พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การประเมินราคาทรัพย์สินใหม่เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเมื่อราคาเดิมสูงเกินไป
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดว่า ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ส่วนการคำนวณราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนด ถ้าไม่ตกลงกันให้คู่ความที่เกี่ยวข้องเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 นั้น หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคมทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากพฤติการณ์ต่างๆ ปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณอัตราเงินสมทบเงินทดแทน ต้องใช้เฉพาะเงินทดแทนที่จ่ายจริงในปีนั้น ไม่รวมค่าทดแทนในอนาคต
ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามนั้น เป็นการเพิ่มหรือลดอัตราเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นการเพิ่มหรือลดตามสัดส่วนการสูญเสียของนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินทดแทนโดยใช้จำนวนเงินทดแทนที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนแต่ละปี สำหรับเงินทดแทนส่วนที่เป็นค่าทดแทนรายเดือนที่กำหนดจ่ายเกินกว่า 1 ปี ค่าทดแทนดังกล่าวหมายเฉพาะค่าทดแทนที่ต้องจ่ายจริงในปีนั้น ๆ เท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงค่าทดแทนส่วนที่ยังไม่ถึงเวลาที่ลูกจ้างจะได้รับในปีนั้นด้วยไม่ คำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่ 167/2545 ของจำเลยที่ถือเอาเงินทดแทนที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 484,368 บาท เป็นฐานในการคำนวณอัตราส่วนการสูญเสียจึงไม่ชอบ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว และกำหนดอัตราเงินสมทบใหม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายจากการปล้นทรัพย์: แก้ไขจำนวนยางพาราที่ยังไม่ได้คืนให้ถูกต้อง
ยางพาราแผ่นของผู้เสียหายที่ 1 ถูกคนร้ายปล้นเอาไป 9,500 กิโลกรัม ซึ่งตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืนและบัญชีของกลางคดีอาญาปรากฏว่า หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนยึดยางพาราแผ่นที่ถูกปล้นคืนมาได้รวม 3,169.5 กิโลกรัม มากกว่าจำนวน 2,987.5 กิโลกรัม ซึ่งเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 212,307.50 บาท โดยคำนวณจากจำนวนยางพาราแผ่นที่ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้คืนตามฟ้อง 6,512.5 กิโลกรัม จึงเกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่พิจารณาได้ความ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 โดยคำนวณราคายางพาราแผ่นตามฟ้องได้กิโลกรัมละ 32.63 บาท ผู้เสียหายที่ 1 ยังไม่ได้รับยางพาราแผ่นคืน 6,330.5 กิโลกรัม จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนหรือใช้ราคายางพาราแผ่นที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายที่ 1 เพียง 206,564.22 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจขยายตามสมควร โดยไม่จำกัดเหตุผล และการคำนวณระยะเวลาที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์หยุดราชการ วันที่ 24 พฤษภาคม2542 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 15 วัน โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 24พฤษภาคม 2542 หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาตามที่โจทก์ต้องการเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดในวันที่ 7 มิถุนายน 2542 มิใช่วันที่ 8 มิถุนายน 2542 และการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีอำนาจทั่วไปที่จะอนุญาตขยายให้เท่าใดก็ได้ตามเหตุผลที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลานั้น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 18 มิถุนายน2542 จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดินและดอกเบี้ย: การคำนวณค่าเสียหายและการจ่ายดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
เมื่อกำหนดค่าเสียหายรายเดือนหลังจากวันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคตให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามจำนวนที่ควรจะได้รับแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้องอีก เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดีที่ดิน: ใช้เนื้อที่จริงในการคิดค่าธรรมเนียมและอุทธรณ์ แม้การประมาณการในชั้นต้นจะต่างกัน
การคำนวณราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่ว่าเพื่อเสียค่าธรรมเนียมศาลหรืออุทธรณ์ฎีกา ต้องคำนวณตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ตามความเป็นจริง
ตามคำฟ้อง คำให้การ และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความได้คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ที่ดินพิพาทได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาท ราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท ต้องถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
ตามคำฟ้อง คำให้การ และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความได้คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ที่ดินพิพาทได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาท ราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท ต้องถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7952/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์รวมเมื่อหนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน
การคำนวณค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 150 จะต้องพิจารณาจากคำฟ้องแต่ละคดีเป็นเกณฑ์ โดยหลักจะต้องคำนวณตามทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องมาในคดีนั้น เว้นแต่ทุนทรัพย์แต่ละข้อหาไม่มีความเกี่ยวพันกัน สามารถแยกจากกันได้โดยชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตามสัญญากู้ยืมอีก 2 ฉบับ โดยจำเลยทำคำขอสินเชื่อจากโจทก์และได้รับอนุมัติจากโจทก์ในลักษณะต่อเนื่องกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงยินยอมให้โจทก์นำหนี้ในบัญชีกระแสรายวันเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่เบิกเกินบัญชีได้ และจำเลยได้จำนองอาคารชุดและที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ดังกล่าว มูลหนี้ในแต่ละข้อหาจึงมีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกันและกัน การคำนวณค่าขึ้นศาลจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้งคดี
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตามสัญญากู้ยืมอีก 2 ฉบับ โดยจำเลยทำคำขอสินเชื่อจากโจทก์และได้รับอนุมัติจากโจทก์ในลักษณะต่อเนื่องกัน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงยินยอมให้โจทก์นำหนี้ในบัญชีกระแสรายวันเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่เบิกเกินบัญชีได้ และจำเลยได้จำนองอาคารชุดและที่ดินไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ดังกล่าว มูลหนี้ในแต่ละข้อหาจึงมีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกันและกัน การคำนวณค่าขึ้นศาลจึงต้องคำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกันก็ได้
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัวโจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคน การที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัวโจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคน การที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่มีการนำสืบรายละเอียดวิธีการคำนวณ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จำนวน 1 เดือน กับ 16 วัน เป็นเงิน 107,333 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบถึงวิธีการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความถึงเงินจำนวนตามฟ้องเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างอัตราค่าจ้างเดือนละเท่าใด สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ย่อมเพียงพอที่ศาลแรงงานจะวินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่เพียงใด ไม่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่คู่ความนำสืบไว้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่16 มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่16 มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณทุนทรัพย์ต้องอ้างอิงจากราคาที่ฟ้องในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์/ฎีกาเท่านั้น
การคิดคำนวณทุนทรัพย์นั้นพึงคิดจากราคาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องในศาลชั้นต้น หรือผู้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือผู้ฎีกาในชั้นศาลฎีกา มิใช่คิดคำนวณทุนทรัพย์จากผู้ที่มิได้ฟ้องหรือมิได้อุทธรณ์หรือมิได้ฎีกา
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้ง คือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้ง คือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง