พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการ – การโต้แย้งสิทธิ – ผลกระทบต่อสถานภาพ – เหตุผลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิม และให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะหรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษกักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหาละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งไล่ออก: การบรรยายเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิที่เพียงพอ
โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดย ไม่มีเหตุอันสมควรเมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลจังหวัดอ่างทอง พิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่ง ที่ 99/2534 ให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์ มีกำหนด 60 วัน อันเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการ มึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยมีคำสั่ง ที่ 983/2534 ไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวระบุว่า เป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่ เสพสุรามึนเมาอาละวาด ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร คำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวจึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการตำรวจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิ และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิมและให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มี เหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมา ศาลพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษ กักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งศาลพิพากษา ยกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหา ละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผล กระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์โดย ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกขรก. กรณีร่ำรวยผิดปกติ ศาลฎีกายกคำร้องริบทรัพย์สิน ไม่กระทบคำสั่งไล่ออก
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออกมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ และโดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน มีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ และโดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน มีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของนายจ้างในการไม่อนุมัติลาออกและการไล่ออกลูกจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิ ได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มี สิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหา ว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการกลั่นแกล้งนายจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งและให้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนคำสั่งไล่ออก และการละเมิดของข้าราชการ: ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยหากผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยที่ 1 ตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 อธิบดีกรมศุลกากรได้มีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง เป็นการปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ เมื่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งไปตามอำนาจหน้าที่โดยชอบอย่างไรแล้ว ศาลไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปวินิจฉัยชี้ขาดอีกโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งหรือพิพากษาให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 355/2516)
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาฟ้องทั้งหมดแล้วได้ความว่า จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนโดยชอบธรรม และผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษโจทก์ตามอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การกระทำดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาฟ้องทั้งหมดแล้วได้ความว่า จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนโดยชอบธรรม และผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษโจทก์ตามอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายแล้ว การกระทำดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกจากราชการ: ศาลไม่อำนาจพิจารณาหากมีการอุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว
โจทก์มีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนแล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากราชการไม่ถูกต้องก็อุทธรณ์ได้และโจทก์ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อนายรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 104 แล้ว คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 105 ของกฎหมายดังกล่าวเว้นแต่คำสั่งของนายกรัฐมนตรีจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการฟังข้อเท็จจริงหรือการใช้ดุลพินิจนั้นไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนเป็นเพียงพอหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และมิได้บรรยายว่าคณะกรรมการสอบสวนของจำเลยที่ 1 หรือนายกรัฐมนตรีฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนคำสั่งที่ไล่โจทก์ออกจากราชการ
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิด ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการ แล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่อ อ.ก.พ. กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณา และจำเลยที่ 3 ในฐานะประธาน อ.ก.พ. กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุม อ.ก.พ. มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริต ไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอ โดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่ง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง
ส่วนข้อที่โจทก์ขอให้รับฟ้องฐานละเมิด ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เชื่อข้อเท็จจริงจากสำนวนสอบสวนของคณะกรรมการ แล้วนำเข้าประชุม อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยไม่ให้โอกาสแก่ อ.ก.พ. แต่ละคนพิจารณาสอบสวนให้ละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์หลงเชื่อ อ.ก.พ. กระทรวงฯ และไม่สอบสวนหรือเรียกพยานหลักฐานจากโจทก์มาประกอบการพิจารณา และจำเลยที่ 3 ในฐานะประธาน อ.ก.พ. กระทรวงฯ ในขณะนั้นใช้อำนาจมิชอบฉวยโอกาสจากความเกรงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชารวบรัดให้ที่ประชุม อ.ก.พ. มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการมีเจตนาไม่สุจริต ไม่ให้ความเป็นธรรมเพียงพอ โดยพิจารณาอุทธรณ์ในทางที่จะยืนยันคำสั่งซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในขณะออกคำสั่ง ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นชอบกับคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั้น เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือมิชอบด้วยกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิหรือจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ดังที่โจทก์ฟ้อง