คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งยกเลิก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำสั่งยกเลิกการล้มละลายต่อคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา ศาลต้องแจ้งให้ศาลอุทธรณ์ทราบเพื่อจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสี่เด็ดขาดแล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลาย ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลชั้นต้นว่าได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อครบกำหนดการยื่นขอรับชำระหนี้ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135 (2) ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอ ดังนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายทราบ เนื่องจากคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมีผลทันที จำเลยทั้งสี่ย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลายกลับสู่ฐานะเดิม การที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยทั้งสี่ให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายทราบเพื่อจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และต่อมาศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายมีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสี่เด็ดขาดจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งยกเลิก - อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความลาภมิควรได้ - ศาลแรงงานพิพากษายืน
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว และจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งเดิมถูกยกเลิก: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความ 1 ปี
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางหลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งยกเลิกการล้มละลายไม่ทำให้หนี้สูญเสียไป เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 136 บัญญัติว่าคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1) หรือ (2) นั้น ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด แสดงว่ากฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้ว่าหนี้ใดจะต้องหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลายจึงแปลว่าหนี้สินทุกชนิดที่มีอยู่ก่อนฟ้อง แม้ในคดีนี้จะได้ความว่าเจ้าหนี้เคยฟ้องลูกหนี้ในมูลหนี้เดียวกันนี้เป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เพราะยื่นพ้นกำหนด 2 เดือน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 แต่เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเห็นว่าลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้ว หนี้ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้เจ้าหนี้มีสิทธินำมาฟ้องร้องบังคับคดีได้ และนำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นอันยกเลิกหากโจทก์ไม่ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาที่ให้จำเลยนำเงินมาวางศาลและห้ามมิให้จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินพิพาท ต่อมาศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวไว้ซึ่งวิธีการชั่วคราวที่ศาลได้สั่งไว้นั้นและได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เมื่อโจทก์มิได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อสิ้นระยะเวลาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260 เป็นบทบัญญัติในชั้นขอให้คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างคดีก่อนมีคำพิพากษาในแต่ละชั้นศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้วตามมาตรา 260(2) บัญญัติให้คำสั่งนั้นมีผลไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ศาลในชั้นนี้ย่อมหมายถึงศาลชั้นต้นนั่นเอง หาใช่หมายถึงศาลที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดชั่วคราวมีผลจนกว่าจะมีการบังคับคดีตามคำพิพากษา หากศาลมีคำสั่งในชั้นบังคับคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นอันยกเลิก
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ผู้คัดค้านส่งเงินต่อศาลตามหมายอายัดชั่วคราว เป็นเพียงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งนั้นก็ยังคงมีผลต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษานั้นเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าในชั้นบังคับคดีศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินจำนวนเดียวกันกับที่มีคำสั่งในหมายอายัดชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าคำสั่งที่ให้ผู้คัดค้านส่งเงินตามหมายอายัดชั่วคราวดังกล่าวเป็นอันยกเลิกไป ปัญหาว่าผู้คัดค้านต้องส่งเงินต่อศาลชั้นต้นตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอีกต่อไป หากผู้คัดค้านเห็นว่าตนมีสิทธิที่จะไม่ส่งเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นบังคับคดีก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำสั่งอายัดชั่วคราวเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดและการบังคับคดี
หมายอายัดชั่วคราวนั้น เป็นเพียงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งนั้นก็ยังมีผลต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ออกหมายอายัดชั่วคราวให้ผู้คัดค้านส่งเงินที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับจากผู้คัดค้านต่อศาล แต่ผู้คัดค้านยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดชั่วคราวโดยคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์คดีถึงที่สุด และในชั้นบังคับคดีศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินจำนวนเดียวกันกับที่มีคำสั่งในหมายอายัดชั่วคราว ดังนี้ย่อมถือได้ว่าคำสั่งอายัดชั่วคราวดังกล่าวเป็นอันยกเลิกไป ปัญหาว่าผู้คัดค้านต้องส่งเงินต่อศาลชั้นต้นตามหมายอายัดชั่วคราวตามที่โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ไว้ก่อนนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเสีย จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ แม้จำเลยจะออกคำสั่งยกเลิกหลังลูกจ้างลาออก
ก่อนโจทก์ลาออกจากงาน จำเลยยังคงจ่ายค่าครองชีพให้พนักงานรวมทั้งโจทก์ด้วย ต่อมาหลังจากโจทก์ลาออกจากงานไปแล้ว จำเลยมีคำสั่งยกเลิกการจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงาน คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือได้ว่าขณะโจทก์ลาออกจากงาน โจทก์ได้รับค่าครองชีพอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาและการขอหมายบังคับคดีตามกำหนดเวลา หากล่าช้าคำสั่งยึดทรัพย์เป็นอันยกเลิก
ศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อมาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับ คำบังคับ พนักงานเดินหมายรายงานว่า ได้ ปิดคำบังคับไว้ที่บ้านของจำเลยตาม คำสั่งศาลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2526 ต้อง ถือว่าจำเลยรับคำบังคับภายหลังปิดคำบังคับ 15 วัน คือวันที่ 14 กรกฎาคม 2526 จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม คำพิพากษาภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2526 โจทก์จึงต้องขอหมายบังคับคดีภายในวันที่ 28 สิงหาคม 2526 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) เมื่อโจทก์มาขอให้ศาลแต่งตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีในวันที่ 28 กันยายน 2526จึงเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายบังคับไว้ไปถึง 1 เดือน คำสั่งให้ยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นอันยกเลิกการที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ได้ ติดตาม ผลของการส่งคำบังคับตลอดมาแต่พนักงานเดินหมายไม่รายงานผลของการส่งคำบังคับต่อศาล ทำให้โจทก์ขอหมายบังคับคดีล่าช้านั้น ไม่เป็นข้อแก้ตัวที่จะยกเว้นบทบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2)เพราะโจทก์อาจขอหมายบังคับคดีไว้ก่อนได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งห้ามชั่วคราวเป็นอันยกเลิกเมื่อศาลตัดสินคดีถึงที่สุดแล้ว แม้โจทก์ชนะคดี แต่ไม่ได้ขอห้ามการกระทำต่อไป
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดจากจำเลยโดยมิได้ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อซึ่งการละเมิด แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยกระทำละเมิดต่อไปชั่วคราวก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งห้ามตามคำขอของโจทก์ไว้แล้ว ดังนี้เมื่อศาลตัดสินคดีแล้ว.ถึงแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายชนะได้รับชดใช้ค่าเสียหาย คำสั่งห้ามนั้นก็เป็นอันยกเลิกไปในตัว เพราะโจทก์ไม่อาจขอให้บังคับคดีห้ามมิให้จำเลยกระทำการอันโจทก์ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อไปได้