พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 28 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91 ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่าวันโฆษณาตามมาตรา 91 หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจัดพิมพ์แล้วเสร็จและนำออกเผยแพร่ให้แก่สมาชิกที่ได้รับด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2545 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน และเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 27 สิงหาคม 2545 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ย่อมอ้างส่งเอกสารต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ย่อมอ้างส่งเอกสารต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวแล้วนำมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์หนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายที่จะสั่งคำร้องของ น. ที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ศาลล้มละลายกลางไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้กลับนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนด 3 ปี และมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยมิได้ยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายได้ยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อเป็นหนี้ที่ขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1)
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้กลับนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนด 3 ปี และมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยมิได้ยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายได้ยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อเป็นหนี้ที่ขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, การพิจารณาใหม่, ขยายระยะเวลาอุทธรณ์, และอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีของโจทก์เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 141 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 แต่โจทก์ได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ทันทีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารคำเบิกความพยานโจทก์ รายงานกระบวนพิจารณารายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พร้อมเอกสารประกอบรายงาน คำสั่งให้พิจารณาใหม่เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขอ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ ชอบที่จะรับฎีกาโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
อุทธรณ์ในส่วนที่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งเป็นคำสั่งที่แยกได้ต่างหากจากคำสั่งระหว่างพิจารณาในการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับไว้ดำเนินการได้
ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ทันทีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารคำเบิกความพยานโจทก์ รายงานกระบวนพิจารณารายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พร้อมเอกสารประกอบรายงาน คำสั่งให้พิจารณาใหม่เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขอ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ ชอบที่จะรับฎีกาโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
อุทธรณ์ในส่วนที่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งเป็นคำสั่งที่แยกได้ต่างหากจากคำสั่งระหว่างพิจารณาในการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับไว้ดำเนินการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในไทยช่วงประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ได้รับการขยายเวลาขอรับชำระหนี้
เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา91วรรคหนึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่าอยู่ณที่ใดเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักรแม้ผู้ร้องจะมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรและเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ตามก็ต้องถือว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามบทบัญญัติดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับระยะเวลา 2 เดือนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย เริ่มนับจากวันที่โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษา
หนังสือที่ นร 0209/9728 วันที่ 30 พฤษภาคม 2537ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดี มีข้อความว่า "ตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ ยธ 0409/947/829 ลงวันที่ 26 เมษายน 2537 ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด) ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล.103/2537 เพื่อขอให้ดำเนินการประกาศในหนังสือราชกิจจา-นุเบกษานั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องดังกล่าวในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ง วันที่24 พฤษภาคม 2537 แล้ว" จึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 วรรคท้าย
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นแต่มาตรา153บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใดให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นจึงต้องถือว่าวันที่4พฤศจิกายน2531เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที17ตุลาคม2531ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค1และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: นับจากวันเผยแพร่จริง ไม่ใช่วันลงวันที่ในราชกิจจานุเบกษา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับและมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้มีการโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโฆษณาคำสั่งในหนังสือพิมพ์รายวัน การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาตอนนี้เพิ่งพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในมาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2533 จึงยังไม่เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาถือเป็นการส่งคำบังคับโดยชอบ และมีผลบังคับตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 คำว่า "พิพากษา" หมายความตลอดถึงการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำสั่ง และมาตรา 19 ว่า"คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้ถือเสมือนว่า เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตราสมุดบัญชีและเอกสารของลูกหนี้และบรรดาทรัพย์สิน ซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย... ฯลฯ" ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีหมายเรียกให้จำเลยไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินโดยแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลให้จำเลยทราบด้วยและได้ปิดหมายเรียกดังกล่าวที่ภูมิลำเนาของจำเลยถือว่าเป็นการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยโดยชอบ จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208ต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับนั้นให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา คู่ความจะต้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้ เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว
หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนสัญชาติและเชื้อชาติพม่า ได้ เดินทางออกไปจากราชอาณาจักรไทยก่อนโจทก์ฟ้องเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ทราบประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ถือว่าทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งซ้ำ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทุกคนได้ทราบประกาศแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องแจ้งเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบอีกชั้นหนึ่ง.