พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9015/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานล่วงเวลาต้องมีคำสั่งจากนายจ้างและได้รับความยินยอมจากลูกจ้างชัดเจน จึงจะถือเป็นชั่วโมงทำงานล่วงเวลา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ให้นิยามของ "การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่า "การทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี" และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ระบุว่า "ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการทำงานของลูกจ้างที่จะเป็นการทำงานล่วงเวลาจึงต้องเป็นกรณีที่เป็นความประสงค์ของนายจ้างที่จะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยลูกจ้างให้ความยินยอมก่อนเป็นคราวๆ ไป และจะต้องเป็นการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างตกลงกันตามมาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุด เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้สั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา แล้ววินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา จึงชอบด้วยบทบัญญัติข้างต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8457/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเกินกำหนดเวลา และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2544 จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2545 เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 247 และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปี และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้ายคือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ ในช่วงปีสุดท้ายนี้โจทก์จึงมิสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเอง ต้องส่งศาลอุทธรณ์-กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งกรณีนี้ตามมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองเป็นการไม่ชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งตามมาตรา 229 กรณีมิใช่การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน ตามมาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ต้องชำระค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง 40 บาท
การอุทธรณ์คำสั่งที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ต้องชำระค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง 40 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7657/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบเพราะไม่วางค่าธรรมเนียม – ผลกระทบต่อคำพิพากษาเดิม – คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งมิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยให้อุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไป ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใชแก่โจทก์มาวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอุทธรณ์เฉพาะคำสั่ง
แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอของจำเลย ก็ย่อมมีผลกระทบต่อคดีทั้งคดี เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม ให้ถือว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ดังนั้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเรื่องต่อเนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่เกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยที่ 1 วางเงินประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาวางเงิน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ดังนี้ คดีที่จำเลยที่ 1 ขอทุเลาการบังคับอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอขยายระยะเวลาวางหลักประกันเป็นเรื่องต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาคนละฉบับ จำเป็นต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาพร้อมกัน
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นรวม 2 ฉบับ โดยยื่นคนละคราวกัน สำหรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางพร้อมอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และหากจำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วครบถ้วนจำเลยก็ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมในส่วนการอุทธรณ์คำพิพากษาซ้ำอีก การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งย่อมเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาไว้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ฉบับนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นอุทธรณ์คนละฉบับและยื่นคนละคราวกันทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลชั้นต้นต้องรอสั่งอุทธรณ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวพร้อมกัน แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไปแล้ว ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเกินกำหนดระยะเวลา ทำให้คำอุทธรณ์นั้นไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 แล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล 1 ใน 2 ส่วน หากจำเลยที่ 3 ไม่เห็นพ้องด้วยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคท้าย ที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 3 มีฐานะยากจน ไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าธรรมเนียมศาล 1 ใน 2 ส่วนได้ ขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นการอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสีย่ค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสีย่ค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามคนอนาถาและการยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ทันกำหนดระยะเวลา ทำให้คำร้องถูกยก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้เฉพาะแต่บางส่วน หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย จำเลยอุทธรณ์ขอให้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกินกำหนดระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เป็นการยื่นอุทธรณ์ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย เมื่อจำเลยเสียค่าคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและค่าคำร้องฎีกาคำสั่งมา จึงต้องคืนให้แก่จำเลยทั้งหมด
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่จำเลยอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย เมื่อจำเลยเสียค่าคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและค่าคำร้องฎีกาคำสั่งมา จึงต้องคืนให้แก่จำเลยทั้งหมด