พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตดัดแปลงอาคารสูง ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การฟ้องต้องระบุสิทธิที่ชัดเจน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 50 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และมาตรา 51 (1) บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนมาตรา 52 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การของจำเลยเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การจำเลยอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การของจำเลยเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การจำเลยอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การ โดยจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตามมาตรา 226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่า การขาดนัดเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลย อันถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตาม มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้ออาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารพิพาทไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้มิได้อ้างเหตุว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งไม่อนุญาตจึงไม่ต้องระบุมาในฟ้องถึงวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย: คำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้างยังไม่ถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขตยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาต แต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีก เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใด กรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การหลังพ้นกำหนด และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมใช้ สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การ โดย แนบคำให้การมากับคำร้องด้วย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า จำเลยร่วมจงใจไม่ยื่นคำให้การจึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยร่วมยื่นคำให้การ ดังนี้เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้ ดุลพินิจ มีคำสั่งไปตาม มาตรา 199 โดย ยังมิได้ตรวจดู คำให้การของจำเลยร่วม จึงมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 จะนำเอามาตรา 18 วรรคท้ายมาปรับแก่คดีไม่ได้ คำสั่งที่ว่า จำเลยร่วมจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 226 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา คำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องหรือไม่รับคำให้การนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยร่วมขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ศาลอนุญาตให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ซึ่ง ศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวว่า "ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง คำสั่งรวม" ดังนี้ คำสั่ง ศาลชั้นต้น ดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่าง พิจารณาและต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ผลกระทบต่อสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ฟ้องขอให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายที่ดินเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ที่ดินจะมีราคาสักเท่าใด ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
การที่เจ้าพนักงานที่ดินได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายที่ดินแต่ผู้ขอยังมีสิทธิจะยื่นคำร้องแสดงเหตุผลเป็นทำนองอุทธรณ์คำสั่งต่อไปอีกได้และได้ยื่นอุทธรณ์แล้วนั้นยังไม่ถือเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จะทำการโอนได้
การที่เจ้าพนักงานที่ดินได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายที่ดินแต่ผู้ขอยังมีสิทธิจะยื่นคำร้องแสดงเหตุผลเป็นทำนองอุทธรณ์คำสั่งต่อไปอีกได้และได้ยื่นอุทธรณ์แล้วนั้นยังไม่ถือเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จะทำการโอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ อุทธรณ์ระหว่างพิจารณาต้องห้าม
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1)