คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำประดิษฐ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ถูกต้อง และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำประดิษฐ์
คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ซึ่งมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ บัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุด แต่คำวินิจฉัยจะเป็นที่สุดได้ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในการพิจารณาความถูกต้องตามกฎหมายหรือความไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ ศาลย่อมมีอำนาจฟ้องพิจารณาถึงความชอบหรือไม่ชอบในเหตุผลของคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนหรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าได้วินิจฉัยไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือไม่ด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยได้
เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX เป็นคำที่นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่าใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกัน คำนี้ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งได้ขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้า กระดุมแป็บที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุม ตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบและแฟชั่น จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะพิเศษหรือเฉพาะและไม่เล็งเห็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 (1) (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำประดิษฐ์ที่ไม่เล็งคุณสมบัติสินค้าเป็นเครื่องหมายที่ชอบจดทะเบียนได้
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุดนั้น ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลมีอำนาจพิจารณาถึงความชอบหรือไม่ชอบในเหตุผลของคำวินิจฉัยหรือคำสั่งว่าได้วินิจฉัยไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่ด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า คำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายทะเบียนเครื่องหมายค้าจำเลยที่ 11 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ได้
การพิจารณาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 หรือคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น และคดีนี้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดเป็นการส่วนตัว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ทั้งโจทก์ได้อ้างเหตุผลที่ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 และคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใดในคำฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำว่า NEWMAX นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายค้าซึ่งเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่า ใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกันว่า NEWMAX ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้ากระดุมแป๊บ ที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุมตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX สำหรับสินค้าจำพวก 26 ที่โจทก์รับโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาจึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (1), (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงผิด ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนได้ แม้เป็นคำประดิษฐ์
โจทก์ใช้คำประดิษฐ์ขึ้นเป็นอักษรโรมันว่า +PHENERGAN+ สำหรับยารักษาโรคจำพวกหนึ่งที่โจทก์ผลิตขึ้นจำหน่าย และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับคำ ๆ นี้ไว้แล้ว ต่อมานายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นคำว่า +PHENAGIN ในจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อพิจารณาถึงการเรียงลำดับตัวอักษรตลอดจนสำเนียงที่เรียกขานอันเป็นคำของภาษาต่างประเทศแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองนี้มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนการจัดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเสียได้ และในการพิจารณาดังกล่าวนั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะการอ่านออกเสียงหรือสำเนียงที่เรียกขานแต่อย่างเดียวย่อมไม่ได้ต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ ด้วย.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าที่สำเร็จรูปแล้ว ไม่จำต้องไปพิเคราะห์ถึงส่วนประกอบอื่นใดอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8823/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'Caramelts' เป็นคำประดิษฐ์ มีลักษณะบ่งเฉพาะ สามารถจดทะเบียนได้ แม้มีคำว่า 'Caramel' รวมอยู่ด้วย
คำว่า "Caramelts" เป็นคำที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม เป็นคำที่ไม่มีความหมาย ไม่มีคำแปล ถือว่าเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้น แม้คำว่า "Caramelts" จะมีอักษรโรมัน คำว่า "Caramel" รวมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้ทำให้เข้าใจไปได้ว่าหมายถึง คาราเมลที่มีสีน้ำตาลอมเหลือง น้ำตาลไหม้ ขนมหวาน คำว่า "Caramelts" จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ย่อมนำคำว่า "Caramelts" มาใช้กับสินค้าขนมหวาน ช็อกโกแลต ขนมช็อกโกแลต เครื่องดื่มช็อกโกแลต อาหารที่มีชื่อช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมหลักได้ ดังนี้ คำว่า "Caramelts" จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง และมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8823/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'Caramelts' เป็นคำประดิษฐ์ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ สามารถจดทะเบียนได้ แม้มีคำว่า 'Caramel' รวมอยู่ด้วย
คำว่า "Caramelts" เป็นคำที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม เป็นคำที่ไม่มีความหมาย ไม่มีคำแปล ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์ขึ้น แม้คำว่า "Caramelts" จะมีอักษรโรมัน คำว่า "Caramel" รวมอยู่ด้วย แต่ก็มิได้ทำให้เข้าใจไปได้ว่าหมายถึง คาราเมลที่มีสีน้ำตาลอมเหลือง น้ำตาลไหม้ ขนมหวาน คำว่า "Caramelts" จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ย่อมนำมาใช้กับสินค้าขนมหวานช็อกโกแลต เครื่องดื่มช็อกโกแลต อาหารที่มีชื่อช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมหลักได้ คำว่า "Caramelts" จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง และมีลักษณะเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า 'VFLEX' เป็นคำประดิษฐ์ มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงรับจดทะเบียนได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "VFLEX" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือปรากฏในพจนานุกรม จึงเป็นคำที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น แม้โจทก์ไม่ได้ทำให้อักษร V มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอักษรโรมัน V ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ คำดังกล่าวโดยรวมทั้งคำก็ยังเป็นคำประดิษฐ์อยู่ อย่างไรก็ดีแม้จะพิจารณาโดยการแยกคำ ความหมายก็หาได้ยุติดังที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยไม่ กล่าวคือ อักษร V ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าอ้างถึงพจนานุกรมอักษรย่ออังกฤษ - ไทย โดยสุนทร ประสารพจน์ ว่า อักษรโรมัน V เป็นคำย่อของคำว่า Very แปลว่า มาก มากๆ อย่างยิ่ง แท้จริง นั้น ตามสำเนาพจนานุกรมดังกล่าว อักษร V มิได้เป็นคำย่อของ Very ซึ่งแปลว่า มาก มากๆ อย่างยิ่ง แท้จริง เท่านั้น แต่เป็นคำย่อของหลายสิ่ง เมื่อพิจารณาพจนานุกรมเล่มอื่นก็เช่นกัน ดังนั้นอักษร V จึงมีความหมายหลากหลายจนไม่อาจยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าหมายถึงสิ่งใด สำหรับคำว่า FLEX ตามสำเนาพจนานุกรม Oxford River Books English- Thai Dictionary หากเป็นคำนาม หมายถึงสายไฟ หากเป็นคำกริยาแปลว่า งอ คำว่า FLEX จึงไม่ได้แปลว่า โค้งงอ เพียงอย่างเดียว การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาหาความหมายของคำว่า "VFLEX" โดยแยกคำเป็นภาคส่วน แล้วนำความหมายแต่ละภาคส่วนตามที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาเลือกมารวมกัน เพื่อให้ความหมายของคำดังกล่าวว่าโค้งงอได้อย่างมาก โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงหยิบยกความหมายนั้น ๆ มาใช้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะอักษร V และคำว่า FLEX ต่างมีความหมายหลายอย่าง เมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีความหมายอย่างใดขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้ความหมายใดของอักษร V กับความหมายใดของคำว่า FLEX นอกจากนี้การพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่อาจรับจดทะเบียนได้หรือไม่นั้นต้องมองภาพโดยรวมของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเองด้วย ทั้งการไม่สามารถหาความหมายของคำว่า "VFLEX" ที่ชัดเจนได้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15218/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "BONDACE" เป็นคำประดิษฐ์ ไม่มีในพจนานุกรม มีลักษณะบ่งเฉพาะ สามารถจดทะเบียนได้
คำว่า "BONDACE" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือไม่มีปรากฏในพจนานุกรม จึงเป็นคำที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้น นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าพิจารณาความหมายของคำดังกล่าวโดยแยกคำเป็นภาคส่วน แล้วนำความหมายของแต่ละภาคส่วนตามที่พิจารณาเลือกมารวมกันเพื่อให้ความหมายของคำดังกล่าว โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเหตุใดนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหยิบยกความหมายนั้น ๆ มาใช้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) เนื่องจากคำว่า "BON" และ "DACE" นั้นมีหลายความหมายได้ การนำคำทั้งสองมารวมกันจึงไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่ามีความหมายว่าอย่างไร และแม้ใช้วิธีพิจารณาของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็อาจแปลหรือมีความหมายอย่างอื่นได้เช่นกัน เมื่อพิจารณาประกอบกับเสียงเรียกขานซึ่งเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเพราะทำให้ประชาชนผู้ใช้สินค้าทราบ และเข้าใจได้ว่าสินค้าที่มีเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น หากจะให้มีความหมายตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแปลความก็ควรมีเสียงเรียกขานว่า บอน - เอซ แต่ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ระบุว่าคำดังกล่าวอ่านว่า บอน - เดส การที่เสียงเรียกขานไม่สอดคล้องกับวิธีการแปลความของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าทำให้น่าเชื่อว่า คำว่า "BONDACE" ทั้งคำเป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมาย ไม่อาจสื่อให้สาธารณชนเข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงเป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมาย มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้ากาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้า ถือเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง และมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: การประเมินลักษณะบ่งเฉพาะของคำประดิษฐ์จากการรวมคำทั่วไป
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันประดิษฐ์คำว่า ของโจทก์แม้จะไม่ปรากฏความหมายทั่วไปในพจนานุกรม แต่ปรากฏชัดตามรูปลักษณะเสียงอ่านและคำขอจดทะเบียนเอกสารหมาย จ.2 ว่าเป็นการนำอักษรโรมันคำว่า "Color" และ "Plus" มารวมกันนั่นเอง แม้โจทก์จะใช้รูปแบบ (Font) ของตัวอักษรเป็นลักษณะลวดลายการเขียน ก็ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำประดิษฐ์ อย่างไรก็ดีเมื่อนำอักษรโรมันดังกล่าวมารวมกันแล้ว ก็มีความหมายทั่วไปเพียงว่า "บวกสี", "เพิ่มสี" ซึ่งเห็นได้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวก 25 ตามที่โจทก์ขอจดทะเบียนเพื่อให้กับเครื่องหมายการค้าของตน หรือหากจะพิจารณาตามที่จำเลยให้ความหมายว่า "เพิ่มบุคลิกภาพ" แล้ว ก็เป็นเพียงคำแนะนำ (Suggestive word) เท่านั้น ยังไม่ใช่คำพรรณนา (Descriptive word) ซึ่งจะทำให้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติสินค้าโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามกฎหมาย