พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยต้องมีเจตนาตรงกัน การรับคำขอประกันภัยยังไม่ถือเป็นสัญญาหากยังไม่มีการตอบรับ
สัญญาประกันภัยกฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญมิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้ ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน
ส.ผู้จัดการจำเลย สาขาขอนแก่น มิได้เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลย ส. จึงไม่มีอำนาจรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทไว้จากโจทก์ แต่การที่ ส. รับคำขอเอาประกันภัยไว้จากโจทก์ก็เพียงเพื่อส่งคำเสนอของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลยสำนักงานใหญ่พิจารณาว่าจะรับประกันภัยได้หรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นคำสนองรับประกันภัยเมื่อบริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่ เพิ่งได้รับคำเสนอของโจทก์ เมื่อเวลา 13.55 นาฬิกา อันเป็นเวลาหลังจากที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทได้เกิดเหตุไปแล้วทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีคำสนองตอบรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทเมื่อใดจึงฟังไม่ได้ว่า ขณะที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทเกิดอุบัติเหตุนั้นจำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แล้ว อันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
ส.ผู้จัดการจำเลย สาขาขอนแก่น มิได้เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลย ส. จึงไม่มีอำนาจรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทไว้จากโจทก์ แต่การที่ ส. รับคำขอเอาประกันภัยไว้จากโจทก์ก็เพียงเพื่อส่งคำเสนอของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลยสำนักงานใหญ่พิจารณาว่าจะรับประกันภัยได้หรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นคำสนองรับประกันภัยเมื่อบริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่ เพิ่งได้รับคำเสนอของโจทก์ เมื่อเวลา 13.55 นาฬิกา อันเป็นเวลาหลังจากที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทได้เกิดเหตุไปแล้วทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีคำสนองตอบรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทเมื่อใดจึงฟังไม่ได้ว่า ขณะที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทเกิดอุบัติเหตุนั้นจำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แล้ว อันจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: การเสนอสัญญา, คำสนอง, และผลของการไม่ตกลงกัน
ประกาศประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือของจำเลยที่1เป็นเพียงคำเชิญให้ทำคำเสนอโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาสูงสุดประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้จำเลยที่1ทำสัญญาเช่าหนังสือดังกล่าวเป็นคำเสนอของโจทก์แต่จำเลยที่1ขอเลื่อนการทำสัญญาออกไปหนังสือของจำเลยที่1จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา359วรรคสองต่อมาโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้ทำสัญญาเช่าภายใน7วันหากทำสัญญาเช่าไม่ได้ให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาทันทีนับแต่วันครบกำหนดและต้องคืนเงินค่าประจำซองในการประมูลพร้อมค่าเสียหายให้โจทก์จำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปทำสัญญากับจำเลยที่1ภายใน15วันซึ่งโจทก์ยืนยันไม่ประสงค์จะเข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อีกต่อไปเห็นได้ว่าการแสดงเจตนาระหว่างโจทก์กับจำเลยที1จะต้องบังคับให้เป็นไปตามเจตนาทำนิติกรรมสองฝ่ายเมื่อสัญญาเกิดขึ้นไม่ได้เพราะขาดความตกลงกันความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดลงจำเลยที่1ต้องคืนเงินประจำซองให้โจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลราคาจึงไม่ต้องมีส่วนร่วมในการคืนเงินด้วยและเมื่อยังไม่มีสัญญาเช่าต่อกันจำเลยที่1ก็ยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าให้โจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกาศประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อสนองโดยไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม
ประกาศประกวดราคามีทั้งสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเลือกทำสัญญากับผู้เข้าประกวดราคารายใดก็ได้ โดยไม่จำต้องทำสัญญากับผู้ประกวดราคาที่เสนอราคาสูงสุด หรือไม่เลือกผู้ประกวดราคารายใดเลยก็ได้ ดังนี้ประกาศประกวดราคาเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น หนังสือประกวดราคาของโจทก์จึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทกับจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ โดยโจทก์ต้องนำหลักฐานแสดงการตกลงระหว่างโจทก์กับผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทที่ว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินโดยไม่เรียกร้องใด ๆ จากจำเลยมาแสดงภายใน 30 วันหนังสือของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการสนองตามคำเสนอของจำเลยภายในเวลาที่กำหนดไว้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อมีคำเสนอและสนองชัดเจน การผิดสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์เคยเป็นลูกค้าของจำเลย ประมาณเดือนกรกฎาคม 2521โจทก์ได้ส่งใบสอบราคาเพื่อจัดพิมพ์สมุดบันทึกประจำปี พ.ศ. 2522 ไปให้จำเลยใบสอบราคาได้กำหนดขนาด วัตถุดิบที่ใช้กำหนดวันแล้วเสร็จ วิธีการจัดส่งและจำนวนการสั่งพิมพ์จากขั้นต่ำ 8,000 เล่ม ถึงขั้นสูง 15,000 เล่ม มีข้อกำหนดด้วยว่าถ้า การพิมพ์ไม่เป็นไปตามใบสั่ง โจทก์มีสิทธิไม่รับของและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และถ้าส่งล่าช้า จะถูกปรับวันละ 2,000 บาท จำเลยได้กรอกราคาในใบสอบราคาของโจทก์แล้วส่งกลับคืนไป โดยเสนอว่าถ้าพิมพ์จำนวนขั้นต่ำและขั้นสูงราคาจะแตกต่างกัน ถ้าพิมพ์จำนวนน้อยจะแพงกว่าพิมพ์จำนวนมากมีรายละเอียดทุกราคา ต่อมาวันที่ 9 สิงหาคม 2521โจทก์ตอบตกลงให้จำเลยจัดพิมพ์ หลักฐานดังกล่าวเป็นคำเสนอสนองระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดเป็นสัญญาขึ้น เรื่องจำนวนพิมพ์ที่แน่นอน จำเลยไม่ได้เกี่ยงให้ฝ่ายโจทก์กำหนดก่อนเพราะเคยพิมพ์กันมาแล้ว จึงหาใช่ข้อสารสำคัญไม่ การที่ระบุในใบสอบราคาว่าตัวอย่างและรายละเอียดตลอดจนการอนุมัติการวางรูปเล่ม จำนวนสั่งพิมพ์ให้ติดต่อกับ ร. เจ้าหน้าที่แผนกโฆษณาของโจทก์ก็เพื่อให้ทราบว่าจะติดต่อกับผู้ใดข้อโต้แย้งของจำเลยว่ายังไม่ได้ตกลงรับจ้างเพราะไม่ทราบจำนวนพิมพ์และวันหยุดของธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นเรื่องกล่าวอ้างขึ้นภายหลังดังจะเห็นได้ว่าจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้สั่งทำและขอเลื่อนเวลาการส่งของออกไปจึงฟังไม่ขึ้น จำเลยไม่สามารถส่งของให้โจทก์ได้ภายในกำหนด จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการดำเนินงานล่วงหน้าจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนอง การทวงหนี้หลังแปลงหนี้แล้วถือเป็นคำเสนอใหม่ และสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จะบังคับให้ส่งให้มิได้ เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะริบในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จะบังคับให้ส่งให้มิได้ เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะริบในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนองจากเจ้าหนี้ หากไม่มี สัญญาเดิมยังคงมีผล และการเรียกเงินมัดจำเมื่อเลิกสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วจะบังคับให้ส่งให้มิได้เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะรับในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วจะบังคับให้ส่งให้มิได้เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะรับในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: คำเสนอและคำสนองที่ก่อให้เกิดสัญญาซื้อขาย
เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ธนาคารได้เปิดเพื่อชำระราคาสินค้าของลูกค้าของธนาคารนั้นย่อมถือว่าเป็นคำเสนอเมื่อได้มีการส่งสินค้ามาตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้วก็ย่อมถือได้ว่ามีคำสนองก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเสนอซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ และการไม่มีเจตนาผูกพันตามสัญญา
คำเสนอที่มีข้อความว่า มีประสงค์จะซื้อแร่ 60 ตัน วันนี้เพียง 10 ตันนั้น ถือว่าเป็นคำเสนอขอซื้อ 10 ตันส่วนอีก 60 ตันเป็นเพียงคำปรารภไม่ใช่คำเสนอและไม่ใช่คำมั่นจะซื้อ
มีหนังสือเสนอซื้อแร่ในวันนั้นฝ่ายผู้ขายก็สนองรับขายในวันนั้นถือว่าว่าเป็นคำเสนอแก่ผู้อยู่ฉะเพาะหน้า ซึ่งจะสนองรับนั้นเวลานั้นเท่านั้น คำเสนอในส่วนที่ไม่สนองรับก็ย่อมเป็นผล
ฝ่ายผู้ขายมีหนังสือถึงฝ่ายผู้ซื้อว่าตามที่ตกลงขายแร่ให้ ส่วนที่เหลือผู้ซื้อจะรับเมื่อไรซึ่งความจริงไม่มีการเสนอสนองค่าสัญญาในแร่ส่วนนี้ ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นคำสนอง เป็นแต่กล่าวอ้างถึงสิ่งซึ่งไม่มีและในกรณีคำเสนออยู่ก่อน ก็ย่อมทำให้กลายเป็นคำสนองขึ้นใหม่ตาม ม.359 ไม่ได้
คน 1 บอกขายทรัพย์อีกคน 1 บอกว่าเต็มใจซื้อ แต่มีอุปสรรคการนอกฟ้องนอกประเด็น จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์
มีหนังสือเสนอซื้อแร่ในวันนั้นฝ่ายผู้ขายก็สนองรับขายในวันนั้นถือว่าว่าเป็นคำเสนอแก่ผู้อยู่ฉะเพาะหน้า ซึ่งจะสนองรับนั้นเวลานั้นเท่านั้น คำเสนอในส่วนที่ไม่สนองรับก็ย่อมเป็นผล
ฝ่ายผู้ขายมีหนังสือถึงฝ่ายผู้ซื้อว่าตามที่ตกลงขายแร่ให้ ส่วนที่เหลือผู้ซื้อจะรับเมื่อไรซึ่งความจริงไม่มีการเสนอสนองค่าสัญญาในแร่ส่วนนี้ ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นคำสนอง เป็นแต่กล่าวอ้างถึงสิ่งซึ่งไม่มีและในกรณีคำเสนออยู่ก่อน ก็ย่อมทำให้กลายเป็นคำสนองขึ้นใหม่ตาม ม.359 ไม่ได้
คน 1 บอกขายทรัพย์อีกคน 1 บอกว่าเต็มใจซื้อ แต่มีอุปสรรคการนอกฟ้องนอกประเด็น จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22777-22778/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเสนอและคำสนองต้องชัดเจน การโฆษณาเป็นเพียงคำเชื้อเชิญ ไม่ถือเป็นสัญญาผูกพัน
คำเสนอต้องมีข้อความชัดเจนแน่นอนเพียงพอที่จะถือเป็นข้อผูกพันในสัญญา จำเลยโฆษณามีใจความว่า ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประมูลหลักทรัพย์ของจำเลยในงานมหกรรมขายทอดตลาด วงเงินกู้สูงสุด 90 % ของราคาประเมินหลักทรัพย์ประกัน อัตราดอกเบี้ยมี 3 ทางเลือก 1) คงที่ 1 ปี 3.5 % ต่อปี 2) คงที่ 2 ปี 4.25 % ต่อปี 3) คงที่ 3 ปี 4.75 % ต่อปี ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยที่จะให้สินเชื่อแก่ผู้ประมูลซื้อทรัพย์ในการจัดงานดังกล่าวได้ ข้อความที่แสดงไม่ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนพอที่จะถือว่าเป็นคำเสนอได้ คงเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ผู้ชนะการประมูลทำคำเสนอขอสินเชื่อเงินกู้จากจำเลยภายในวงเงินและอัตราดอกเบี้ยประเภทใดประเภทหนึ่งที่ระบุเอาไว้เท่านั้น