พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมและคำนิยาม 'หลาน' ในบริบทของมรดกเมื่อเจ้ามรดกไม่มีบุตร
เจ้ามรดกทำใบมอบพินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านาย ผ. ได้ยอมทำพินัยกรรมของข้าพเจ้าทั้งหมด คือ 1. นา 1 แปลง 2. สวน 1 แปลง 3. เรือน1 หลัง 4. วัว 2 ตัว ข้าพเจ้าขอมอบให้นายเซ่ม แทนน้อย ไว้รักษาเพื่อให้บุตรหลานต่อไป" เช่นนี้ เมื่อ ผ. เจ้ามรดกไม่มีบุตร คำว่า หลาน จึงหมายถึงลูกของโจทก์จำเลยที่มีชีวิตอยู่ทุกคน อันเป็นการกำหนดบุคคลซึ่งอาจทราบตัวแน่นอนได้ข้อกำหนดในใบมอบพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(2)(อ้างฎีกาที่ 941/2516)
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาทำพินัยกรรมหรือไม่ จึงยังชี้ขาดไม่ได้ว่าผู้ใดจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว และพิพากษาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า 'ข้าว' ใน พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว ไม่รวมถึงข้าวเหนียว
คำว่าข้าวใน พระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวไม่ได้หมายถึงข้าวเหนียวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขายปุ๋ย โดยพิจารณาจากคำนิยามของ 'ปุ๋ย' ตามกฎหมายและพจนานุกรม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ค) ระบุให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทการขายปุ๋ย โดยมิได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ปุ๋ย ไว้ แต่จากคำจำกัดความตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ปุ๋ย หมายความว่า สารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับเป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช ซึ่งสอดคล้องกับคำว่า ปุ๋ย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึงสิ่งที่ใส่ลงไปในดินหรือให้ธาตุอาหารพืชหนึ่งหรือหลายธาตุ ดังนั้น คำว่า ปุ๋ย จึงหมายถึงสารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตามที่ใส่ลงไปในดินสำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช ปูนมาร์ลเป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีธาตุแคลเซี่ยมและแมกนีเซียม สามารถเป็นอาหารแก่พืชได้ เกษตรกรและส่วนราชการใช้ปูนมาร์ลเพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโต แสดงให้เห็นว่าปูนมาร์ลเป็นสารอนินทรีย์สำหรับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช โดยมีผู้ใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย จึงถือว่าเป็นปุ๋ย โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการขายสินค้าปูนมาร์ลย่อมได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า 'ค่าอากร' ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ไม่รวมภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีมหาดไทย
คำว่า "ค่าอากร" ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองนำค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยสำหรับรถยนต์ของกลางมารวมเป็นค่าอากรอีกจำนวนหนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225