พบผลลัพธ์ทั้งหมด 214 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันผู้รับโอนสิทธิ แม้มิได้เป็นคู่ความเดิม
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ก. ต่อมาวันที่ 7 กันยายน 2513 ก. ได้จดทะเบียนการซื้อขายให้แก่ ด. ในวันเดียวกัน ด. ได้แบ่งที่ดินพิพาทเป็น 6 แปลง และจดทะเบียนแบ่งให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ป. บิดาโจทก์ที่ 3 แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2513 จำเลยฟ้อง ก. ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นของ ก. ตกเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2513 โดยพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและ ก. ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ทั้งสามจะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาท 1 แปลงมาจาก ป. และ ป. กับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ด. โดย ด. รับโอนที่ดินพิพาททั้งหมดมาจาก ก. คดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ก. ด้วย จึงต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดของศาลทหารใช้เป็นเหตุเพิ่มโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดได้
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 ไม่ได้กำหนดว่าการต้องคำพิพากษาถึงที่สุดที่จะถือเป็นเหตุเพิ่มโทษจะต้องเป็นคำพิพากษาของศาลใด คำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวจึงย่อมหมายความถึงคำวินิจฉัยชี้ขาดศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นใดที่ใช้อำนาจตุลาการ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 281 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ศาลทหารจึงเป็นศาลที่ใช้อำนาจตุลาการด้วย ดังนั้น การต้องคำพิพากษาถึงที่สุดที่จะถือเป็นเหตุเพื่มโทษตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ นั้น ย่อมหมายความรวมถึงการต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีของศาลทหารด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาแรก
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึง วันที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2533 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2534 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 4 สิงหาคม 2537 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง กำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ยื่นคำแถลงขอคืนหลักประกันเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 ยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ศาลจึงไม่อาจคืนหลักประกันให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859-860/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: ประเด็นเดิมที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้กฎหมายใหม่บัญญัติความหมายนายจ้างต่างกัน ก็ไม่สามารถฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลย พิพากษายกฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าเป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยกระทำความผิดสัญญาจ้างแรงงานและข้อตกลงตามสัญญา และกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ข้อที่ว่า คดีก่อนศาลแรงงานกลางฟังข่อเท็จจริงไม่ถูกต้องเพราะพยานจำเลยเบิกความอันเป็นความเท็จทำให้ศาลหลงเชื่อก็ดี บทบัญญัติของกฎหมายที่บังคับใช้หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วให้ความหมายของคำว่านายจ้างแตกต่างจากที่บัญญัติในกฎหมายเดิมก็ดี มิใช่ข้อยกเว้นที่ ป.วิ.พ. มาตรา 148 บัญญัติไว้อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก
ข้อที่ว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตาม ป.วิ.พ ม. 148 (3) นั้น จะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ยกฟ้องนั้นด้วยโจทก์จึงจะมีสิธิฟ้องใหม่ได้ เมื่อคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีก่อนมิได้ระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่
ข้อที่ว่า คดีก่อนศาลแรงงานกลางฟังข่อเท็จจริงไม่ถูกต้องเพราะพยานจำเลยเบิกความอันเป็นความเท็จทำให้ศาลหลงเชื่อก็ดี บทบัญญัติของกฎหมายที่บังคับใช้หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วให้ความหมายของคำว่านายจ้างแตกต่างจากที่บัญญัติในกฎหมายเดิมก็ดี มิใช่ข้อยกเว้นที่ ป.วิ.พ. มาตรา 148 บัญญัติไว้อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก
ข้อที่ว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตาม ป.วิ.พ ม. 148 (3) นั้น จะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ยกฟ้องนั้นด้วยโจทก์จึงจะมีสิธิฟ้องใหม่ได้ เมื่อคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีก่อนมิได้ระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษา ทำให้คำพิพากษาถึงที่สุด และปัญหาการขอทุเลาการบังคับ
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่งดการอ่านคำพิพากษาเพื่อรอฟังผลอีกคดีหนึ่งพร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาย่อมมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น กรณีจึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ตามฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ศาลยกฟ้องคดีที่ประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ที่ 1 กับ ม. เป็นโจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 ม. และ ป. แต่ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับโจทก์ที่ 1 และ ม. ได้ไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นชื่อของ จ. โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าได้มาโดยการรับมรดกจากบิดามารดา เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท หากเพิกถอนไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ทั้งสองและเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ จ. โดย ป. ยกให้ ต่อมา จ. ขายให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนเนื่องจากจำเลยที่ 2 ชำระราคาไม่ครบถ้วน หลังจาก จ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ จ. โดย ป. ยกให้ เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทตกได้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาท จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ คดีถึงที่สุดแล้วผลของคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความคือโจทก์ที่ 1 และ ม. รวมทั้งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ในฐานะทายาทโดยธรรมมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับจำเลยทั้งสองอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีกก็เพื่อต้องการให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันอีกครั้งหนึ่ง ถือว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความในคดีต่อมา สิทธิการแสดงอำนาจพิเศษไม่ใช่ข้อจำกัดตายตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินซึ่งเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องให้การต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเป็นข้อต่อสู้คำฟ้องและคำให้การของผู้ร้อง จึงมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องให้การต่อสู้ในคดีก่อนโดยมิได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้องก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์ฟ้องซ้ำไม่ได้ แม้มีข้ออ้างใหม่
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ดำเนินการใส่ชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยทั้งสองฝ่ายรับว่า ที่ดินพิพาทมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมด้วย ศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว จำเลยที่ 3 จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวให้การว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจึงปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ คดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ โดยที่จำเลยที่ 3 มิได้ให้ความยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนสัญญา ดังกล่าวไม่ผูกพันกรรมสิทธิ์ ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขอเพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ ในระหว่างพิจารณาของคดี ดังกล่าว โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ว่า จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงเจตนาลวงฉ้อฉลโจทก์ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมเพื่อให้ศาลพิพากษาตามยอมว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาท ทำให้โจทก์ซึ่งเป็น เจ้าหนี้เสียเปรียบและเสียหาย และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีดังกล่าวโดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วนพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิของจำเลยที่ 3 โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นการอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาถึงที่สุด ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีจำนองที่มีต่อคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และการบังคับชำระหนี้
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์ในคดีดังกล่าวยึดไว้ มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น เพราะจำเลยจดทะเบียนจำนองประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคดีนี้ในวงเงิน 7,000,000 บาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม2529 ให้โจทก์ในฐานะผู้ร้องในคดีดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญในต้นเงินไม่เกิน 7,000,000 บาท เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน คำวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันคดีนี้ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จึงต้องฟังว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2529
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้
การที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 เป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญหากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เท่านั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาด จะนำวงเงินดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนหนี้ทั้งหมดแล้วพิพากษาในคดีนี้ให้ในส่วนที่คงเหลือไม่ได้