับรองแล้วว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งกำหนดถึงเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการด้วยอนุญาโตตุลาการจะต้องชี้ขาดตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ดังนั้น การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินร้อยละ 40 เป็นเงินเยนโดยไม่ต้องคำนึงถึงการขึ้นหรือลงของค่าเงินเยนหรือบาทโดยเทียบได้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 196วรรคสอง โดยมิได้ให้วิศวกรปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามข้อกำหนด จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ ศาลไม่อาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24วรรคแรก
เงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งกำหนดถึงเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการด้วยอนุญาโตตุลาการจะต้องชี้ขาดตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ดังนั้น การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินร้อยละ 40 เป็นเงินเยนโดยไม่ต้องคำนึงถึงการขึ้นหรือลงของค่าเงินเยนหรือบาทโดยเทียบได้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 196วรรคสอง โดยมิได้ให้วิศวกรปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามข้อกำหนด จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ ศาลไม่อาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างเหมา การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการอุทธรณ์ที่มิได้มีลักษณะต้องห้าม
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา26(4)ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีนั้นมีความเห็นแย้งหรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้เมื่อปรากฎว่าผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีให้คำรับรองแล้วว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ เงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งกำหนดถึงเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการด้วยอนุญาโตตุลาการจะต้องชี้ขาดตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาดังนั้นการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินร้อยละ40เป็นเงินเยนโดยไม่ต้องคำนึงถึงการขึ้นหรือลงของค่าเงินเยนหรือบาทโดยเทียบได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา196วรรคสองโดยมิได้ให้วิศวกรปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามข้อกำหนดจึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ศาลไม่อาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา24วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: กฎหมายอนุญาโตตุลาการอังกฤษใช้บังคับ, คำชี้ขาดผูกพันจำเลย, ดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระค่าระวางเรือค่าเรือเสียเวลา ค่านายหน้า และค่าป่วยการต่าง ๆ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าเรือทั้งสิ้นเท่าไร จำเลยได้ชำระให้โจทก์แล้วเป็นเงินเท่าไร และยังคงต้องชำระแก่โจทก์เป็นค่าระวางและค่าเรือเสียเวลารวม 12,635.73 เหรียญสหรัฐแต่จำเลยไม่ยอมชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ซึ่งจำเลยก็โต้แย้งเพียงว่าจำนวนค่าเช่าเรือและค่าเรือเสียเวลาไม่ตรงกับการคำนวณของจำเลยเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์เป็นอย่างดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าเรือได้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่สัญญาโดยได้ระบุสถานที่และวันทำสัญญาว่าเป็นกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2522แม้จำเลยผู้เช่าเรือได้ลงชื่อในสัญญาดังกล่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่ข้อสัญญาเพิ่มเติมได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในข้อ 38 ว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ดังนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงกันให้แจ้งชัดเป็นอย่างอื่นว่าจะใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศใดบังคับ แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยได้ว่า อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีตั้งขึ้น และการดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ เพราะตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าให้ระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13บัญญัติว่า "ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี..." ซึ่งย่อมมีความหมายว่ากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับแก่สาระสำคัญของข้อสัญญาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ให้เป็นไปตามทื่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้นั้น ดังนั้น การระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอนุญาโตตุลาการจึงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษมาบังคับ แม้โจทก์หรือจำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลตามสัญชาติอังกฤษก็ตาม
จำเลยได้ให้การถึงปัญหาตามที่จำเลยฎีกาไว้ชัดแจ้งและอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานั้นแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วย
คำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
การวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้สินค้างชำระต่อกันเป็นเงินที่โจทก์ต้องให้รางวัลแก่จำเลย (despatch) หรือเป็นเงินค่าเรือเสียเวลา (demurrage) ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาเช่าเรือหรือไม่ ก็ต้องวินิจฉัยจากข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามสัญญาแล้ว แม้ว่าอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมิใช่รัฐที่คู่สัญญาสังกัดอยู่ แต่เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโต-ตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เจตนาดังกล่าวย่อมบังคับกันได้ อนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้
เมื่อโจทก์และจำเลยเจตนาจะระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาโดยปริยายที่จะให้ใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษบังคับใช้กับข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาบทบัญญัติมาตรา165 (6) เดิม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้โดยถือว่าอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วหาได้ไม่
ปรากฏตามสัญญาเช่าเรือว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน โดยให้เจ้าของเรือและผู้เช่าเรือตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละ 1 คน ซึ่งโจทก์ก็ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายของโจทก์แล้ว แต่จำเลยมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยเป็นการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อสัญญา การตั้งอนุญาโตตุลาการของโจทก์หาจำต้องกระทำด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายไม่
แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ.1958) ประเทศอังกฤษและประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ส่วนประเทศ-สาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่ข้อ 1 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญานี้ที่กำหนดว่า "อนุสัญญานี้จะใช้แก่การยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่งนอกจากรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดเช่นว่านั้น และซึ่งเกิดจากข้อแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อนุสัญญานี้จะใช้แก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งในรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับนั้นไม่ถือว่าเป็นคำชี้ขาดภายในด้วย" นั้น ไม่ได้นำหลักสัญชาติหรือภูมิลำเนาของคู่กรณีมาเป็นเงื่อนไขในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในประเทศอังกฤษอันเป็นอาณาเขตของรัฐอื่นที่มิใช่อาณาเขตของประเทศไทยอันเป็นรัฐที่มีการขอให้ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดนั้นเช่นในคดีนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไลบีเรียพิพาทกับจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยและมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด แม้โจทก์จะมีสัญชาติไลบีเรียซึ่งประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวก็ตาม แต่โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยและได้ประกาศเรื่องประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยให้อนุสัญญานี้เป็นอันใช้ระหว่างประเทศไทยกับบรรดาประเทศภาคีแห่งอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2503 ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการซึ่งทำขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ คู่กรณีจึงอาจขอให้บังคับในศาลไทยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
โจทก์ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการถูกต้องแล้ว ส่วนการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ โจทก์ได้ส่งข้อพิพาท รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ และจำนวนเงินที่เรียกร้องให้จำเลยตามสำเนาบันทึกข้อเรียกร้อง และได้แจ้งให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน มิฉะนั้นโจทก์จะยื่นคำร้องขอคำสั่งอนุญาโตตุลาการต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ.1950 มาตรา 7 (บี)ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมานั้นไม่ว่าจะไม่ได้ตั้งแต่แรกหรือไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการแทนที่ภายใน 7 วันหลังจากที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนแล้ว และได้แจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายแรกที่ยังไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการให้ตั้งอนุญาโตตุลาการของตนเสียในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้แล้ว อาจตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวนั้นย่อมจะผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเสมือนหนึ่งว่าเขาได้รับการแต่งตั้งโดยความยินยอมและมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันบัญญัติว่า ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนากันไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการทุกสัญญาให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญากับผู้เกี่ยวข้องที่เรียกร้องภายใต้สัญญาดังกล่าว ดังนี้ เมื่อคดีนี้ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษบังคับ กรณีจึงต้องวินิจฉัยตามมาตรา 7 (บี)และ 16 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ตั้งอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ตามสัญญาอนุญาโตตุลาการและได้ขอให้จำเลยแจ้งชื่ออนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยโดยเร็วที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน ดังกล่าวให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตามมาตรา 7 (บี) ดังกล่าวและเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบถึงข้อพิพาทข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ จำนวนเงินที่เรียกร้อง กับให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อนุญาโตุลาการที่โจทก์แต่งตั้งดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาลก่อน และสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ ข้อ 38 ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่ได้ อำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยขาดนัดจึงเป็นเรื่องที่อนุญาโตตุลาการ ณ กรุง-ลอนดอน สามารถทำได้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษในกรณีที่จำเลยขาดนัดย่อมผูกพันจำเลยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ. 1950มาตรา 16 ของประเทศอังกฤษ
ปรากฏว่าฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินสำหรับเงินรางวัลที่จำเลยขนถ่ายสินค้าเร็วกว่ากำหนดและข้อต่อสู้เรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ทำคำให้การต่อสู้ไว้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันจำเลย จำเลยมิได้มีคำอ้างแสดงว่าอนุญาโตตุลาการมิได้กระทำการโดยสุจริตหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉลข้อต่อสู้ของจำเลยจึงมิอาจลบล้างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
เมื่อต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศ-อังกฤษบังคับแก่คดีนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผูกพันจำเลย โจทก์ขอให้ศาลไทยบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้และไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี กรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้แก่คดีนี้ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปีได้ คงให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยได้เพียงในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการในประเทศอังกฤษไม่ปรากฏมีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการแห่งประเทศอังกฤษจึงผูกพันจำเลย โจทก์ย่อมขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยอยู่ในเขตอำนาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจะไม่เกิน200,000 บาท และฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าข้อฎีกาดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ด้วย และศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ-อังกฤษขัดต่อกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยเหตุดังกล่าว คำชี้ขาดนั้นย่อมผูกพันจำเลย ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำเลยต้องชำระค่าเรือเสียเวลาให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถทุ่นเวลาในการบรรทุกสินค้าขึ้นเรือได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้เงินรางวัลจากโจทก์ตามฟ้องแย้ง
สัญญาเช่าเรือได้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่สัญญาโดยได้ระบุสถานที่และวันทำสัญญาว่าเป็นกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2522แม้จำเลยผู้เช่าเรือได้ลงชื่อในสัญญาดังกล่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่ข้อสัญญาเพิ่มเติมได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในข้อ 38 ว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ดังนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงกันให้แจ้งชัดเป็นอย่างอื่นว่าจะใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศใดบังคับ แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยได้ว่า อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีตั้งขึ้น และการดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ เพราะตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าให้ระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13บัญญัติว่า "ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี..." ซึ่งย่อมมีความหมายว่ากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับแก่สาระสำคัญของข้อสัญญาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ให้เป็นไปตามทื่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้นั้น ดังนั้น การระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอนุญาโตตุลาการจึงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษมาบังคับ แม้โจทก์หรือจำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลตามสัญชาติอังกฤษก็ตาม
จำเลยได้ให้การถึงปัญหาตามที่จำเลยฎีกาไว้ชัดแจ้งและอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานั้นแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วย
คำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
การวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้สินค้างชำระต่อกันเป็นเงินที่โจทก์ต้องให้รางวัลแก่จำเลย (despatch) หรือเป็นเงินค่าเรือเสียเวลา (demurrage) ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาเช่าเรือหรือไม่ ก็ต้องวินิจฉัยจากข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามสัญญาแล้ว แม้ว่าอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมิใช่รัฐที่คู่สัญญาสังกัดอยู่ แต่เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโต-ตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เจตนาดังกล่าวย่อมบังคับกันได้ อนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้
เมื่อโจทก์และจำเลยเจตนาจะระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาโดยปริยายที่จะให้ใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษบังคับใช้กับข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาบทบัญญัติมาตรา165 (6) เดิม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้โดยถือว่าอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วหาได้ไม่
ปรากฏตามสัญญาเช่าเรือว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน โดยให้เจ้าของเรือและผู้เช่าเรือตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละ 1 คน ซึ่งโจทก์ก็ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายของโจทก์แล้ว แต่จำเลยมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยเป็นการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อสัญญา การตั้งอนุญาโตตุลาการของโจทก์หาจำต้องกระทำด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายไม่
แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ.1958) ประเทศอังกฤษและประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ส่วนประเทศ-สาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่ข้อ 1 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญานี้ที่กำหนดว่า "อนุสัญญานี้จะใช้แก่การยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่งนอกจากรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดเช่นว่านั้น และซึ่งเกิดจากข้อแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อนุสัญญานี้จะใช้แก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งในรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับนั้นไม่ถือว่าเป็นคำชี้ขาดภายในด้วย" นั้น ไม่ได้นำหลักสัญชาติหรือภูมิลำเนาของคู่กรณีมาเป็นเงื่อนไขในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในประเทศอังกฤษอันเป็นอาณาเขตของรัฐอื่นที่มิใช่อาณาเขตของประเทศไทยอันเป็นรัฐที่มีการขอให้ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดนั้นเช่นในคดีนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไลบีเรียพิพาทกับจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยและมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด แม้โจทก์จะมีสัญชาติไลบีเรียซึ่งประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวก็ตาม แต่โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยและได้ประกาศเรื่องประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยให้อนุสัญญานี้เป็นอันใช้ระหว่างประเทศไทยกับบรรดาประเทศภาคีแห่งอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2503 ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการซึ่งทำขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ คู่กรณีจึงอาจขอให้บังคับในศาลไทยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
โจทก์ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการถูกต้องแล้ว ส่วนการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ โจทก์ได้ส่งข้อพิพาท รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ และจำนวนเงินที่เรียกร้องให้จำเลยตามสำเนาบันทึกข้อเรียกร้อง และได้แจ้งให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน มิฉะนั้นโจทก์จะยื่นคำร้องขอคำสั่งอนุญาโตตุลาการต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ.1950 มาตรา 7 (บี)ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมานั้นไม่ว่าจะไม่ได้ตั้งแต่แรกหรือไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการแทนที่ภายใน 7 วันหลังจากที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนแล้ว และได้แจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายแรกที่ยังไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการให้ตั้งอนุญาโตตุลาการของตนเสียในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้แล้ว อาจตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวนั้นย่อมจะผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเสมือนหนึ่งว่าเขาได้รับการแต่งตั้งโดยความยินยอมและมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันบัญญัติว่า ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนากันไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการทุกสัญญาให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญากับผู้เกี่ยวข้องที่เรียกร้องภายใต้สัญญาดังกล่าว ดังนี้ เมื่อคดีนี้ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษบังคับ กรณีจึงต้องวินิจฉัยตามมาตรา 7 (บี)และ 16 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ตั้งอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ตามสัญญาอนุญาโตตุลาการและได้ขอให้จำเลยแจ้งชื่ออนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยโดยเร็วที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน ดังกล่าวให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตามมาตรา 7 (บี) ดังกล่าวและเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบถึงข้อพิพาทข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ จำนวนเงินที่เรียกร้อง กับให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อนุญาโตุลาการที่โจทก์แต่งตั้งดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาลก่อน และสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ ข้อ 38 ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่ได้ อำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยขาดนัดจึงเป็นเรื่องที่อนุญาโตตุลาการ ณ กรุง-ลอนดอน สามารถทำได้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษในกรณีที่จำเลยขาดนัดย่อมผูกพันจำเลยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ. 1950มาตรา 16 ของประเทศอังกฤษ
ปรากฏว่าฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินสำหรับเงินรางวัลที่จำเลยขนถ่ายสินค้าเร็วกว่ากำหนดและข้อต่อสู้เรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ทำคำให้การต่อสู้ไว้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันจำเลย จำเลยมิได้มีคำอ้างแสดงว่าอนุญาโตตุลาการมิได้กระทำการโดยสุจริตหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉลข้อต่อสู้ของจำเลยจึงมิอาจลบล้างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
เมื่อต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศ-อังกฤษบังคับแก่คดีนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผูกพันจำเลย โจทก์ขอให้ศาลไทยบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้และไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี กรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้แก่คดีนี้ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปีได้ คงให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยได้เพียงในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการในประเทศอังกฤษไม่ปรากฏมีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการแห่งประเทศอังกฤษจึงผูกพันจำเลย โจทก์ย่อมขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยอยู่ในเขตอำนาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจะไม่เกิน200,000 บาท และฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าข้อฎีกาดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ด้วย และศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ-อังกฤษขัดต่อกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยเหตุดังกล่าว คำชี้ขาดนั้นย่อมผูกพันจำเลย ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำเลยต้องชำระค่าเรือเสียเวลาให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถทุ่นเวลาในการบรรทุกสินค้าขึ้นเรือได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้เงินรางวัลจากโจทก์ตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: เริ่มนับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาด ไม่ใช่วันที่ทราบข้อความ
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตาม มาตรา 31 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มีความหมายว่า นับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมิน หรือ นับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้นมิได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบข้อความในคำชี้ขาด
แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอายุความฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดถึงผู้รับประเมิน
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 31 วรรคแรกมีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมินหรือนับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบ ข้อความในคำชี้ขาด แม้ตามพิพากษาภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475มาตรา 31 วรรคแรกจะใช้คำว่า ผู้รับประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ต้องเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ซึ่งมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 31 ด้วย กล่าวคือจะต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับคำชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีภาษีอากร: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดของผู้รับประเมิน แม้ผู้มีส่วนได้เสียต้องปฏิบัติตาม
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตาม มาตรา 31 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมิน หรือ นับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้นมิได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบข้อความในคำชี้ขาด แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้วโจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การยื่นคำขอหลังกำหนด
บทบัญญัติในมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มิใช่บทยกเว้นหลักการในการขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย แต่เป็นบทบัญญัติถึงความสมบูรณ์แห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการและการตั้งอนุญาโตตุลาการว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้น ฉะนั้น แม้อนุญาโตตุลาการจะมีคำชี้ขาดให้จำเลยชำระหนี้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็จะยกมาเป็นเหตุอ้างขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดโดยอนุโลมตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 93 หาได้ไม่ เพราะผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาแทนลูกหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังจากพ้นกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะไม่รับคำขอของผู้ร้อง