คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งถึงที่สุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอนาถาและการขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล คำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งถึงที่สุดแล้วไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา หากจำเลยที่ 1 ยังคงติดใจอุทธรณ์ ก็ให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ออกไปอีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งต่อมา และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นเพราะเห็นว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ออกไปอีกนั้น เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดแล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ต่อไปได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องซ้อน-อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ศาลล่างผิดที่ตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำซ้อนหลังมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้อีกขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านกับขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกด้วย คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นการร้องซ้อนกับคำร้องขอที่ตนได้ยื่นไว้แล้วต้องห้ามมิให้ผู้คัดค้านร้องขอในเรื่องเดียวกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ส่วนคำร้องขอของผู้ร้องนั้น เมื่อมรดกรายนี้มีคำสั่งถึงที่สุดตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้อีก เนื่องจากเหตุจะสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น ไม่ใช่ประเด็นคดีนี้ ผู้ร้องชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสียก่อน คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ตั้งผู้จัดการมรดกรายเดียวกันนี้อีกจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4029/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ถึงที่สุดแล้ว ผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง และผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะอุทธรณ์ว่ายังมีประเด็นที่ศาลแรงงานภาค 9 ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยเป็นลูกจ้างนายจ้างกันเสียก่อน ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีสัมปทานทางปกครองที่ฟ้องซ้ำ ศาลชั้นต้นชอบแล้วที่ไม่รับฟ้องหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองผิดสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน และเรียกค่าเสียหาย ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น โจทก์กับพวกต่างเคยนำคดีในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นขอให้จำเลยในคดีนี้ร่วมกับกรมป่าไม้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนในผลตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์กับพวกไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่ผู้ฟ้องยื่นฟ้องพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 51 ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งเป็นความเห็นพ้องกับศาลปกครองสูงสุด กรณีมิใช่มีความเห็นแตกต่างกัน ศาลชั้นต้นไม่จำต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 และมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่าคดีของจำเลยไม่มีมูลพอที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีของจำเลยมีมูลพอที่จะอุทธรณ์แต่จำเลยไม่เป็นคนยากจนให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์เป็นคำสั่งที่ได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องแล้วจึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แม้จะอ้างว่าศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกประเด็นเรื่องจำเลยเป็นคนยากจนขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการฎีกาในเนื้อหาแห่งคำร้องเพื่อขออนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8572/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาการชำระค่าขึ้นศาล ส่งผลให้คำสั่งศาลถึงที่สุด แม้จะอ้างเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับลงลายมือชื่อไว้ในอุทธรณ์ว่าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นอุทธรณ์ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง แต่จำเลยที่ 2 ไม่เสียภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้หากจำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2545 แต่จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ย่อมเป็นอันถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอวางเงิน ค่าขึ้นศาลเพิ่มเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ซึ่งพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แล้วก็ดี และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยที่ 2 จึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มพร้อมกับสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยอ้างเหตุว่ามิได้จงใจที่จะไม่เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ดี ก็หามีผลลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดดังกล่าวแล้วไม่ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ในครั้งหลังนี้ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเรื่องเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และขอให้สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลาง: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นริบของกลางซ้ำ หากคำสั่งริบในคดีหลักถึงที่สุดแล้ว
ในคดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนเรือของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่า ศาลจะสั่งริบเรือของกลางได้หรือไม่ยุติไปตามคำสั่งศาลในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนเรือของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลภายนอกคดีพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ผู้คัดค้านจึงเป็นบุคคลภายนอกคดีมีอำนาจที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ผู้คัดค้านชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทเป็นคดีใหม่ และกรณีนี้มิใช่เป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (4) เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 7 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเรื่องการส่งคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นว่ากล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น บัญญัติขึ้นใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น บัญญัติขึ้นใช้กันกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งของการผิดระเบียบนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น มิอาจใช้แก่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้มีชื่อในโฉนดหรือทายาท ผู้ร้องยื่นคำแถลงว่า ทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดหายสาบสูญ ไม่ทราบที่อยู่แน่นอน ส่วนผู้มีชื่อในโฉนด ถึงแก่กรรมแล้ว ของดส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้มีชื่อในโฉนดและทายาท ศาลชั้นต้นอนุญาต คงมีแต่ประกาศคำร้องขอทางหนังสือพิมพ์สายกลางและปิดประกาศคำร้องขอไว้ ณ บริเวณที่ทรัพย์ตั้งอยู่ ร้านค้าในหมู่บ้านอันเป็นที่ชุมชน ใกล้เคียงที่ทรัพย์ตั้งอยู่ หน้าที่ว่าการอำเภอและหน้าศาลชั้นต้นเท่านั้น หากได้ความว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดมีภูมิลำเนาแน่นอน การส่งคำคู่ความด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นย่อมไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องงดส่งสำเนาคำร้องขอให้ผู้คัดค้านก็เนื่องจากเชื่อตามคำแถลงของผู้ร้องว่าทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดสาบสูญไปซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ ในกรณีเช่นนี้ เมื่อความปรากฏชัดแจ้งต่อศาลและศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตอุทธรณ์ฐานะคนอนาถาและขยายเวลาค่าธรรมเนียมศาล คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถา คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลไปอีก 6 เดือน ศาลชั้นต้นยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยจะฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์โดยเฉพาะต่อเนื่องจากที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่ง ป.วิ.พ มาตรา 156 วรรคท้าย บัญญัติให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่สุด ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
of 5