คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งไม่ถึงที่สุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาชี้ว่าคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีเดิม ยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน คำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าวมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสอง แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3842/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยหากคำสั่งไม่ถึงที่สุด
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12142/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นคำสั่งถึงที่สุด ห้ามอุทธรณ์จนกว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งคดีมีมูลโดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แล้วมีคำสั่งใหม่ ให้เป็นไปตาม ป.วิ.อ. ป.วิ.พ. และ ป.อ. ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนกระบวนพิจารณาคำสั่งคดีมีมูล เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีของจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นไป เพราะศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งหกต่อไป กรณีต้องด้วยบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 196 ที่ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญแก่คดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผลให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิฎีกา