คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำตักเตือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุอันสมควร กรณีลูกจ้างกระทำผิดซ้ำหลังได้รับคำตักเตือนแล้ว
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (4) ไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ แต่ตามใบเตือนของจำเลยคงระบุแต่เพียงว่าโจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกและหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษไว้ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45, 47 (4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำแต่การที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้งและหลังจากโจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็นประจำอีก ทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเรื่องอื่น ๆ เช่นนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโจทก์จึงไม่สิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ และไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 ในวันพิจารณาโจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำงานกับจำเลยโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริงอันเป็นการยอมรับว่าใบเตือนดังกล่าวได้ออกโดยจำเลยซึ่งศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ ส.จึงบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์จริง ฉะนั้นที่โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่า ใบเตือนดังกล่าวออกโดยผู้มีอำนาจหรือไม่ไม่ปรากฏจึงเป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบนั้น ย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ คำตักเตือนก่อนข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับใช้ได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3) ที่ให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายโดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนั้น หนังสือตักเตือนดังกล่าวจะมีอยู่ก่อนหรือมีขึ้นภายหลังจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับก็ได้ เมื่อปรากฏว่าก่อนที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้ว และลูกจ้างได้มา กระทำผิดซ้ำคำตักเตือนเป็นหนังสือภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับอีก นายจ้างย่อมเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย: คำตักเตือนต้องไม่เก่าเกินไปและต้องเป็นเหตุเดียวกัน
จำเลยผู้เป็นนายจ้างตักเตือนโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเป็นหนังสือครั้งแรกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินของพนักงานที่เก็บไว้ในสำนักงานสูญหาย ไม่ใช่เป็นการตักเตือนเรื่องดื่มสุราใช้ถ้อยคำไม่สุภาพและก้าวร้าวต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นความผิดที่จำเลยกระทำครั้งหลังและจำเลยถือเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการตักเตือนในความผิดคนละเหตุกัน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับคำตักเตือนโจทก์ครั้งที่สอง แม้จะเป็นการตักเตือนในเหตุเดียวกับการกระทำผิดในครั้งหลัง แต่ได้ความว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหลังจากที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ 1 ปี 2 เดือน 27 วัน เช่นนี้คำตักเตือนดังกล่าวเนิ่นนานเกินควรที่จะนำมาเป็นข้อพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการฝ่าฝืนข้อบังคับครั้งหลังได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาคำตักเตือนและการเลิกจ้าง: คำตักเตือนมีอายุจำกัด พิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี
ลูกจ้างเข้าทำงานกะบ่ายตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกา ซึ่งจะ ต้องทำงานจนถึงเวลา 23 นาฬิกา แต่เวลา 22.55 นาฬิกา ลูกจ้างออกไปนอกบริษัทนายจ้างโดยไม่มีบัตรผ่าน และไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อนแล้วกลับเข้ามาปั๊มบัตรลงชื่อเลิกงานตามกะ ดังนี้ลูกจ้างไม่ทำงานให้นายจ้างเพียง 5 นาที การปั๊มบัตรลงชื่อทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงนั้น เกิดโทษแก่บริษัทนายจ้างน้อยมาก ยังไม่พอถือว่าลูกจ้างทำการทุจริตต่อหน้าที่และยังไม่เป็นการกระทำผิดทางอาญาแก่นายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47 (1)
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47 (3) มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะหมดอายุหรือระยะเวลานานเท่าใด จึงจะเป็นระยะเวลาที่นานเกินสมควรที่ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างโดยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่ก็ไม่หมายความว่าเมื่อนายจ้าง ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดไปหากลูกจ้างรู้สำนึกตัวและปรับปรุงแก้ไขการทำงานการประพฤติ ตัวของตนแล้วคำตักเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไปและการพิจารณาว่าระยะเวลาคำตักเตือนเป็นหนังสือกับการฝ่าฝืน ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างครั้งหลัง เป็นระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
โจทก์ออกไปนอกบริเวณโรงงานเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงงานเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2526 เป็นเวลา 10 นาทีและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ อีก ในวันที่ 16 เมษายน 2527 โดยออกจากบริเวณโรงงานก่อนครบกำหนดกะทำงาน 5 นาทีดังนี้เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ความเสียหายการงานของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างและระยะเวลาของคำตักเตือนเป็นหนังสือครั้งแรกกับการกระทำผิดครั้งนี้แล้วถือว่าคำตักเตือนนั้นมีอายุเนิ่นนานเกินสมควรที่จะนำมาพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ครั้งหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: ระยะเวลาคำตักเตือน, การฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง, และผลกระทบต่อค่าชดเชย
ลูกจ้างเข้าทำงานกะบ่ายตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกา ซึ่งจะ ต้องทำงานจนถึงเวลา23 นาฬิกาแต่เวลา22.55 นาฬิกา ลูกจ้างออกไปนอกบริษัทนายจ้างโดยไม่มีบัตรผ่าน และไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อนแล้วกลับเข้ามาปั๊มบัตรลงชื่อเลิกงานตามกะดังนี้ลูกจ้างไม่ทำงานให้นายจ้างเพียง 5นาที การปั๊มบัตรลงชื่อทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงนั้นเกิด โทษแก่บริษัทนายจ้างน้อยมากยังไม่พอถือว่าลูกจ้างทำการทุจริตต่อหน้าที่และยังไม่เป็นการกระทำผิดทางอาญาแก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(1) แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3) มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะหมดอายุหรือระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลาที่นานเกินสมควรที่ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างโดยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่ก็ไม่หมายความว่า เมื่อนายจ้าง ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดไปหากลูกจ้างรู้สำนึกตัวและปรับปรุงแก้ไขการทำงานการประพฤติ ตัวของตนแล้ว คำตักเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไปและการ พิจารณาว่าระยะเวลาคำตักเตือนเป็นหนังสือกับการฝ่าฝืน ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างครั้งหลัง เป็นระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่องๆ ไป โจทก์ออกไปนอกบริเวณโรงงานเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงงานเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2526 เป็นเวลา 10 นาทีและได้ รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ อีก ในวันที่ 16 เมษายน 2527 โดยออกจากบริเวณโรงงานก่อนครบ กำหนดกะทำงาน 5 นาทีดังนี้เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ความเสียหายการงานของบริษัทจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างและระยะเวลาของคำตักเตือนเป็นหนังสือครั้งแรกกับการกระทำผิดครั้งนี้แล้วถือว่าคำตักเตือนนั้นมีอายุ เนิ่นนานเกินสมควรที่จะนำมาพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการ ฝ่าฝืนข้อบังคับฯครั้งหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อการริบเงินในคดีพนัน
ใบบันทึกการจับกุมที่กล่าวว่าจำเลยรับสารภาพแล้วมีลายเซ็นชื่อจำเลยไว้ด้วยนั้น เมื่อเจ้าพนักงานสอบสวนมิได้ให้คำตักเตือนจำเลยก่อนทำใบบันทึกดังที่ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.134 บังคับไว้แล้ว ข้อความในใบบันทึกนั้นใช้ยันจำเลยไม่ได้
ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลย 1 เดือน 15 วัน และริบเงินโดยฟังว่าจำเลยเอาเล่นการพะนัน จำเลยอุทธรณ์ฉะเพาะการริบเงิน ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยไม่ได้นำออกเล่น ไม่ริบ โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงในเรื่องริบเงินนั้นได้.