คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งนายกฯ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สินโดยคำสั่งนายกฯ และการวินิจฉัยสิทธิในทรัพย์สินโดยคณะกรรมการ: ความชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516 ให้อายัดทรัพย์ของจอมพล ถ.และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ.ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ.และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควรทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้น เมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517ข้อ 5 แล้ว และต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวง จ. เมื่อพันตรีหลวง จ.ได้ทำพินัยกรรมยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดิน-พิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดี หรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินตามคำสั่งนายกฯ การพิสูจน์สิทธิในทรัพย์สิน และการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516ให้อายัดทรัพย์ของจอมพลถ. และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ. ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ. และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควร ทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517 ข้อ 5 แล้วและต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวงจ.เมื่อพันตรีหลวง จ. ได้ทำพินัยกรรม ยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาท เป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดินพิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้น คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดีหรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของ คณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกฯ ตามธรรมนูญการปกครองฯ มีผลบังคับใช้ได้ การงดสืบพยานระหว่างพิจารณาไม่ถือเป็นอุปสรรคคดี
ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ถือว่าธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรเป็นกฎหมายสูงสุด บรรดาคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรดังกล่าวและโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานจำเลยมิได้ทำให้คดีเสร็จสิ้นไปทั้งเรื่องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อน้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่เคยซื้อตามปกติหลังมีคำสั่งนายกฯ ต้องได้รับอนุญาต หากไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นความผิด
แม้จำเลยจะเคยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดที่ประกาศไว้ในคำสั่งของนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็เป็นการซื้อโดยได้รับอนุญาตจากนายอำเภอแห่งท้องที่ และเป็นการซื้อภายหลังจากที่คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในเรื่องนี้ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เป็นการซื้อน้ำมันดีเซลตามปกติเช่นที่เคยซื้อ ตามความหมายในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ข้อ19 (4) การที่จำเลยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดในคดีโดยไม่รับอนุญาต จึงเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อน้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่กำหนดหลังมีคำสั่งนายกฯ ต้องได้รับอนุญาต หากไม่มีหลักฐานการซื้อก่อนคำสั่งถือเป็นความผิด
แม้จำเลยจะเคยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดที่ประกาศไว้ใน คำสั่งของนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็เป็นการซื้อโดยได้รับอนุญาตจากนายอำเภอแห่งท้องที่ และเป็นการซื้อภายหลังจากที่คำสั่งนายกรัฐมนตรี ในเรื่องนี้ใช้บังคับแล้ว กรณีจึงมิใช่เป็นการซื้อน้ำมันดีเซลตามปกติเช่นที่เคยซื้อ ตามความหมายในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ข้อ19(4) การที่จำเลยซื้อน้ำมันดีเซลเกินกำหนดในคดีโดยไม่รับอนุญาต จึงเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งปริมาณสินค้าไม่ตรงตามความเป็นจริงตามคำสั่งนายกฯ คณะกรรมการมีอำนาจริบได้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตาม ม.17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2515 ให้คณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการค้ากำไรเกินควรออกคำสั่งควบคุมปริมาณและสถานที่เก็บเหล็กเส้น ถ้าแจ้งไม่ตรงความจริงให้คณะกรรมการริบและขายแก่ประชาชนได้ปรากฏว่าโจทก์แจ้งปริมาณเหล็กเส้นขาดจากปริมาณจริงเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการมีคำสั่งริบ ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการทำการโดยไม่สุจริตใจ โจทก์ไม่อาจโต้แย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกฯ อายัดทรัพย์สินและโอนกรรมสิทธิ์เป็นของรัฐ คดีไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมีกระบวนการชี้ขาดเฉพาะ
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช2519 นั้น เมื่อได้สั่งให้ทรัพย์สินของ ณ. และภริยาที่ถูกอายัดหรือยึดไว้แล้วทั้งหมดตกเป็นของรัฐตั้งแต่วันที่ออกคำสั่ง กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทก็ต้องถือว่าได้โอนมาเป็นของรัฐแล้วในทันทีที่มีคำสั่งและคำสั่งดังกล่าวระบุว่าการจะคืนทรัพย์สินใดซึ่ง ณ.และภริยา หรือบุคคลใดได้มาโดยสุจริตและโดยชอบจะต้องพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเสียก่อน หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติตามคำสั่ง ก็ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ชี้ขาดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวนี้ได้บัญญัติวิธีการที่จะชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากคำสั่งไว้โดยเฉพาะและเป็นคำสั่งที่ออกมาตามอำนาจแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่กำหนดเรื่องการใช้อำนาจอธิปไตยในขณะนั้นทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517ซึ่งตราขึ้นภายหลังก็ยังบัญญัติให้มีผลใช้บังคับต่อไปดังนั้น เมื่อคณะกรรมการได้ชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามคำสั่งนายกฯ และขอบเขตการฟ้องร้องโต้แย้งคำวินิจฉัย
คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ให้ทรัพย์สินของบุคคลที่ระบุในคำสั่งซึ่งอายัดไว้แล้วตกเป็นของรัฐ หากบุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องขอคืนต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น เมื่อตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวระบุว่าในการที่คณะกรรมการเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่ พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ตนได้มาโดยสุจริตโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด ดังนี้ ตามปกติผู้ยื่นคำร้องหาอาจนำเรื่องราวมาฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดอันเป็นดุลยพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการได้อีกไม่ เว้นแต่จะปรากฏว่าการใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการนั้นเป็นการใช้โดยไม่สุจริต เพื่อกลั่นแกล้งผู้ยื่นคำร้องหรือเป็นการใช้ดุลยพินิจชี้ขาดอันขัดแย้งต่อพยานหลักฐาน
แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องที่เรียกทรัพย์ซึ่งคณะกรรมการไม่คืนให้โจทก์ว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลทั้งในด้านกฎหมายและข้อเท็จจริง ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมต่อโจทก์โดยชอบด้วยหลักนิติศาสตร์ เป็นการวินิจฉัยที่ไม่สุจริตก็ตามแต่เหตุผลที่โจทก์อ้างว่าคำวินิจฉัยนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สุจริตก็ปรากฏ เพียงว่าคณะกรรมการมิได้สอบสวนหรือพิสูจน์ หรือไม่เรียกโจทก์ไปสอบสวนหรือพิสูจน์ก่อนทั้ง ๆ ที่โจทก์มีพยานหลักฐานพร้อมเหตุผลเพียงเท่านี้จะถือว่าคณะกรรมการกระทำโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สุจริต หาได้ไม่ เพราะเมื่อคณะกรรมการเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ยื่น เพื่อขอรับทรัพย์สินคืนไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ คณะกรรมการก็ชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดไปได้ทีเดียว หาจำต้องทำการสอบสวนหรือพิสูจน์ต่อไปอีกไม่ศาลจึงชอบที่จะไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามคำสั่งนายกฯ เป็นที่สุด เว้นแต่ใช้ดุลพินิจไม่สุจริต
คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ให้ทรัพย์สินของบุคคลที่ระบุในคำสั่งซึ่งอายัดไว้แล้วตกเป็นของรัฐ หากบุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตน ให้ยื่นคำร้องขอคืนต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น เมื่อตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวระบุว่าในการที่คณะกรรมการเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ตนได้มาโดยสุจริต โดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด ดังนี้ ตามปกติผู้ยื่นคำร้องหาอาจนำเรื่องราวมาฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดอันเป็นดุลพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการได้อีกไม่ เว้นแต่จะปรากฏว่าการใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการนั้นเป็นการใช้โดยไม่สุจริตเพื่อกลั่นแกล้งผู้ยื่นคำร้อง หรือเป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดอันขัดแย้งต่อพยานหลักฐาน
แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องที่เรียกทรัพย์ซึ่งคณะกรรมการไม่คืนให้โจทก์ว่า การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลทั้งในด้านกฎหมายและข้อเท็จจริง ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมต่อโจทก์โดยชอบด้วยหลักนิติศาสตร์ เป็นการวินิจฉัยที่ไม่สุจริตก็ตาม แต่เหตุผลที่โจทก์อ้างว่าคำวินิจฉัยนั้น ไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สุจริต ก็ปรากฏเพียงว่าคณะกรรมการมิได้สอบสวนหรือพิสูจน์ หรือไม่เรียกโจทก์ไปสอบสวนหรือพิสูจน์ก่อน ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีพยานหลักฐานพร้อม เหตุผลเพียงเท่านี้จะถือว่าคณะกรรมการกระทำโดยไม่ชอบด้วยเหตุผล และไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะเมื่อคณะกรรมการเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ยื่นเพื่อขอรับทรัพย์สินคืนไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ คณะกรรมการก็ชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดไปได้ทีเดียว หาจำต้องทำการสอบสวนหรือพิสูจน์ต่อไปอีกไม่ ศาลจึงชอบที่จะไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516-1517/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกฯ ตาม ม.17 ยึดทรัพย์เป็นของรัฐทันที ผู้มีสิทธิถูกจำกัดสิทธิฟ้อง และการสิ้นสุดอำนาจตัวแทน
คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17ให้ทรัพย์ตกเป็นของรัฐทันที มีผลให้ที่ดินและบ้านตามคำสั่งตกเป็นของรัฐในวันออกคำสั่ง จึงไม่มีอะไรต้องปฏิบัติให้เสร็จใน 5 ปีต่อไปอีก
คำพิพากษาวินิจฉัยว่าที่ดินตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17 โจทก์ในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้อง และพิพากษายืนให้ยกฟ้อง คำสั่งนั้นมีผลบังคับเป็นกฎหมายทันทีใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ต้องรื้อขึ้นพิจารณาในคดีนี้ใหม่
ตัวแทนหมดอำนาจเมื่อตัวการตาย ไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินของตัวการหลังจากตัวการตาย
ผู้อาศัยในโรงเรือนซ่อมแซมบ้านเพื่อความสะดวกสบายของตนสิ่งที่ทำขึ้นเป็นส่วนควบตกแก่เจ้าของ เมื่อถูกเรียกบ้านคืนจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
of 2