พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำทั่วไป 'TWO WAY' เป็นเครื่องหมายการค้า ต้องไม่ทำให้สับสนและมีลักษณะแตกต่างจากเครื่องหมายเดิม
คำว่า TWOWAY เป็นคำทั่วไปมีความหมายสองทาง ซึ่งบุคคลทั่วไปนำคำนี้ไปใช้ได้ แม้โจทก์จะจดทะเบียนคำว่า TWOWAY และ ทูเวย์ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนแล้ว ก็ไม่มีสิทธิหวงกันมิให้บุคคลอื่นใช้คำนี้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำคำนี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังต้องทำให้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด การที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการ TWOWAY หรือ 2WAYประกอบรูปลูกศรสลับหัวอันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำไปใช้ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า Tellme อันมีลักษณะขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้ง Tellme ว่าใช้ได้สองทางทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำ ฉะนั้น การที่บุคคลอื่นใช้คำว่า ทูเวย์เคค ประกอบคำว่า sunmelon โดยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะใช้กับสินค้าแป้งชนิดเดียวกับของโจทก์ แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันซึ่งไม่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีส่วนของคำทั่วไป: อำนาจของนายทะเบียนในการสั่งให้สละสิทธิบางส่วน
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 17 (1) ให้อำนาจนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าในอันที่จะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แต่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วนมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ แสดงปฏิเสธว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ส่วนที่มีลักษณะไม่บ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้ารายนั้น คำว่า "มหาชัย" เป็นชื่อตำบลหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ย. โดยให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำว่า "มหาชัย" จึงหาขัดต่อกฎหมายอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้า 'COOL' เมื่อใช้เป็นคำทั่วไปหรือโฆษณาสรรพคุณสินค้า
ในเรื่องการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 41 (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิบัญญัติว่า ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าเครื่องหมาย-การค้านั้นในบัดนี้เป็นสิ่งสามัญในการค้าขาย ปรากฏว่ามีสินค้าหลายชนิด เช่น น้ำยาปรับอุณหภูมิหม้อน้ำรถยนต์ ยาสระผม ยาสีฟัน น้ำยาฉีดเท้า น้ำยาหลังโกนหนวดใช้คำว่า COOL รวมอยู่กับถ้อยคำอื่นเพื่อต้องการบอกให้ผู้บริโภครู้ว่าเมื่อใช้สินค้านั้นแล้วจะเกิดความเย็นขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเพียงคำโฆษณาสรรพคุณของสินค้าเท่านั้น ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า COOL ของจำเลยได้กลายเป็นสิ่งสามัญในการค้าขายไปแล้ว โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
การที่นายทะเบียนจะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนแห่งเครื่องหมายการค้านั้นมีได้ 2 กรณี คือ เมื่อเห็นว่าเครื่องหมายการค้านั้นมีสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายหรือเครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะว่าเป็นของสินค้านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นคำขอจดทะเบียน
การที่นายทะเบียนจะสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนแห่งเครื่องหมายการค้านั้นมีได้ 2 กรณี คือ เมื่อเห็นว่าเครื่องหมายการค้านั้นมีสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายหรือเครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะว่าเป็นของสินค้านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นคำขอจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และสิทธิในการใช้คำทั่วไป (กุ๊ก) เพื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปการ์ตูนเต็มทั้งตัว แต่งตัวเป็นพ่อครัว ลำตัวคล้ายขวด มีมือสองข้างและเท้าสองข้าง คำว่า กุ๊ก และ COOKอยู่กลางลำตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวยกมือข้างซ้ายชูนิ้วหัวแม่มือ ผูกหูกระต่ายที่คออย่างเด่นชัด ใต้รูปดังกล่าวมีคำว่ากุ๊กอินเตอร์ และ INTER COOK ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอยู่ที่รูปคนยิ้มสวมหมวกพ่อครัวครึ่งตัวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคำว่า กุ๊กอินเตอร์ และ INTERCOOK รูปคนครึ่งตัวดังกล่าวแตกต่างจากรูปการ์ตูนเต็มตัวมีลักษณะเป็นขวดตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์อย่างชัดเจน ประกอบกับสลากปิดสินค้าปลากระป๋องรวมมิตรทะเลตรากุ๊กอินเตอร์ของจำเลยมีรูปคนครึ่งตัวดังกล่าวพร้อมระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายไว้ด้วย ทั้งสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็มีเพียงชนิดเดียวคือน้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นอาหารกระป๋อง ไม่มีน้ำมันพืช ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะทำให้สาธารณชนหลงผิด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย จะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 คำว่า กุ๊กหมายถึง พ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง ฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำสามัญที่มีคำแปล ไม่ก่อให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้คำว่า กุ๊ก แต่เพียงผู้เดียว บุคคลทั่วไปต่างใช้คำว่า กุ๊ก ได้จำเลยจึงมีสิทธิใช้คำดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย จะร้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจนอาจทำให้สับสน และการใช้คำทั่วไป
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHTMAN(ไลท์แมน)ของโจทก์ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบ ขนาดและลักษณะของตัวอักษรต่างกันตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่แบบที่ 3เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านหลัง ส่วนแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN แบบที่ 4 ซึ่งใช้กับกางเกงยีนสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIGHTMAN อยู่ด้านบนคำว่าFORWORKANDPLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างด้วยส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า LIONMAN(อ่านว่า ไลออนแมน)ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนิดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 4-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3กับแบบที่ 4 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่าไลท์แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษรไลออนแมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์ สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะของคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้น ก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่คำเฉพาะ และมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่า ไลท์ กับคำว่าไลออนนั้นมีความหมายแตกต่างกันมากทั้งคำว่าไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียว ส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฎที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์ กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้วเห็นได้ชัดว่าลักษณะตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายบริการ: 'Make THE Difference' ไม่ใช่คำที่ใช้ทั่วไปในการบริการธนาคาร
คำหรือข้อความที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการบริการนั้น หากว่าเป็นคำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของรายการบริการธนาคารพาณิชย์ที่ขอจดทะเบียนโดยตรงแล้ว คำหรือข้อความนั้นย่อมถือได้ว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว ส่วนคำหรือข้อความอันเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องหมายบริการที่เมื่อโจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจมีคำสั่งให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการนั้นแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำหรือข้อความว่า "Make THE Difference" ดังกล่าวตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 17 ต้องได้ความว่า คำหรือข้อความนั้นเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการบริการสำหรับบริการธนาคารพาณิชย์ที่ขอจดทะเบียนอันไม่ควรให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหนึ่งรายใดถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวกรณีหนึ่งหรือเป็นกรณีที่คำหรือข้อความดังกล่าวมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ สำหรับกรณีการขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า "TMB Make THE Difference" เพื่อใช้กับบริการจำพวก 36 รายการบริการ ธนาคารพาณิชย์ นี้ ข้อความว่า "Make THE Difference" เป็นข้อความที่นำเอาภาษาอังกฤษจำนวน 3 คำ มาประกอบกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายของคำดังกล่าวตามพจนานุกรมแล้ว สามารถแปลได้ความหมายรวมกัน "ทำให้เกิดความแตกต่าง หรือสร้างความแตกต่าง" ซึ่งมีลักษณะเป็นคำบรรยายทั่วไป ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการธนาคารพาณิชย์อันเป็นรายการบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนแต่อย่างใด ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นเพียงคำแนะนำ ยังไม่ใช่คำพรรณนาที่จะทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้โดยทันทีถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับกิจการธนาคารพาณิชย์ทั้งปวงซึ่งใช้เครื่องหมายบริการนี้โดยตรงว่ามีลักษณะหรือคุณสมบัติใดเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่ผู้ใช้บริการจะต้องจินตนาการหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจึงจะทราบได้ว่าบริการเกี่ยวกับกิจการธนาคารพาณิชย์ของโจทก์แตกต่างจากบริการอื่นอย่างไร นอกจากนี้ข้อความว่า "Make THE Difference" ยังมิได้เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญสำหรับการให้บริการเกี่ยวกับกิจการธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ประกาศกำหนดให้ข้อความดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการให้บริการธนาคารพาณิชย์ที่โจทก์ขอจดทะเบียนด้วย ข้อความว่า "Make THE Difference" ดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการธนาคารพาณิชย์โดยตรงและมิได้เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายหรือบริการสำหรับรายการบริการธนาคารพาณิชย์ที่โจทก์ขอจดทะเบียน ดังนั้นเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า "TMB Make THE Difference" จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 โดยโจทก์ไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันข้อความว่า "Make THE Difference"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15017/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายบริการ 'Dream, Believe, Achieve' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นคำทั่วไป แต่มีองค์ประกอบพิเศษและไม่ได้สื่อถึงลักษณะบริการโดยตรง
เครื่องหมายบริการที่จะเป็นเครื่องหมายบริการประเภทคำหรือข้อความที่ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะได้ จะต้องเป็นเครื่องหมายบริการที่มีคำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการนั้นโดยตรง เครื่องหมายบริการตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์คำว่า Dream , Believe and Achieve ... นั้นประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน เครื่องหมายจุลภาค และจุดไข่ปลา ประกอบกัน เขียนด้วยลายมือของโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการดังกล่าวเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 35 รายการบริการ จัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้า แม้ถ้อยคำแต่ละคำเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้ว ไม่ใช่คำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ โดยความหมายของคำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการแปลเป็นภาษาไทยตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแปลความหมายของคำดังกล่าวไว้ว่า ฝัน เชื่อ และ สำเร็จ หรือความหมายว่า จงมีความฝัน จงมีความเชื่อและจะประสบความสำเร็จ ตามคำแปลของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แต่เมื่อถ้อยคำดังกล่าวนั้นโจทก์เป็นผู้ริเริ่มนำมารวมกันเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายบริการสำหรับรายการบริการจัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้าของโจทก์ ทั้งยังมีลักษณะพิเศษคือตัวอักษรโรมันและเครื่องหมายที่ใช้ประกอบกันเป็นคำนั้นเป็นตัวอักษรโรมันที่เขียนด้วยลายมือของโจทก์ซึ่งไม่เหมือนกับผู้ใด การวางตำแหน่งตัวอักษรก็จัดวางเป็นสองแถวซ้อนกัน ดังนั้นประชาชนหรือผู้ใช้บริการย่อมสามารถทราบและเข้าใจได้ว่าการบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์นั้นแตกต่างไปจากการบริการอื่น ประกอบกับคำว่า Dream , Believe and Achieve ... ที่โจทก์ขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับบริการจำพวกที่ 35 รายการบริการ จัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้า เมื่อพิจารณาแล้วไม่ปรากฏว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับลักษณะของการบริการจัดการธุรกิจในห้างสรรพสินค้าอันเป็นรายการบริการที่โจทก์มุ่งใช้กับเครื่องหมายบริการดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นคำว่า Dream , Believe and Achieve ... จึงเป็นคำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของรายการบริการของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนโดยตรง และถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายบริการที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้ว่าบริการของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายบริการนั้นแตกต่างไปจากบริการที่ใช้เครื่องหมายอื่น จึงเป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9163/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: การดัดแปลงคำทั่วไป ไม่สร้างลักษณะบ่งเฉพาะ
สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของโจทก์นี้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการตัดคำบางคำจากคำภาษาต่างประเทศที่ใช้กันเป็นปกติธรรมดาแบบมีความหมายในสังคมคือคำว่า "AIR CONDITIONER" หรือคำว่า "AIR CONDITIONING" มาประกอบกันเป็นคำเดียว ดังนั้นแม้โจทก์จะได้ดัดแปลงตัวอักษรโรมันตัวโอในคำดังกล่าวให้มีลักษณะแตกต่างจากตัวอักษรที่ประชาชนใช้กันอยู่ทั่วไปในสังคมอยู่แล้วก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมาย จึงไม่ทำให้คำว่า "" เป็นคำประดิษฐ์แต่อย่างใด จึงไม่อาจถือได้ว่า คำว่า "" มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา ๗ วรรคสอง (๓) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534