คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งระหว่างพิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การและการไม่อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ทำให้ฎีกาไม่รับฟัง
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การในวันที่ 15 มกราคม 2546 จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การ ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2546 จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งเข้ามาด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้วก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้ง อันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์: การพิจารณาคำสั่งรับฎีกาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 4 โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1) และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์: ต้องปฏิบัติตามก่อนแล้วค่อยโต้แย้งด้วยการฎีกาหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วันนับแต่วันรับหมายนั้น เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์-ฎีกา: กรณีศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว
ในระหว่งศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำขอเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน เพราะคดีจะต้องพิจารณาต่อไป เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงให้จำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ใช่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว ดังนั้นที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้าม ป.วิ.อ. มาตรา 196 เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว
คดีนี้ ศาลชั้นต้นสั่งออกหมายจับจำเลยที่ 2 และจำหน่ายคดีชั่วคราว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนหมายจับ อ้างว่าคดีขาดอายุความแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำขอของจำเลยที่ 2 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน เพราะคดีต้องพิจารณาต่อไป เนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงจำหน่ายคดีชั่วคราว ไม่ใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแล้ว การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนหมายจับ จึงเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7341/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องเรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นโจทก์ฟ้องแย้งร่วม เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าเป็นคู่ความในคดีคือเป็นโจทก์ฟ้องแย้งร่วม คำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยจึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการยกคำร้องคนอนาถาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ต้องโต้แย้งทันที
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์และคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2546 เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีกับมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 และนัดฟังคำสั่งสำหรับคำร้องของโจทก์ในวันที่ 26 สิงหาคม 2546 โดยผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับทราบนัดแล้ว เมื่อถึงวันนัดศาลมีคำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์ คำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นระหว่างพิจารณา หากจำเลยทั้งสองไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจำเลยทั้งสองจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ซึ่งในช่วงก่อนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ที่ศาลจะอ่านคำสั่ง จำเลยทั้งสองย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน จึงไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีเพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีและการไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีคำร้องขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คีดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีและอำนาจศาลในการรับคำร้องขอวินิจฉัยความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดนนทบุรี คำสั่งศาลจังหวัดนนทบุรีที่ยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งก่อนศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ต้องถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะ โดยต่างคัดค้านซึ่งกันและกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เมื่อไต่สวนพยานของผู้ร้องเสร็จแล้ว ระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำร้องของผู้คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้คัดค้านและสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านดังกล่าว ย่อมทำให้คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านเสร็จไป ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาย่อมอุทธรณ์ได้ทันที เมื่อทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับการจำหน่ายคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านโดยอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะซึ่งทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
of 23