พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสอบสวนละเว้นหน้าที่รับคำร้องทุกข์คดีทำร้ายร่างกาย อ้างคดีก่อนหน้านี้เลิกกันแล้ว
โจทก์เมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน และโจทก์ได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 (2) แต่เมื่อโจทก์กล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่าจ่าสิบตำรวจ ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามมาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ถูกกล่าวหาดังกล่าว จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไป การที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานยังไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ การฟ้องคดีหมิ่นประมาทจึงไม่ชอบ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และ 328 เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 333 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง แต่ข้อความในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน ระบุแต่เพียงว่าผู้เสียหายทั้งสามมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพื่อพิจารณาต่อไป จึงมิใช่เป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะขณะแจ้งยังมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษการสอบสวนความผิดฐานนี้ต่อมาภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ อำนาจฟ้องความผิดหมิ่นประมาท
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 เป็นความผิดอันยอมความได้ ตาม ป.อ. มาตรา 333 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานในหน้าแรกว่า ผู้เสียหายทั้งสามรวมทั้งบุคคลอื่นอีก 7 คน ไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งไว้เป็นหลักฐานว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปหา ส. และขอร้องให้ ส. ไปขอล่าลายมือชื่อชาวบ้านให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นหลักฐานร่วมกันขับไล่ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครู ซึ่งมีผู้เสียหายทั้งสามรวมอยู่ด้วยให้ย้ายไปที่อื่นโดยบอกว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และผู้เสียหายทั้งสามได้นำเอกสารเป็นบันทึกข้อความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวมามอบให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบ และในหน้าที่สองระบุว่าจึงมาแจ้งไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงพิจารณาต่อไป ซึ่งกรณีเชื่อได้ว่าผู้เสียหายทั้งสามไปแจ้งความเพียงครั้งเดียวตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานฉบับดังกล่าวเท่านั้น เมื่อข้อความในสำเนารายงานประจำวันดังกล่าวระบุแต่เพียงว่าผู้เสียหายทั้งสามมาแจ้งไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงพิจารณาต่อไป จึงมิใช่เป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะขณะแจ้งยังมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้ต่อมาภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงเจตนาให้ลงโทษ จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 66 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ แม้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุไว้ว่า "นาย ศ. อายุ 26 ปี... ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส ให้แจ้งร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์... เพื่อดำเนินคดีต่อไป" ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ โดยถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะมิได้ชัดแจ้งว่าเป็นการแจ้งความโดยเจตนา จะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เป็นเหตุให้การสอบสวนในความผิดฐานนี้ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดข่มขืนต้องมีคำร้องทุกข์ที่แสดงเจตนาจะให้ลงโทษ การแจ้งความไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ตามป.อ.มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน และคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 120
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน และคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีข่มขืนที่ขาดความชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้อง และความผิดเป็นเรื่องยอมความได้
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องข่มขืนกระทำชำเราต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่มี พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใด การรับแจ้งความเช่นนี้แม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใด การรับแจ้งความเช่นนี้แม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: คำร้องทุกข์ไม่ครอบคลุมจำเลยอื่น แม้มีส่วนร่วมกระทำผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าถูก ส.หลอกลวงเอาเงินไป โจทก์ร่วมได้ติดตามสืบหาตัว ส.ตลอดมาแต่ไม่พบ จึงไม่มาพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้ติดตามตัวส. มาเจรจากัน หากการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันจะได้มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป ต่อมาโจทก์ร่วมไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพิ่มเติมว่าในการหลอกลวงนี้มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยา ส.ได้ร่วมทำการหลอกลวงด้วย โจทก์ร่วมได้ติดตาม ส.กับจำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่ยังไม่พบ โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะ ส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้นที่ร่วมกระทำผิด ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วย ทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของ ส.จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่เป็นการกล่าวหาที่โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7),127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: คำร้องทุกข์ต้องระบุตัวผู้กระทำผิดชัดเจน พนักงานสอบสวนและอัยการจึงมีอำนาจสอบสวนและฟ้องได้
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นายส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะนายส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนายส. จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่ โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7),123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องทุกข์ไม่ใช่เอกสารสิทธิ การหลอกลวงให้ถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นความผิดฉ้อโกง
คำร้องทุกข์มิใช่เอกสารสิทธิตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(9) ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายให้ถอนคำร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้