คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณบำนาญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำนาญในโครงการเอื้ออาทร: จำนวนปีที่ทำงานตามข้อบังคับธนาคาร
ตามข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบำเหน็จ บำนาญ กำหนดวิธีการคำนวณ "บำนาญ" ว่า ให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 ผลลัพธ์จะเป็นบำนาญซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนข้อความว่า "จำนวนปีที่ทำงาน" หมายถึง จำนวนปีที่โจทก์ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 จริงๆ มิได้มีความหมายให้นับรวมไปจนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่ออายุครบ 60 ปีด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ย่อมไม่มีเวลาทำงานกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มี "ปีที่ทำงาน" ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังกล่าว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2505 เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 โจทก์มีอายุการทำงาน 33 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวให้นับอายุการทำงานเป็นเวลา 34 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 คำนวณบำนาญโดยนำเงินเดือนเดือนสุดท้ายของโจทก์คูณด้วย 34 ซึ่งเป็นจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 จึงเป็นการคิดคำนวณบำนาญตามระเบียบของธนาคารตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการเอื้ออาทรน้องพี่และถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ บำนาญแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำนาญกรณีลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่ ต้องคำนวณจากระยะเวลาทำงานจริงตามข้อบังคับ
ตามข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของธนาคารกรุงเทพ ฯ พาณิชย์การ จำกัด ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบำเหน็จ บำนาญ กำหนดวิธีการคำนวณ "บำนาญ" ว่า ให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 ผลลัพธ์จะเป็นบำนาญซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนข้อความว่า "จำนวนปีที่ทำงาน" หมายถึง จำนวนปีที่โจทก์ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 จริง ๆ มิได้มีความหมายให้นับรวมไปจนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่ออายุครบ 60 ปีด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ย่อมไม่มีเวลาทำงานกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มี "ปีที่ทำงาน" ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังกล่าว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2505 เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 โจทก์มีอายุการทำงาน 33 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวให้นับอายุการทำงานเศษของปีที่เกิน 6 เดือน ให้นับเป็น 1 ปี เพราะฉะนั้นโจทก์จึงมีอายุการทำงาน 34 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 คำนวณบำนาญโดยนำเงินเดือนเดือนสุดท้ายของโจทก์คูณด้วย 34 ซึ่งเป็นจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 จึงเป็นการคิดคำนวณบำนาญตามระเบียบของธนาคารตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการเอื้ออาทรน้องพี่และถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ บำนาญแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้คิดเงินบำนาญให้โจทก์ขาดไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำนาญ: เริ่มนับอายุงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ แม้เคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนหน้า
เมื่อข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินบำนาญตามอายุการทำงานเฉพาะแก่พนักงานและลูกจ้างประจำซึ่งพ้นจากงานเพราะเกษียณอายุ ก็ต้องเริ่มนับอายุการทำงานของโจทก์ในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นต้นไปแม้โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นเวลา 10 ปีเศษก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าในช่วงเวลาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเพราะทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน เพื่อให้นับอายุการทำงานในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเป็นลูกจ้างชั่วคราว