คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8072/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งแพทยสภา และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งลงโทษ
จำเลยที่ 1 ในฐานะสภานายกพิเศษแห่งแพทยสภา มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบกับการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยที่ 2 ในฐานะนายกแพทยสภาเป็นประธานคณะกรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง และเป็นผู้แทนแพทยสภาในกิจการต่าง ๆ ตามมาตรา 22 (1) (ก) (ข) (ค) ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะเลขาธิการแพทยสภาเป็นเลขานุการคณะกรรมการแพทยสภาตามมาตรา 22 (4) (จ) เมื่อคณะกรรมการแพทยสภาซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและจำเลยที่ 3 เป็นเลขานุการได้ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ทั้งสี่ตามมาตรา 39 วรรคสาม (2) และจำเลยที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบตามมาตรา 25 แล้วจึงต้องออกเป็นคำสั่งแพทยสภาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 39 วรรคสี่ ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายในการทำคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ทั้งสี่โดยตรง เพียงแต่มาตรา 39 วรรคสี่ ให้ทำเป็นคำสั่งแพทยสภา จำเลยทั้งสามหาใช่บุคคลภายนอกที่ศาลไม่อาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ทั้งสี่ได้ โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งแพทยสภาดังกล่าวได้
การลงมติและการทำคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้ดุลพินิจตามข้อเท็จจริงจากการสอบสวนของคณะกรรมการแพทยสภา เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสี่ มติและคำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายอันเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ฯ มาตรา 39 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสมาชิกสหภาพแรงงานหลังคำสั่งลงโทษทางวินัย การเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษมีผลต่อสมาชิกภาพหรือไม่
โจทก์ถูกลงโทษไล่ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คำสั่งลงโทษไล่ออกจึงยังไม่เป็นที่สุดจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เมื่อต่อมาก่อนมีคำวินิจฉัยบริษัทได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าว โดยให้ลงโทษโจทก์ด้วยการตัดเงินเดือน 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา3 เดือนแทน และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามปกติ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษเดิมจากไล่ออกเป็นตัดเงินเดือนและถือว่าคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนเป็นที่สุดแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ถูกลงโทษเพียงตัดเงินเดือน มิได้ถูกลงโทษไล่ออก โจทก์จึงยังมีสถานะเป็นพนักงานของบริษัทมาตลอด ไม่ขาดคุณสมบัติหรือพ้นสภาพการเป็นสมาชิกและกรรมการของสมาคมหรือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจโจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีหนังสือไปยังโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย และยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย และขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่จำเลยลงโทษตัดค่าจ้างโจทก์และให้คืนเงินค่าจ้างที่ตัดไปแก่โจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(8)(9) ซึ่งกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ศาลแรงงานได้พิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยประกอบเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน แล้ววินิจฉัยว่าพยานโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวอ้างอันเป็นการวินิจฉัยรวมไปถึงเหตุต่าง ๆ ทั้งหมดที่จำเลยอ้างแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยได้อ้างคำเบิกความของพยานจำเลยประกอบกับพยานเอกสารเพื่อให้ฟังว่าโจทก์กระทำผิดและจำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: คำสั่งลงโทษทางวินัยชอบแล้ว การเรียกร้องค่าจ้างและโบนัสจึงเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่จำเลยสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนโจทก์โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานและกฎหมายศาลฎีกาพิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่สั่งลงโทษโจทก์ชอบแล้วการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่โดยขอให้จำเลยจ่ายเงินเดือนที่ถูกลดไปตามคำสั่งดังกล่าวและเงินโบนัสที่จำเลยไม่ได้จ่ายให้โจทก์เนื่องมาจากการที่โจทก์ถูกลงโทษตามคำสั่งนั้นซึ่งโจทก์อาจเรียกร้องให้พิจารณาถึงสิทธิดังกล่าวได้ในคดีเดิมอยู่แล้วคดีนี้จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลางว่าการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากคำสั่งลงโทษเดิม เป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่จำเลยสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนโจทก์1ขั้นโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานและกฎหมายเพราะโจทก์มิได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางว่าโจทก์ทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานคำสั่งของจำเลยที่สั่งลงโทษโจทก์นั้นชอบแล้วการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินเดือนที่ถูกลดไป1ขั้นตามคำสั่งดังกล่าวและเงินโบนัสที่จำเลยไม่ได้จ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ถูกลงโทษตามคำสั่งนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเดิมโจทก์อาจเรียกร้องให้พิจารณาถึงสิทธิต่างๆตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่แล้วการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องมีกรณีที่ต้องพิจารณาว่าคำสั่งดังกล่าวของจำเลยชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานและกฎหมายหรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นที่คดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วข้ออ้างตามฟ้องโจทก์จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมและคู่ความเดียวกันเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยพนักงานรัฐวิสาหกิจ การผ่านเข้าออกโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อยกเว้นสำหรับกรรมการสหภาพแรงงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์มิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานจึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริหารสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนใบผ่านได้ การที่โจทก์ผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบ จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทำทัณฑ์บนเป็นเวลา 6เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์งดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา 1 ปีมิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ตามระเบียบว่าด้วยวินัย การร้องทุกข์ฯของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจวินัยทางราชการหลังคำพิพากษาศาลฎีกายกฟ้อง การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต้องคำนึงถึงคำพิพากษา
การสอบสวนทางวินัยโจทก์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกทำหลักฐานเท็จว่ามีผู้แจ้งความนำจับสินค้าหลบเลี่ยงภาษีศุลกากรและขอรับเงินสินบนนำจับจากกรมศุลกากรไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวนั้น คณะกรรมการที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งสอบสวนได้ความจากพยานหลักฐานว่า การจับกุมสินค้าหนีภาษีรายนี้ไม่มีสายลับแจ้งความนำจับ ประกอบกับรูปคดีมีพิรุธไม่น่าเชื่อว่าภรรยาของผู้จับกุมจะเป็นสายลับแจ้งความนำจับเสียเอง แม้ในคดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้องว่าร่วมกันฉ้อโกง และทำหลักฐานเท็จ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง แต่คณะกรรมการสอบสวนและจำเลยทั้งสอง ก็อาจเห็นว่าโจทก์ยังมีมลทินมัวหมองตามความเห็นเดิม ได้ การที่จำเลยทั้งสองใช้ดุลพินิจ เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก็โดยมีพยานหลักฐานปรากฏตามสำนวนการสอบสวน ดังนี้การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556-3557/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยและการต่อเนื่องของสัญญาจ้าง การเลิกจ้างที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ทั้งสองเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงาน ผู้จัดการเขต 11 ของจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นพิจารณาความผิดทางวินัยแล้วมีคำสั่งไล่โจทก์ทั้งสองออกจากงาน โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เห็นว่าควรลงโทษเพียงขั้นตัดเงินเดือนแล้วเสนอความเห็นไปยังผู้อำนวยการของจำเลย ผู้อำนวยการซึ่งมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งของผู้จัดการเขต11แล้วสั่งลงโทษโจทก์ทั้งสองใหม่เป็นตัดค่าจ้างเดือนละ 200 บาทมีกำหนด 6 เดือน และให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้าทำงานตามเดิม ดังนี้ เป็นผลให้คำสั่งของผู้จัดการเขต11 ถูกเพิกถอนหรือลบล้างไปในตัวต้อง ถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยยังมิได้สั่งลงโทษโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงมีความสัมพันธ์เป็นนายจ้างลูกจ้างกันเช่นเดิมติดต่อกันตลอดมาโดยไม่ขาดตอน ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองแล้วและรับกลับเข้ามาเป็นลูกจ้างใหม่ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556-3557/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยและการต่อเนื่องของสัญญาจ้างงาน ไม่อาจถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ทั้งสองเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานผู้จัดการเขต 11 ของจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นพิจารณาความผิดทางวินัยแล้วมี คำสั่งไล่โจทก์ทั้งสองออกจากงานโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เห็นว่าควรลงโทษเพียงขั้นตัดเงินเดือนแล้วเสนอความเห็นไปยัง ผู้อำนวยการของจำเลยผู้อำนวยการซึ่งมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งของ ผู้จัดการเขต11แล้วสั่งลงโทษโจทก์ทั้งสองใหม่เป็นตัดค่าจ้าง เดือนละ200บาทมีกำหนด 6 เดือนและให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้า ทำงานตามเดิมดังนี้ เป็นผลให้คำสั่งของผู้จัดการเขต11ถูกเพิกถอน หรือลบล้างไปในตัวต้องถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยยังมิได้สั่งลงโทษ โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงมีความสัมพันธ์เป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันเช่นเดิมติดต่อกันตลอดมาโดยไม่ขาดตอนถือไม่ได้ว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองแล้วและรับกลับเข้ามาเป็นลูกจ้างใหม่ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยกรณีเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำผิดพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ขอให้ศาลบังคับจำเลยรับโจทก์เข้าเป็นข้าราชการตามเดิม และสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการนั้นเสีย ดังนี้ เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งลงโทษทางวินัย ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลไม่มีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีเช่นนี้ได้
of 2