คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำฟ้องเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางจำเป็นต้องไม่มีทางออกอื่น สิทธิสิ้นสุดเมื่อมีทางออกอื่น แม้เหตุเปลี่ยนภายหลังก็ไม่อาจอาศัยคำฟ้องเดิม
การอ้างสิทธิที่จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บุคคลนั้นจะต้องไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยทางอื่นได้ เมื่อปรากฏว่าระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมที่จะผ่านทางในที่ดินข้างเคียงแปลงอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยทั้งสามเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามกฎหมายได้อีก อำนาจฟ้องเอาทางจำเป็นของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 ย่อมหมดสิ้นไป เพราะไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ต่อไป
แม้ต่อมาโจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไป จนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่อันเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสามเปิดทางจำเป็นเนื่องจากการแบ่งขายที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งเรื่องทรัพย์มรดกที่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลต้องรับพิจารณา แม้จะไม่ได้ฟ้องมาพร้อมกัน
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของ ท. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 1 และ ส. ผู้วายชนม์ ปัจจุบันโจทก์และจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินดังกล่าวร่วมกัน ขอให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งปันที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 มิได้มีสิทธิทางแพ่งโต้แย้งกับโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งในส่วนนี้ การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้วายชนม์จะฟ้องเรียกที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นมรดกของ ส. คืนจากจำเลยทั้งสี่เพื่อนำมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาทของ ส. จำนวน 2 แปลง โดยมิได้ฟ้องเรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 มาด้วยก็ตาม แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่เรียกที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 302 จากโจทก์จำนวน 1 ใน 2 ส่วน ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. เช่นเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมและเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508-7528/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งคดีแรงงานต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยวเนื่อง ศาลไม่รับฟ้อง
ตามคำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีวัตถุดิบซึ่งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่โจทก์ไม่ได้ทำงานด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่มีงานให้โจทก์ทำและค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ คำฟ้องเดิมจึงเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 วรรคสาม อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลยที่ 1 กรณีโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นเท็จ ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775-6776/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องต่างกรรมต่างวาระในคดีแรงงาน ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าถูกจำเลยเลิกจ้างโดยกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ซึ่งไม่เป็นความจริง สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือโจทก์ทั้งสองถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือเหตุที่เลิกจ้างนั้นไม่มีอยู่จริง ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดและคืนเงินประกัน ซึ่งค่าเสียหายจากการละเมิดนั้นเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์ทั้งสองขอเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยจงใจกลั่นแกล้งร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกแก่โจทก์ทั้งสองโดยไม่เป็นความจริง ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือจำเลยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ ด้วยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจากการร้องทุกข์นั้นทำให้โจทก์ทั้งสองถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นคดีอาญาได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่สามารถประกอบอาชีพในระหว่างถูกจับกุม แม้ว่าตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจะเป็นเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดเช่นกัน แต่เป็นการกระทำละเมิดเนื่องจากการร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญา ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องเดิม คำฟ้องภายหลังตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องการครอบครองปรปักษ์ ศาลต้องรับพิจารณาหากเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปในที่ดินมีโฉนดของโจทก์โดยมีเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ และจำเลยที่ 1 ได้คัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อสอบเขตที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองบุกรุกดังกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสองกับบริวารและรื้อสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายของทั้งหมดออกไป จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุก จำเลยที่ 1 กับสามีได้ซื้อที่ดินมีโฉนด แล้วได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ที่ดินที่ซื้อมานั้นรวมทั้งที่ดินพิพาท โดยเข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 ซื้อมา จำเลยที่ 1 กับสามีได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้ใดโต้แย้งตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้คำให้การของจำเลยทั้งสองในตอนแรกจะปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองให้การในตอนต่อมาว่าจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมากับที่ดินที่ซื้อมา เข้าใจว่าเป็นที่ดินที่ซื้อมาจากบุคคลอื่น ซึ่งเป็นคำให้การที่จำเลยที่ 1 ยกข้อต่อสู้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของบุคคลอื่น เมื่อคำให้การของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 อ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามคำฟ้องและมีคำขอบังคับให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือได้ว่าคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้งนี้เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องฟ้องเป็นคดีต่างหากตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยให้การว่าไม่ได้ผิดสัญญาคดีมีประเด็นเพียงว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิการเช่าตึกแถวให้แก่ พ. โดยไม่ให้สิทธิแก่จำเลยซื้อก่อนตามข้อตกลงในสัญญาเช่าขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวและบังคับให้โจทก์ขายแก่จำเลย จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแต่เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก และมีผลกระทบไปถึงสิทธิของบุคคลภายนอกจึงไม่อาจพิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรื่องผิดสัญญาเป็นเรื่องใหม่ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม จึงไม่รวมพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้ฐานผิดสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และบังคับจำนอง จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งว่า ไม่เคยทำสัญญากู้เงินไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและไม่เคยทำสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ตกลงจะลดยอดหนี้ลงถ้าหากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินบางส่วนมาชำระหนี้ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องขายที่ดินในราคาต่ำกว่าท้องตลาด ต้องสูญเสียโอกาสและราคาที่ดินที่ควรจะได้รับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 1 เห็นได้ว่า คำฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ประพฤติผิดสัญญาที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องใหม่นอกเหนือจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7300/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 พิมพ์ข้อความในหนังสือขอเลิกจ้างการเป็นครูใส่ความโจทก์ และปิดประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่วไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ข้อความตามเอกสารที่จำเลยที่ 1 จัดทำขึ้นเป็นความจริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเอาข้อความในเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองหลายคดี ทั้งคดีอาญา คดีแรงงานและคดีแพ่ง เป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้จำเลยทั้งสองต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุในการฟ้องแตกต่างกับคำฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอันมีผลเท่ากับไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7300/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลล่างสั่งไม่รับฟ้องแย้ง ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง มิใช่ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชนะคดีตามจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 200 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 1 ข้อ (2)(ข)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 พิมพ์ข้อความในหนังสือขอเลิกจ้างการเป็นครูใส่ความโจทก์และปิดประกาศโฆษณาทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โจทก์ประพฤติชั่ว ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครูเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้ทำละเมิด และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเอาข้อความในเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองหลายคดีทั้งคดีอาญา คดีแรงงานและคดีนี้ เป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้จำเลยทั้งสองต้องเสียชื่อเสียง ทำให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุในการฟ้องแตกต่างกับคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องแย้งในคดีมรดก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิให้รับมรดกของ ว. และให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ว. และจะต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ตามฟ้องหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่ขอให้กำจัดโจทก์ที่ 2 มิให้รับมรดกของ ว. และให้โจทก์ที่ 2 ชดใช้เงินแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจาณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. และตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จัดการมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องแย้งขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่แน่นอนว่า ศาลจะเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกัน
of 4