พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และหลักฐานจากคำพิพากษาศาลฎีกา
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 19 บัญญัติว่า ผู้รับประเมินจะต้องยื่นแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และมาตรา 24 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดประเภททรัพย์สิน ค่ารายปีกับค่าภาษีที่จะต้องเสียและให้พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินไปให้ผู้รับประเมินทราบโดยไม่ชักช้า นอกจากนี้ มาตรา 24 ทวิ วรรคสอง (2) ยังบัญญัติว่าผู้รับประเมินผู้ใดยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 ดังนั้นการแจ้งการประเมินย้อนหลังในกรณีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์แล้วจะต้องกระทำภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของปีภาษีที่ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์
โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ในปี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเพราะแจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่ยังไม่ได้ทำการประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการประเมินย้อนหลังภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ มิใช่ภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ การที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึง 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปี
คลังพัสดุของโจทก์มีเนื้อที่ 3,360 ตารางเมตร เมื่อหักพื้นที่อาคารโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ออกแล้วคงเหลือพื้นที่อีก 98,944 ตารางเมตร ในส่วนพื้นที่ที่เหลือนั้น ได้มีคำวินิจฉัยในคดีก่อนว่าเป็นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและอยู่กระจัดกระจายกันไป ทั้งบริเวณรอบอาคารคลังพัสดุมีรั้วล้อมรอบ พื้นที่ว่างนอกรั้วอยู่แยกต่างหากจากคลังพัสดุ โดยมีถนนทางรถไฟและคลองคั่น พื้นที่ดังกล่าวจึงมิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับอาคารคลังพัสดุ ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่อาคารคลังพัสดุ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินต่อเนื่องกับคลังพัสดุแล้วประเมินค่าภาษีจากโจทก์ในปีภาษี 2540 อีก ย่อมไม่ถูกต้อง จึงต้องคำนวณค่ารายปีของอาคารคลังพัสดุใหม่ โดยถือตามจำนวนพื้นที่ของอาคารคลังพัสดุที่ฟังยุติแล้วในคดีก่อนมาเป็นหลักในการคำนวณ
โจทก์ยื่นแบบพิมพ์แจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 ถึง 2536 ในปี 2532 ถึง 2536 ภายในกำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโดยไม่ชักช้า หากเห็นว่าโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเพราะแจ้งค่ารายปีไม่ถูกต้อง หรือมีทรัพย์สินบางรายการต้องนำมาคำนวณเพิ่มเติมหรือเพราะโจทก์ยื่นแบบพิมพ์ไว้ถูกต้อง แต่ยังไม่ได้ทำการประเมิน พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการประเมินย้อนหลังภายใน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปีที่โจทก์ยื่นแบบพิมพ์ มิใช่ภายในกำหนด 10 ปี ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับประเมินไม่ยื่นแบบพิมพ์ การที่พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีสำหรับปีภาษี 2532 ถึง 2536 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ซึ่งโจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 จึงเกินกำหนด 5 ปี
คลังพัสดุของโจทก์มีเนื้อที่ 3,360 ตารางเมตร เมื่อหักพื้นที่อาคารโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ออกแล้วคงเหลือพื้นที่อีก 98,944 ตารางเมตร ในส่วนพื้นที่ที่เหลือนั้น ได้มีคำวินิจฉัยในคดีก่อนว่าเป็นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและอยู่กระจัดกระจายกันไป ทั้งบริเวณรอบอาคารคลังพัสดุมีรั้วล้อมรอบ พื้นที่ว่างนอกรั้วอยู่แยกต่างหากจากคลังพัสดุ โดยมีถนนทางรถไฟและคลองคั่น พื้นที่ดังกล่าวจึงมิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับอาคารคลังพัสดุ ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวรวมกับพื้นที่อาคารคลังพัสดุ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินต่อเนื่องกับคลังพัสดุแล้วประเมินค่าภาษีจากโจทก์ในปีภาษี 2540 อีก ย่อมไม่ถูกต้อง จึงต้องคำนวณค่ารายปีของอาคารคลังพัสดุใหม่ โดยถือตามจำนวนพื้นที่ของอาคารคลังพัสดุที่ฟังยุติแล้วในคดีก่อนมาเป็นหลักในการคำนวณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเนื่องจากองค์คณะไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาขอให้รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้ทำการไต่สวนต่อไป แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนี้เนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาไม่ครบองค์คณะและให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่แล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6814/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีซื้อขายรถยนต์ โดยศาลฎีกาต้องบังคับตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นเห็นว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญา และสัญญายังไม่เลิกกัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดรถยนต์คืน ให้จำเลยที่ 1 คืนรถยนต์ดังกล่าวแก่โจทก์ ให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างพร้อม ดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ แต่จำเลยทั้งสามทิ้งอุทธรณ์ คดีคงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์กับพวกรวม 3 คน เป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ กล่าวคือ ขอให้โจทก์คืนรถยนต์แก่จำเลยที่ 1 ผลคดีถึงที่สุดโดย ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์กับพวกคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เมื่อคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นคดีนี้ขัดกับคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้เป็นไปตามกำหนดตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทได้โดยชอบ กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ต่อไป และพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาต่อหน้าคู่ความที่มาศาล และผลของการมาแสดงตัวหลังอ่านคำพิพากษา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 (3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณามิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าวเมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
การที่คู่ความมาศาล หมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลเพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณามิใช่มาศาลแล้วแต่ไปอยู่ที่อื่น หรือมิได้แถลงต่อศาลหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานศาลดังกล่าวเมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่ามีคู่ความมาศาลหรือไม่
ทนายความโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาและลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาล เสมียนทนายย่อมถือว่าเป็นตัวแทนของทนายความโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี โดยมีตราประทับของงานรับฟ้องของศาลชั้นต้นลงวันเวลาในใบมอบฉันทะว่า 25 สิงหาคม 2540 เวลา 13.55 นาฬิกา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแสดงตัวต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้เสมียนทนายความโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและเสมียนทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อไว้เช่นนี้ แม้จะอ่านล่าช้าไปบ้างเล็กน้อย ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่จำเลยมาแสดงตนว่าเป็นคู่ความหลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านอีกชั้นหนึ่งโดยให้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาต่อ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังอีก
ถ้าจำเลยมาแสดงตัวเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในวันเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังหรือศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟัง จำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ฟังอีกได้ ซึ่งถ้าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านให้ฟังจึงจะถือได้ว่าเป็นการอ่านที่ไม่ชอบ
ฎีกาโต้แย้งประเด็นในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อคู่ความมาศาลแสดงตัว และการอ่านคำพิพากษาต่อหน้าตัวแทนที่ได้รับมอบฉันทะ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140(3) ศาลจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความที่มาศาลเท่านั้น การที่คู่ความมาศาลหมายถึงการมาแสดงตัวต่อศาลโดยแถลงต่อศาลให้ทราบหรือแจ้งเจ้าพนักงานศาล เพื่อให้แจ้งให้ศาลทราบในห้องพิจารณา เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้วจึงจะอ่านคำพิพากษาต่อหน้ากันได้ ไม่ใช่ถึงเวลานัดศาลต้องอ่านคำพิพากษาทันทีโดยที่ยังไม่ทราบว่า มีคู่ความมาศาลหรือไม่ ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมาฟังคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงตัวต่อศาลการที่ศาลอ่านคำพิพากษาให้เสมียนทนายโจทก์ฟัง ก็เป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบจำเลยแสดงตนเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้ว ศาลอาจให้จำเลยรับทราบการอ่านโดยไม่จำต้องอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออธิบายคำพิพากษาศาลฎีกาไปยังศาลฎีกา และอำนาจศาลฎีกามีคำสั่งเองได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาอธิบายคำพิพากษาศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและคำร้องของจำเลยดังกล่าวไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่ง ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของจำเลยเสียเองหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในกรณีเช่นนี้ได้ แต่เมื่อคดีมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งไปโดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขายทอดตลาด: ผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ฟังว่า ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายไปสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ปรากฏว่าผู้เข้าสู้ราคาสมคบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อกดราคาทรัพย์ที่ขายโดยไม่สุจริต และเจ้าพนักงานบังคับคดี มิได้ทำผิดหน้าที่ในการขายทอดตลาดนั้นผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องอีกว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบถือว่าจำเลยทั้งหกมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์และไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคดีอื่น และการไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
คู่ความท้ากันว่า ให้ถือเอาผลคดีถึงที่สุดในคดีแพ่งเป็นข้อแพ้ชนะโดยหากผลในคดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ถือว่าจำเลยคดีนั้นยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้ หากศาลพิพากษาว่าโจทก์ในคดีดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าโจทก์คดีนี้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลยโจทก์ยอมแพ้ คู่ความไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังกล่าวคดีถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและว่าจ้างให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินพิพาทโดยโจทก์คดีนี้ได้ช่วยออกเงินบางส่วนให้จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเมื่อจำเลยชำระหนี้คืนให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินพิพาทคืนให้จำเลย ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์คดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โจทก์เพียงลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น เมื่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไม่ตรงกับคำท้า เพราะศาลฎีกามิได้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่เพราะเหตุที่โจทก์ในคดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง จึงไม่ได้ผลชี้ขาดตามคำท้า ข้อที่ท้ากันย่อมตกไปศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามประเด็นในคดีต่อไป
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดิน ทำให้ฟ้องขับไล่เดิมเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โจทก์อ้างผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งตกทอดได้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ มอบให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ เพราะโจทก์กู้เงินจำเลยไป 600 บาท เป็นคำฟ้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นมรดกของโจทก์ ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพัน คู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษา นั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อปรากฏว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว โดยพิพากษาว่า ไม่มีการกู้ยืมเงินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีการคิดดอกเบี้ยโดยมอบ ที่ดินพิพาทให้ทำกินต่างดอกเบี้ยได้ จึงเป็นคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังกล่าวข้างต้นการที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีเดิม: การฟ้องบังคับตามสิทธิ
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านเลขที่ 50/4ออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่พิพาท คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช.และจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ช. ส่วนจำเลยคดีนี้กับพวกรวม 5 คน ก็เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันนี้และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช.ซึ่งได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนและทายาททุกคนเข้าครอบครองที่ดินมรดกที่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นของตนแล้วจำเลยคดีนี้กับพวกจึงไม่มีสิทธิขอแบ่งอีก ดังนี้ กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันขัดกัน ซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 146 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า ซึ่งคดีนี้ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ถูกงดเสียโดยคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ย่อมอาศัยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา145 มาฟ้องบังคับตามสิทธิของตนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลย