พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดกันของคำพิพากษาและการบังคับคดี ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้มีผลก้าวล่วงคดีที่บังคับคดีแล้วได้
คำพิพากษาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว คดีแรกเป็นคดีที่มี ข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยกับบุคคลภายนอก คดีที่สอง พิพาทระหว่างบุคคลภายนอกกับจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องเพิกถอน นิติกรรมและเรื่องขับไล่ตามลำดับ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกา คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์มีข้อพิพาทกับจำเลยในเรื่องขอหย่า และแบ่งทรัพย์สิน มูลคดีของคำพิพากษาจึงแตกต่างกันและ ต่างคู่ความกัน ทั้งคำพิพากษาคดีแรกได้มีการบังคับคดีไปแล้วการที่จำเลยยื่นคำร้องในคดีนี้เพื่อให้มีผลก้าวล่วงไปถึง คดีที่ได้มีการบังคับคดีไปแล้วนั้น ศาลฎีกาย่อมไม่อาจ วินิจฉัยให้ได้ ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งโดยถือเอาคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ซึ่งเป็น ศาลสูงกว่า และสั่งว่าบ้านพร้อมที่ดินพิพาทในคดีนี้ เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยโจทก์ไม่มีสิทธิ จะแบ่งทรัพย์สินเหล่านี้จากจำเลยตามคำพิพากษาในคดีซึ่งถึงที่สุด ในคดีแรกและบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ ต่อไปนั้น เมื่อคดีนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ กรณีไม่ต้องมีการบังคับคดี ฎีกาของจำเลยมีผลเท่ากับ ขอให้ศาลฎีกาออกคำบังคับให้หรือให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้แก่จำเลย จึงไม่อาจดำเนินการให้ ในคดีนี้ได้ ทั้งไม่ใช่กรณีคำพิพากษาขัดกันอันต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 ที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งตามคำขอของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปดำเนินคดีเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาขัดกัน, เช็คต่างฉบับ, การล้มละลายไม่กระทบความผิดอาญา, การไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
ปัญหาว่าคำพิพากษาขัดกันหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ตามสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ของศาลชั้นต้น เอกสารท้ายอุทธรณ์และฎีกา เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายให้แก่โจทก์เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 และลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 แต่เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายในคดีนี้เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 และวันที่ 20 มีนาคม 2550 เช็คพิพาททั้งสองคดีจึงเป็นเช็คต่างฉบับกัน แม้มูลหนี้ในการสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองคดีจะเป็นมูลหนี้อย่างเดียวกันและศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยต่างกันก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีนี้กับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ก็มิใช่คำพิพากษาที่ขัดกัน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 ที่บัญญัติว่า "คำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่ (1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล (2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้" เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลล้มละลายที่ถูกปลดจากการล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไป โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จำเลยที่ 2 ถูกปลดจากการล้มละลายไม่ทำให้หนี้สินที่จำเลยทั้งสองมีต่อโจทก์สิ้นผลผูกพันไปแต่อย่างใด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 อันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
ตามสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ของศาลชั้นต้น เอกสารท้ายอุทธรณ์และฎีกา เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายให้แก่โจทก์เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 และลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 แต่เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายในคดีนี้เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 และวันที่ 20 มีนาคม 2550 เช็คพิพาททั้งสองคดีจึงเป็นเช็คต่างฉบับกัน แม้มูลหนี้ในการสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองคดีจะเป็นมูลหนี้อย่างเดียวกันและศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยต่างกันก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีนี้กับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ก็มิใช่คำพิพากษาที่ขัดกัน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 ที่บัญญัติว่า "คำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่ (1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล (2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้" เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลล้มละลายที่ถูกปลดจากการล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไป โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จำเลยที่ 2 ถูกปลดจากการล้มละลายไม่ทำให้หนี้สินที่จำเลยทั้งสองมีต่อโจทก์สิ้นผลผูกพันไปแต่อย่างใด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 อันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดกัน และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
คำร้องของโจทก์ที่ 1 มีคำขอให้ประธานศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นผู้สั่งกำหนดว่าจะให้ถือตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดกันคดีใด เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้ประธานศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นผู้ชี้ขาดคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดกัน ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ส่งคำร้องนั้นแล้วมีคำสั่งยกคำร้องเสียได้ กรณีนี้เป็นเรื่องของอำนาจร้องจึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจและพิจารณาสั่งคำร้องไปตามลำดับชั้นศาล ศาลชั้นต้นหาได้มีคำสั่งยกคำร้องโดยก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดว่าให้ถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีใด