พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายและเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้ การร้องทุกข์และการใช้ดุลพินิจ
จำเลยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งพักราชการโจทก์ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยปราศจากเหตุอันสมควรด้วยเหตุที่บริษัท ฮ. ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องต่อมานายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จำเลยยกเลิกคำสั่งพักราชการโจทก์และมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งขณะนั้นตำแหน่งยังว่างอยู่ จำเลยสามารถสั่งให้เข้ารับราชการได้ทันที แต่จำเลยกลับเสนอขอกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา เพื่อจะให้โจทก์เข้ารับราชการในตำแหน่งดังกล่าว และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนคำสั่งทั้งที่จำเลยเป็นนักกฎหมายและมีประสบการณ์ในการทำงานราชการมามาก ทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 มาตรา 126 วรรคสาม ระบุไว้ว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเท่านั้นแม้คำสั่งดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติไว้ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามในเวลาอันสมควร ทั้งการปฏิบัติตามก็กระทำได้โดยง่าย แต่จำเลยกลับปล่อยให้ล่วงเลยถึง 7 เดือน จึงมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งเหลือเวลา 15 วัน โจทก์จะครบเกษียณอายุ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีแต่มาตรา 130 วรรคสอง กำหนดวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เมื่อในขณะนั้นยังไม่มีกฎ ก.พ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาบังคับใช้ จึงต้องบังคับตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยนำกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับ กฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ร้องต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ การที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและนายกรัฐมนตรีส่งคำร้องทุกข์ของโจทก์ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว
กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 3 กำหนดว่า การร้องทุกข์ในชั้นต้นร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเสียก่อนหากได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายในเจ็ดวันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา จึงให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นเรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 การกำหนดให้ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจในชั้นต้นเสียก่อนนั่นเองมิได้ถือเป็นข้อสำคัญเคร่งครัด ประกอบกับโจทก์ไม่ได้พบกับจำเลยจึงไม่อาจจะร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อจำเลย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 4 โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518)ข้อ 2 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ไว้ว่า เหตุร้องทุกข์ต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น การปฏิบัติไม่ถูกต้องมีความหมายกว้าง รวมทั้งการใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย
อ.ก.พ. วิสามัญฯ ตั้งขึ้นโดย ก.พ. เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.พ.ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ ก.พ. ประกอบกับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ อ.ก.พ.วิสามัญฯ มีหน้าที่เพียงแต่ช่วย ก.พ.พิจารณาคำร้องทุกข์เท่านั้นถ้ามติใดของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีปัญหาเป็นที่สงสัยไม่ชัดเจนก็เสนอให้ก.พ. ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงพิจารณาได้ ดังนั้น การทบทวนมติของอ.ก.พ. วิสามัญฯ จึงกระทำเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ก.พ. ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงจึงมีอำนาจทบทวนมติของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์แทน ก.พ. ได้
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 129 วรรคสอง บัญญัติให้นำมาตรา 126 ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา 127 มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 126 วรรคสาม ซึ่งอนุโลมมาใช้ในการร้องทุกข์บัญญัติว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการหรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการให้เป็นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรีและเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดจึงเป็นที่สุดจะอุทธรณ์คำสั่งหรือให้ทบทวนคำสั่งอีกไม่ได้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีแต่มาตรา 130 วรรคสอง กำหนดวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เมื่อในขณะนั้นยังไม่มีกฎ ก.พ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาบังคับใช้ จึงต้องบังคับตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยนำกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับ กฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ร้องต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ การที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและนายกรัฐมนตรีส่งคำร้องทุกข์ของโจทก์ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว
กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 3 กำหนดว่า การร้องทุกข์ในชั้นต้นร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเสียก่อนหากได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายในเจ็ดวันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา จึงให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นเรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 การกำหนดให้ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจในชั้นต้นเสียก่อนนั่นเองมิได้ถือเป็นข้อสำคัญเคร่งครัด ประกอบกับโจทก์ไม่ได้พบกับจำเลยจึงไม่อาจจะร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อจำเลย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 4 โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518)ข้อ 2 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ไว้ว่า เหตุร้องทุกข์ต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น การปฏิบัติไม่ถูกต้องมีความหมายกว้าง รวมทั้งการใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย
อ.ก.พ. วิสามัญฯ ตั้งขึ้นโดย ก.พ. เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.พ.ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ ก.พ. ประกอบกับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ อ.ก.พ.วิสามัญฯ มีหน้าที่เพียงแต่ช่วย ก.พ.พิจารณาคำร้องทุกข์เท่านั้นถ้ามติใดของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีปัญหาเป็นที่สงสัยไม่ชัดเจนก็เสนอให้ก.พ. ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงพิจารณาได้ ดังนั้น การทบทวนมติของอ.ก.พ. วิสามัญฯ จึงกระทำเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ก.พ. ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงจึงมีอำนาจทบทวนมติของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์แทน ก.พ. ได้
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 129 วรรคสอง บัญญัติให้นำมาตรา 126 ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา 127 มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 126 วรรคสาม ซึ่งอนุโลมมาใช้ในการร้องทุกข์บัญญัติว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการหรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการให้เป็นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรีและเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดจึงเป็นที่สุดจะอุทธรณ์คำสั่งหรือให้ทบทวนคำสั่งอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำฝ่าฝืนคำสั่งนายกรัฐมนตรีและฐานลักทรัพย์ กรณีสูบถ่ายน้ำมันผิดสถานที่
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ข้อ 15(1)(3) ที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลส่งแก่ผู้จำหน่ายน้ำมันหรือผู้ซื้อน้ำมัน ทำการสูบถ่ายน้ำมันเบนซินหรือดีเซลระหว่างทางนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว ต้องถือว่าประชาชนรวมทั้งจำเลยได้ทราบคำสั่งฉบับดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นความผิดตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. 2516 มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมีผลบังคับใช้ได้ การงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ถือว่าธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บรรดาคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรดังกล่าวและโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานจำเลยมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นดังกล่าว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานจำเลยมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621-1622/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญฯ และอำนาจฟ้องกรณีภาษีอากร การประเมินต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร
กรมสรรพากรดำเนินการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 และโดยมติของคณะรัฐมนตรี ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐในนามของรัฐ ให้ดำเนินการตามควรทุกประการในฐานที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น และให้มีอำนาจนำเงินและทรัพย์สินดังกล่าวไปชำระภาษีอากรของโจทก์ได้นั้น เป็นคำสั่งและการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การประเมินจะเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อโจทก์โต้แย้งว่าการประเมินเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่าการประเมินเงินได้ของโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่
แม้คำสั่งนายกรัฐมนตรีจะกำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการที่จะคืนทรัพย์หรือไม่ ให้เป็นที่สุด แต่เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ประกอบกับโจทก์อาจต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรเพิ่มเติมจนครบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
แม้คำสั่งนายกรัฐมนตรีจะกำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการที่จะคืนทรัพย์หรือไม่ ให้เป็นที่สุด แต่เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ประกอบกับโจทก์อาจต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรเพิ่มเติมจนครบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามอำนาจพิเศษมีผลผูกพัน คุ้มครองทรัพย์สินของรัฐ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร. 39/2517 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 นั้น เมื่อได้สั่งให้ทรัพย์สินของ ณ และภริยาที่ถูกอายัดหรือยึดไว้แล้วทั้งหมดตกเป็นของรัฐตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทก็ต้องถือว่าได้โอนมาเป็นของรัฐแล้วในทันทีที่มีคำสั่ง และคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการจะคืน ทรัพย์สินใดซึ่ง ณ และภริยา หรือบุคคลใดได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ จะต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเสียก่อน หากมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวนี้ได้บัญญัติวิธีการที่จะชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งไว้โดยเฉพาะและเป็นคำสั่งที่ออกมาตามอำนาจแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2519 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้น ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ซึ่งตราขึ้นภายหลังก็ยังบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไป ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการได้ชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการนโยบายพลังงานในการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งนายกรัฐมนตรี
พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มาตรา 3 บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การมีไว้ในครอบครอง การสำรองและการส่งออกนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด..." ต่อมานายกรัฐมนตรีออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งข้อ 9/1 กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ที่จำหน่ายก๊าซมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณก๊าซที่จำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด การออกคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 สืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นและน้ำมันดิบที่จะหาซื้อมีปริมาณลดลงอันจะก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและการให้ผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายก๊าซมีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยอาศัยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก.แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 แม้มาตรานี้จะมิได้บัญญัติไว้โดยตรงให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้จัดเก็บหรือตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงก็ตาม แต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมายในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงถือว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งดังกล่าวได้ ทั้งปัญหาว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งได้หรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายซึ่งไม่อาจนำความเห็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใดมายืนยันได้ แม้จะได้ความตามทางนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับผลการพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ครั้งที่ 22/2556 ว่า คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ออกโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการออกคำสั่งเพื่อให้เรียกเก็บเงินและจ่ายเงินชดเชยหรือจ่ายเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้ และจำเลยได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมที่ 4/2554 และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือนิติกรรมทางปกครองที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว รวมทั้งขอให้เพิกถอนอำนาจในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ที่ 1 เป็นคดีของศาลปกครองสูงสุดก็ตาม แต่เมื่อศาลปกครองสูงสุดยังมิได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว กรณีจึงยังต้องถือว่า คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะผู้ค้าน้ำมันจึงมีหน้าที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีจนกว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิก ที่จำเลยอ้างว่าคำสั่งที่ให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันมิใช่บริการสาธารณะจึงเป็นการนอกวัตถุประสงค์ และการไม่นำส่งเงินดังกล่าวเข้าคลังก่อนเป็นการมิชอบ เพื่อปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองนั้น เหตุแห่งการปฏิเสธความรับผิดของจำเลยดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับการที่จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เมื่อจำเลยเป็นผู้ค้ำน้ำมันซึ่งได้รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันมาก่อน จำเลยจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าเป็นการนอกวัตถุประสงค์หาได้ไม่ ส่วนโจทก์ทั้งสองต้องนำส่งเงินที่ได้รับมาเข้าคลังก่อนหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างกระทรวงการคลังกับโจทก์ทั้งสองที่ต้องดำเนินการต่อไป และที่จำเลยอ้างว่าตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธุรกิจพลังงาน พ.ศ. 2556 กับคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 และ 4/2554 ไม่มีข้อกำหนดให้โจทก์ที่ 2 มีอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้าน้ำมันนั้น ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 ข้อ 26 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2554 กำหนดว่า ในกรณีที่กรมธุรกิจพลังงาน (โจทก์ที่ 2) ตรวจพบว่ามีผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ให้โจทก์ที่ 2 แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่งหรือตามจำนวนที่ขาด โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินจากจำเลยโดยอาศัยคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ส่งเงินเข้ากองทุนตามที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย