พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีเดิม: การฟ้องบังคับตามสิทธิ
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านเลขที่ 50/4ออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่พิพาท คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช.และจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ช. ส่วนจำเลยคดีนี้กับพวกรวม 5 คน ก็เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันนี้และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช.ซึ่งได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนและทายาททุกคนเข้าครอบครองที่ดินมรดกที่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นของตนแล้วจำเลยคดีนี้กับพวกจึงไม่มีสิทธิขอแบ่งอีก ดังนี้ กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันขัดกัน ซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 146 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า ซึ่งคดีนี้ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ถูกงดเสียโดยคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ย่อมอาศัยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา145 มาฟ้องบังคับตามสิทธิของตนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาขัดแย้งกัน: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันและใช้บังคับเหนือคำพิพากษาเดิม
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก พ.มีหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719แม้โจทก์ได้ทำการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดให้โจทก์แบ่งที่ดินมรดกให้แก่จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน และโจทก์ได้ทำการแบ่งแยกให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีการฟ้องร้องก่อนที่โจทก์จะแบ่งแยกที่ดินมรดกให้จำเลยทั้งสาม ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินมรดกเป็น7 ส่วน แล้วให้ ส.ได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วน ดังนี้ คำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลตามคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าวย่อมขัดกัน กรณีต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 146 วรรคหนึ่ง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ด้วย
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน ไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งปันทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน ไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งปันทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857-2858/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, การตีราคาชำระหนี้, อายุความ, มูลหนี้เดียวกัน, คำพิพากษาขัดแย้ง
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 2 ฉบับ เป็นเช็คลงวันที่20 กุมภาพันธ์ 2532 และเช็คลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 ครั้นเช็ค 2 ฉบับดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อได้ความดังกล่าวถือได้ว่า กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าเครื่องประดับ คือ วันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็ค 2 ฉบับ มิใช่วันที่ซื้อขายหรือวันที่ส่งมอบเครื่องประดับ เพราะโจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับก่อนวันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็คได้
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกัน: การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดิน สิทธิในที่ดินต้องเป็นไปตามคำพิพากษาศาลสูงกว่า
ในคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ผู้ร้องได้โอนขายที่ดินพิพาทนี้ให้ผู้คัดค้านไปแล้ว และที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองปรปักษ์โดยไม่ได้ขายให้ผู้คัดค้านก็เท่ากับเป็นการครอบครองที่ดินของตนเอง ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ ในคดีหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยผู้ร้องปกปิดไม่ให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงที่เคยฟ้องผู้คัดค้านไว้ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีก่อน คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีหลังนี้และคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีก่อนนั้นขัดกัน และต่างก็เป็นคำสั่งหรือคำพิพากษาที่มีผลเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรายเดียวกัน อันถือว่าเป็นการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันมิได้ จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีก่อนดังกล่าวข้างต้น เป็นคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์แล้ว
ข้อวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีก่อนดังกล่าวข้างต้น เป็นคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12447/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาขัดแย้งกัน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ถือตามคำพิพากษาใด คำสั่งถึงที่สุด ไม่สามารถฎีกาได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งกำหนดว่าระหว่างคดีนี้กับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 142/2556 คดีหมายเลขแดงที่ 447/2556 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต่างมีคำพิพากษาอันเป็นที่สุดและคำพิพากษาขัดกัน เพราะต่างบังคับให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้และเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงเดียวกันให้ทั้งแก่โจทก์ในคดีนี้และให้แก่ ภ. โจทก์ในคดีดังกล่าว ว่าจะให้ถือตามคำพิพากษาใด ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งว่าให้ถือตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 142/2556 คดีหมายเลขแดงที่ 447/2556 ของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10839/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดแย้งคำพิพากษาต่างศาล: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม แม้มีคำพิพากษาจากศาลต่างประเทศ
ตามคำร้องของจำเลยอ้างเหตุว่า ในมูลหนี้เดียวกันนี้และก่อนฟ้องคดีนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ได้ฟ้องคดีต่อ "The High Court of Justice, Queen's Bench Division, Commercial Court" ประเทศสหราชอาณาจักร จนศาลดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระเงิน จำนวน996,498 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,687,289.24 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีคำพิพากษาของศาลต่างรัฐกันขัดแย้งกันเรื่องจำนวนหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ทั้งโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าวไปแล้วบางส่วนด้วย หากบังคับคดีนี้ต่อไป จำเลยจะได้รับความเสียหายเกินความจำเป็น เมื่อพิจารณาคำร้องและอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว เข้าใจได้ว่าเหตุที่มีความประสงค์จะขอให้ศาลงดการบังคับคดีเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกากับคำพิพากษา "The High Court of Justice" ขัดแย้งกันในเรื่องจำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระ เห็นว่า จำเลยไม่ได้อ้างเหตุที่งดการบังคับคดี แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยอ้าง ก็ไม่มีเหตุที่จะงดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับคดี: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกัน และผลของการบังคับคดีที่ตกเป็นพ้นวิสัย
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 4617 - 4618/2560 ซึ่งเป็นคดีสาขาในชั้นบังคับคดีของคดีตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ได้พิพากษายืนตามคําพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุว่า หากผู้ร้องประสงค์จะบังคับคดีต่อไป ต้องเรียกให้จำเลยทั้งสองคืนเงินมัดจำกับเรียกค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ส่วนคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2562 ซึ่งมีบริษัท ต. เป็นโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ชําระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ แม้ทั้งสองเรื่องดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1083 แต่การปฏิบัติการชําระหนี้สามารถแบ่งแยกจากกันได้อย่างชัดเจน กรณีไม่เป็นคําพิพากษาของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันนั้นขัดกันอันจะตกอยู่ในบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง
เมื่อ จ. และ ส. จำเลยทั้งสองตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยื่นคําร้องขอให้งดการโอนที่ดินพิพาทตามคําขอของผู้ร้องที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบึงกุ่ม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการบังคับคดีในลำดับแรกโดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นพ้นวิสัย ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวและได้แต่รับมัดจำ รวมทั้งค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จะมาเรียกให้บังคับคดีในลำดับแรกอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
เมื่อ จ. และ ส. จำเลยทั้งสองตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18548/2557 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยื่นคําร้องขอให้งดการโอนที่ดินพิพาทตามคําขอของผู้ร้องที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบึงกุ่ม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการบังคับคดีในลำดับแรกโดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นพ้นวิสัย ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวและได้แต่รับมัดจำ รวมทั้งค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จะมาเรียกให้บังคับคดีในลำดับแรกอีกไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง